โลกทัศน์ในมุมมองของศาสนาอิสลาม
อิสลามได้มีมาตรการในการรู้จักโลก มวลสรรพสิ่งและแก่นแท้ของศาสนาด้วยกับสามวิธีการ ซึ่งแต่ละวิธีนั้นมีความพิเศษเป็นเฉพาะด้านได้แก่
๑. ความรู้สึกหรือการผัสสะองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือ การได้ยิน และการมองเห็น
๒.สติปัญญา แม้ว่าจะมีขอบเขตจำกัดและวางอยู่บนพื้นฐานหลักสำคัญ แต่ด้วยความมั่นใจสติปัญญาสามารถค้นหาแก่นของความจริงได้
๓. วะฮฺยู พระดำรัสแห่งพระผู้เป็นเจ้า สื่อในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า เนื่องจากพระองค์ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยกับผัสสะทั้งห้า
๒ ประการแรกเป็นธรรมชาติทั่วไปเพราะมนุษย์ทั้งหลายบนโลกนี้สามารถรู้จักโลก และมวลสรรพสิ่งได้โดยการใช้สองวิธีการดังกล่าว ตลอดจนความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์คำสอนของศาสนาก็ใช้ประโยชน์จากสองวิธีการแรกเช่นกัน ส่วนวิธีที่สามนั้นเป็นของกลุ่มชนที่ได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษจากพระผู้เป็นเจ้า ตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดของได้แก่บรรดาศาสดา (อ.)
โดยปกติความรู้สึกนั้นสามารถใช้ได้กับประสาทสัมผัสทั้งห้าในขอบข่ายที่จำกัด และต้องเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้จึงจะสามารถใช้ความรู้สึกเป็นสื่อในการเรียนรู้ แตกต่างไปจากวะฮฺยูที่ครอบคลุมไปทั่วทุกในทุกกิจการไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ การปฏิบัติหน้าที่ทั้งต่อตนเองและหน้าที่ทางสังคม ตลอดจนความประพฤติและกิริยามารยาท
อัล-กุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงสื่อดังกล่าวไว้ อย่างเช่น
โองการที่กล่าวถึงความรู้สึกและสติปัญญา
وَاللَّـهُ أَخْرَجَكُم مِّن بُطُونِ أُمَّهَاتِكُمْ لَا تَعْلَمُونَ شَيْئًا وَجَعَلَ لَكُمُ السَّمْعَ وَالْأَبْصَارَ وَالْأَفْئِدَةَ ۙ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ
และอัลลอฮฺทรงให้พวกเจ้าคลอดออกจากครรภ์มารดาของสูเจ้า โดยสูเจ้าไม่รู้อะไรเลย และพระองค์ทรงทำให้พวกเจ้าได้ยิน มองเห็น และมีหัวใจ (สำหรับนึกใคร่ครวญ) เพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ[๑]
คำว่า อัฟอิดะฮฺ ตามหลักภาษาอาหรับเป็นพหูพจน์ของคำว่า ฟะวาอิด ซึ่งจุดประสงค์ต้องการกล่าวถึง การได้ยิน การมองเห็น สติปัญญา และสามัญสำนึกของมนุษย์ ส่วนในตอนท้ายของโองการ พระองค์ได้สั่งให้มนุษย์ผู้ทำการขอบคุณใช้ประโยชน์จากพลังทั้งสาม (การได้ยิน มองเห็น และสติปัญญา) เนื่องจากความหมายของคำว่า ขอบคุณ (ชุกรฺ) ต้องนำไปใช้กับความโปรดปรานในที่มีความเหมาะสม
อ้างอิง
[๑](นะฮฺลิ / ๗๘)
ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์