ความจำเป็นในการแสวงหาศาสนา
  • ชื่อ: ความจำเป็นในการแสวงหาศาสนา
  • นักเขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 5:4:26 15-9-1403

ความจำเป็นในการแสวงหาศาสนา


คนกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า เขาไม่มีหน้าที่ต้องแสวงหาแนวทางการดำเนินชีวิต (ศาสนาหรือดีน) เขาคิดว่ามีความจำเป็นอันใดหรือที่ทำให้เขาต้องงคิดคำนึงในเรื่อองราวของศาสนาด้วย?
เราจะเปิดเผยให้เห็นถึงความคิดที่ผิดพลาดของพวกเขาด้วยข้อความข้างล่างนี้ และจะพูดถึงความจำเป็นในการที่ต้องแสวงหาศาสนาจาก ๒ เหตุผลด้วยกันกล่าวคือ
๑. ตามคำสั่งของสติปัญญา มนุษย์ทุกคนจักต้องรู้จัก และทำการขอบคุณผู้ที่ทำดีต่อเขา
๒. สติปัญญาสอนให้เรารู้ถึงความจำเป็นจะต้องสกัดกั้นอันตรายและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้จะเป็นเพียงการคาดเดาว่าอาจจะเกิดขึ้นก็ตาม
บทวิเคราะห์ถึงสองเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
๑. หน้าที่ในการรู้จักการขอบคุณ
เราทุกคนได้ประสบกับคุณูปการแห่งการมีชีวิตในโลกนี้หลายอย่างด้วยกัน ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ หัวใจ และอวัยวะภายในอื่นๆ ของร่างกายเราทุกส่วนมีค่ามหาศาลเกินกว่าการคิดคำนวณใด แม้กระทั่งความรู้ของเราเสียอีก แสงจากดวงอาทิตย์ การมีอยู่ของพืชพรรณต่าง ๆ แร่ และสสารต่าง ๆ ที่ยังอยู่ในดิน ทั้งหมดนี้คือความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ซึ่งเราสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากมันได้ด้วยความรู้ และกำลังที่พระผู้
เป็นเจ้าประทานมาให้แก่มนุษย์และที่เหนือไปกว่านั้นก็คือ สติปัญญา และมันสมองอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์นั่นเองที่บดขยี้ภูเขาลูกใหญ่ ๆลง จากน้ำและแร่เหล็กต่าง ๆ เขาได้สร้างพลังงานมหาศาลและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ขึ้นมากมาย
ถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่า เราไม่ควรจะรู้จักผู้ให้คุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่และทำการขอบคุณต่อเขากระนั้นหรือ ? หากชายใจบุญคนหนึ่งชอบช่วยเหลือคนรับเอาทารกคนหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่จากเขาไปตั้งแต่เกิดไว้เป็นบุตรบุญธรรม เขาได้จัดหาปัจจัยยังชีพทุกอย่างให้แก่เด็กน้อย ให้ความรัก ความเอ็นดู ฟูมฟักเด็กน้อยนั้น และเมื่อเด็กน้อยโตขึ้นเขาก็จัดหาครูและตำรับตำราเรียนให้ มอบทรัพย์สมบัติให้แก่เขา รับผิดชอบเด็กน้อยคนนี้ทุกอย่าง เด็กน้อย
คนนี้ไม่มีหน้าที่ต้องรูจักตัวของผู้มีพระคุณคนนี้ และขอบคุณเขากระนั้นหรือ ? ดวงจิตของเขาที่เต้นเร้าอยู่ไม่มีหน้าที่ต้องสำนึกในบุญคุณอันใหญ่หลวงนี้ดอกหรือ ?
ในสนามแห่งการดำรงชีพ เรามีหน้าที่ที่จะต้องคำนึงถึงความโปรดปรานทั้งมวลที่มีอยู่ และเมื่อนั้นเราก็จะรู้จักผู้ประทานความโปรดปราน และพระผู้สร้างเราขึ้นมา
ด้วยเหตุนี้เอง ความเพียรพยายามในการให้ได้มาซึ่งแนวทางการปฏิบัติ (ดีน) อันถูกต้อง คือความต้องการของปัญญานั่นเอง ผู้ใดที่ยังไม่พบแนวทางอันเป็นสัจธรรม ยังอยู่ในหนทางอันมืดมนไร้ทิศทาง เขาจะต้องไมหยุดนิ่ง เขาจะต้องทำความรู้จักกับแนวทางที่เปน็ สัจธรรม และศาสนาอันเที่ยงแท้ดว้ ยหลักการและเหตุผลที่มั่นคงและแน่นอน
เมื่อไรที่เขาได้รับน้ำเลี้ยงแห่งจิตวิญญาณ และศาสนาที่เที่ยงตรงแล้ว เขาก็จะต้อง
สำนึกและขอบคุณต่อพระผู้สร้างด้วยหัวใจที่สงบนิ่ง เยือกเย็น และชาญฉลาด
๒. การสกัดกั้นอันตรายและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
หากเด็กน้อยคนหนึ่งพูดกับท่านว่า “แมงป่องเข้าไปในเสื้อของท่าน” ท่านคงต้องรีบกระโดดโหยง ถอด
เสื้อออกทันที แล้วตรวจดูทุกซอกทุกมุมของเสื้อตัวนั้นเพื่อหาแมงป่องตัวนั้นให้ได้ หรือไม่ก็จนกว่าจะมั่นใจว่า มันไม่ได้อยู่ในเสื้อของท่าน
