บันทึกของ มร.แฮมเฟอร์ สายลับอังกฤษในดินแดนอิสลาม (ออตโตมาน)ตอนที่36
  • ชื่อ: บันทึกของ มร.แฮมเฟอร์ สายลับอังกฤษในดินแดนอิสลาม (ออตโตมาน)ตอนที่36
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 11:51:35 2-10-1403

บันทึกของ มร.แฮมเฟอร์ สายลับอังกฤษในดินแดนอิสลาม (ออตโตมาน)ตอนที่36

สายลับอังกฤษในดินแดนอิสลาม
ข้าพเจ้าได้ถามชายผู้หนึ่งว่า เป็นสิ่งที่วาญิบหรือไม่สำหรับคุณในการขจัดความอยุติธรรมดั่งเหมือนที่ท่านศาสดาเคยกระทำ?
เขาตอบว่า การที่ศาสดาสามารถกระทำได้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์
 ข้าพเจ้าพูดว่า…ในอัลกุรอานยังได้ตรัสว่า (หากสูเจ้าช่วยเหลือพระองค์ แน่แท้ พระองค์ก็จะทรงช่วยเหลือพวกเจ้า) ดังนั้น หากพวกคุณลุกขึ้นต่อสู้ด้วยอาวุธกับคอลีฟะฮ์ อุษมานียะฮ์แล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็จะช่วยเหลือพวกคุณอย่างแน่นอน
 เขาก็พูดว่า .. คุณเป็นพ่อค้า และหัวข้อนี้เป็นประเด็นทางวิชาการ ซึ่งพ่อค้าอย่างคุณ ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้หรอก
 สำหรับสุสาน “ที่ฝังศพ” ของอะมีรุลมุอมินีน ตามคำกล่าวของชาวชีอะฮ์นั้น เป็นสุสานที่ถูกประดับประดาด้วยเงินทองอย่างงดงามและมันเป็นสุสานที่มีฐานภาพอันทรงเกียรติ มีโดมที่ใหญ่โต และข้างๆ นั้นมีเสามะนาเราะฮ์(หอคอย)สีทองสองต้น 
ชาวชีอะฮ์จะเข้าฮะรัมของอิมามท่านนี้ทุกวัน และจะทำการนมาซญะมาอัตและขอดุอาอ์ร่วมกันในที่นั้นด้วย พวกเขาจะจูบที่ลูกกรงของสุสานเพื่อเอาความสิริมงคล ครั้นเมื่อพวกเขาเข้ามาในฮะรัม เมื่อยืนแล้วจะโค้งคารวะ แล้วจะให้สลามยังอิมามและขออนุญาตเข้า จากนั้นจึงเดินเข้าไปในเขตบริเวณข้างในฮะรัม ส่วนบริเวณเขตฮะรัมจะมีลานที่กว้างใหญ่ ซึ่งมีห้องมากมาย จะมีทั้งห้องที่เตรียมไว้สำหรับผู้ที่มาซิยารัตและนักเรียนศาสนา
 ในเมืองกัรบะลา มี 2 ฮะรัม ที่มีลักษณะคล้ายเหมือนเช่นนี้ คือ ฮะรัมของอิมามฮุเซน และฮะรัมของอับบาส ผู้เป็นน้องชายของฮุเซน ซึ่งทั้งสองถูกสังหารที่กัรบะลา
 ชาวชีอะฮ์อยู่ในเมืองกัรบะลา จะมีขนบธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนอย่างชาวชีอะฮ์ในเมือง นะญัฟ เมื่อพวกเขาเข้ามาซิยารัต
 ภูมิอากาศในเมืองกัรบะลา จะดีกว่าเมือง นะญัฟ เพราะรอบๆ เมืองกัรบะลา จะมีสวน ต้นไม้ และลำธารน้ำที่ไหลผ่านอย่างมากมาย
 การเดินทางในอิรักครั้งนี้ ได้ประจักษ์สิ่งต่างๆ มากมายซึ่งเป็นการเพิ่มความหวังให้ข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้น เพราะสภาพเหตุการณ์โดยทั่วไปนั้น บ่งชี้ถึงช่วงเวลาอันใกล้ของการล่มสลายการปกครองแห่งราชวงศ์อุษมานียะฮ์ เพราะผู้ปกครองในเมืองอิรักที่ทางราชวงศ์อุษมานียะฮ์ได้ส่งมานั้น เป็นผู้ปกครองที่บ้าอำนาจ จะใช้อำนาจของตนเองในการบังคับ ขู่เข็ญ ประชาชนและเลือกปฏิบัติเยี่ยงทาส  ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับประชาชนเป็นอย่างมาก
 ชาวชีอะฮ์จะไม่ให้ความสำคัญต่อผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองได้ลิดรอน สิทธิอันชอบธรรมต่างๆ ของพวกเขา ส่วนชาวซุนนีก็ไม่พึงพอใจเช่นกันเพราะว่า แทนที่ราชวงศ์อุษมานียะฮ์จะเลือกทำเอาผู้มีเกียรติ และผู้ที่มีความเคารพนับถือจากวงศ์วานของมุฮัมหมัด ซึ่งเป็นผู้ที่คู่ควรและเหมาะสมยิ่งในการเป็นผู้ปกครองนั้น กลับนำเอาผู้ที่บ้าอำนาจมาปกครองแทนพวกเขา
เช่นเดียวกัน ในการเดินทางยังอิรักครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้สัมผัสเห็นเมืองต่างๆ ที่ทรุดโทรม อีกทั้งประชาชนยังอยู่ในสภาพที่ยากลำบากทั้งความขัดสนและความสกปรก ถนนหนทางไม่ปลอดภัย มีโจรปล้นสะดมตามถนนหนทางต่างๆ ซึ่งหากไม่มีตำรวจแล้วพวกเขาก็จะทำการปล้นสะดมผู้เดินทาง จึงสร้างความกลัวให้กับผู้เดินทาง นอกเสียจากว่าจะมีตำรวจคอยคุ้มกันพวกเขา อีกทั้งมีการเข่นฆ่านองเลือดเกือบทุกวันระหว่างชนเผ่าต่างๆ ความโง่เขลาและการไร้การศึกษาได้แผ่คลุมประชาชนอย่างน่าวิตก จึงทำให้ข้าพเจ้านึกถึงยุคสมัยหนึ่ง ที่ทางโบสถ์ ซึ่งมีอำนาจในการปกครองประเทศของเรา
 จะมีเพียงแค่บรรดาอุลามาในเมืองนะญัฟเมืองกัรบะลา และบางส่วน จากญาติสนิทของพวกเขาที่มีความรู้ มีการศึกษา นอกเหนือจากนั้นแล้วเป็นผู้ที่ไร้การศึกษาทั้งสิ้น
 เศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ตกต่ำและย่ำแย่ ประชาชนตกอยู่ในสภาพยากไร้ขัดสนเป็นจำนวนมาก การรักษาความปลอดภัยก็ไม่มี ยิ่งสร้างความยากลำบากมากขึ้น
 ฝ่ายรัฐกับฝ่ายปกครองท้องถิ่น ต่างก็มีความครางแคลน สงสัยซึ่งกันและกัน จึงไม่มีความเชื่อมั่นเกิดขึ้นระหว่างสองฝ่าย บรรดานักการศาสนาก็สาละวนในเรื่องของศาสนาอย่างเดียว มิเคยสนใจในเรื่องที่เกิดขึ้น “ทางโลก”
ที่ดินส่วนใหญ่ถูกปล่อยปละละเลยไม่มีการเพาะปลูก แม่น้ำ ดิจละฮ์และฟุรอต เสมือนกับแขกที่มาเยือนที่ได้ไหลผ่านพวกเขาและมาบรรจบที่ท้องทะเล อย่างไร้ประโยชน์  ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ได้สร้างสภาพความเป็นอยู่ที่โกลาหล วุ่นวายและเกิดอบายมุขที่รอคอยช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปและฟื้นฟู
......................โปรดติดตามตอนต่อไป
สถาบันศึกษาศาสนา อัล-มะฮฺดียะห์