ในการเดินทางยาค่ำคืนหนึ่ง ท่านได้ยินข่าวว่ามีพวกโจรดังซุ่มอยู่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หากท่านไม่รู้จักทางอื่นที่มั่นใจได้ ท่านก็จะไม่ยอมออกไปโดยเด็ดขาด
ตัวอย่างข้างบนทำให้เกิดความกระจ่างว่า การสกัดกั้นอันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นตามสามัญสำนึก แต่อานเป็นไปได้ว่าอันตรายเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจไม่มีใครสนใจ แต่ถ้ามันร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อชีวิตละก็แน่นอน เขาไม่อาจจะมองข้ามไปได้เลย
อันตรายที่ร้ายแรงที่สุด
ในประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของมนุษย์ เราได้รู้จักกลุ่มบุคคลหนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านการรักษาสัตย์ พูดจริง และปฏิบัติการงานที่ดี พวกเขาได้แนะนำตัวเองว่าเป็นทูตมาจากพระผู้เป็นเจ้า ได้เรียกร้องเชิญชวนประชาชนสู่การเชื่อมั่นและรู้จักพระองค์ รวมทั้งให้ปฏิบัติการงานหนึ่งตามพระประสงค์ของพระองค์ จากผลของความบากบั่นเพียรพยายามอย่างเหนื่อยยากของบุคคลเหล่านี้ ทำให้มีผู้คนหลายกลุ่มชน และเผ่าพันธุ์ทั่วโลก
ทุกมุมโลกมุ่งตรงมายังพวกเขา ซึ่งทำให้การถือกำเนิดของท่านบีอีซา(อฺ) กลายเป็นการเริ่มต้นศักราชของชาวคริสต์ ส่วนฮิจญ์เราะฮฺ(การอพยพจากมักกะสู่มะดีนะ) ของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ก็ถูกนับว่าเป็นการเริ่มต้นศักราชของชาวมุสลิมนั่นเอง
ต่อไปเราจะถามตัวเราว่า คำพูดของทูตผู้สื่อสาส์นเหล่านี้ซึ่งได้เชิญชวนประชาชนสู่ศาสนาและการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพวกเขา ได้ย้ำเตือนคนเหล่านั้นให้เกรงกลัวการลงทัณฑ์จากผลแห่งการกระทำชั่ว และการถูกพิพากษาในศาลตัดสินความอันยิ่งใหญ่ ณ เบื้องหน้าพระพักตร์ของผู้พิพากษา ผู้ทรงปรีชาญาณ และเต็มไปด้วยความยุติธรรม แล้วังกำชับให้เกรงกลัวต่อความสับสนยุ่งยากแห่งวันตัดสิน การถูกลงโทษ และเสียงโหยหวน ในวันนั้นไม่อาจเทียบได้กับคำบอกเล่าของเด็กน้อยคนหนึ่งดอกหรือ ? สำหรับเรามันยังไม่ทำให้นึกถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กระนั้นหรือ ?
เป็นการถูกต้องแล้วหรือ ? ที่เราจะไม่สนใจถ้อยคำ และการกระทำของคนมีศาสนาที่แท้จริงเล่านั้น ทั้ง ๆที่เขาเหล่านั้นได้ยืนหยัดในความเชื่อมั่นที่ตัวเองมีอยู่และไม่เคยละละความพยายาม และการเสียสละเลย ?
เป็นที่ชัดเจนว่า หากถ้อยคำของผู้สื่อสาส์นเหล่านี้ไม่อาจสร้างความมั่นใจได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับมนุษย์ละก็ อย่างน้อยความคิดหนึ่งก็อาจผุดขึ้นมาว่า
 “เป็นไปได้ว่าเขาอาจจะพูดจริงก็ได้” ถ้าหากเป็นจริงตามที่บรรดาผู้สื่อสาส์นเหล่านั้นกล่าวละก็ หน้าที่ของเราคืออะไร? เราจะมีคำตอบอะไรต่อหน้าศาลอันทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมของพระผู้อภิบาล
ณ ที่นี้เองที่สามัญสำนึกบอกว่าการหยุดยั้งและสกัดกั้นภยันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เราต้อง
กระทำ นั่นคิอเหตุผลที่เราต้องแสวงหา “ดีน” (ศาสนา)
ยิ่งไปกว่านั้น การที่พวกเขาเชิญชวนสู่การดำเนินชีวิตที่ปลอดภัย และตามหลักมนุษยธรรม อีกทั้งยัง กล่าวว่าหลังจากความตายยังมีโลกที่กว้างใหญ่ไพศาล และความโปรดปรานอันไร้ของเขตรอคอยผู้ทำดีอยู่ และพวกเขายังแจ้งให้ทราบว่า ณ ที่นั้นจะไม่ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความทุกข์ระทม ความกังวลใจและความหวาดกลัวใด ๆ ทั้งสิ้น
สติปัญญาของเราเปิดโอกาสให้ละเลยข่าวสำคัญเหล่านั้นกระนั้นหรือ ? เราไม่ควรให้ความสำคัญต่อสัญญาณอันตรายที่ว่า บาปและการดื้อดึงนั้นมีโทษทัณฑ์รออยู่กระนั้นหรือ ? เราจะไม่สนใจต่อการแสวงหาศาสนา (ดีน) และพิจารณาเรื่องนี้ดูบ้างดอกหรือ ?


 ผู้เขียน อัลลามะฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
เรียบเรียงโดย เชคญะมาลุดดีน ปาทาน