ตะเซาวุร ในทัศนะของอยาตุลลอฮ์ มิศบาฮ์ ยัซดี
  • ชื่อ: ตะเซาวุร ในทัศนะของอยาตุลลอฮ์ มิศบาฮ์ ยัซดี
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 21:16:22 1-9-1403

ตะเซาวุร ในทัศนะของอยาตุลลอฮ์ มิศบาฮ์ ยัซดี

 

ทบทวนเนื้อหาก่อนหน้านี้
ก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอ ความหมายของคำว่า ตะเซาวุร ทั้งในพจนานุกรมปรัชญา ฉบับภาษาไทย พจนานุกรมปรัชญาสำนักศอดรอ และได้เทียบภาษาอังกฤษ จนเข้าใจความหมายได้ในระดับหนึ่งว่า ตะเซาวุร ก็คือ ก็คือ สถาพปรากฎที่ปรากฎขึ้นในจิตของเรา 

 ตะเซาวุร ในทัศนะของอยาตุลลอฮมิศบาฮ์ยัซดี
 อยาตุลลอฮ์ มิศบาฮ์ เริ่มจากอธิบายความหมายทางภาษาก่อนโดยชี้ว่า ตะเซาวุร ในทางภาษาหมายถึง ภาพ/รูปประทับ,การประทับภาพ/รูป และการรับภาพ/รูป ส่วนความหมายในทางวิชาการของผู้ใช้ปัญญา ตะเซาวุร จะหมายถึง 
 “สภาพปรากฎ หรือ ปรากฎการณ์ทางจิตในแบบที่เรียบง่าย ซึ่งมีแหล่งที่มาจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวเอง เช่น ภาพของภูเขาดะมอวันด์ หรือ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “ภูเขา”(2012,ล.1,น.177)
 วิเคราะห์
ในนิยามของอยาตุลลอฮ์ มิศบาฮ์ สิ่งที่เรียกว่า ตะเซาวุร มีสามองค์ประกอบ จึงเกิดเป็นตะเซาวุรได้ ได้แก่

มีความเป็นสภาพปรากฎ : ตะเซาวุร ไม่ใช่การนำเข้าสิ่งที่อยู่ภายนอกจิตของเรา มาใส่ไว้ในจิตของเรา แต่เป็นการนำเข้าสภาพที่ปรากฎขึ้นหลังจากที่จิตของเราประสบกับสิ่งภายนอก เช่น ไฟ เมื่อเราเห็นไฟ และจดจำมัน สิ่งที่อยู่ในจิตของเรา ไม่ใช่ไฟในโลกนอกความคิด หรือ ไฟจริงๆ แต่เป็นภาพ/รูปของไฟที่ปรากฎขึ้นในจิตของเรา

มีความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน : ตะเซาวุร ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากการคิดให้มากมายซับซ้อน ไม่ได้ต้องการการยืนยันหรือปฏิเสธ เป็นเพียงแค่สิ่งที่ปรากฎอยู่ในจิตเรา 

แหล่งที่มาคือสิ่งอื่นไม่ใช่ตัวเอง : ตะเซาวุร หรือ สภาพปรากฎในจิต เกิดจากสิ่งอื่น ไม่ได้เกิดจากตัวจิต เพราะจิตเป็นผู้รับ รูป/ภาพ เหล่านี้เข้ามาบรรจุไว้ 

พิจารณาจากคำนิยาม กับ ความหมายทางภาษา จะพบความเชื่อมโยงกัน คือ ความหมายทางภาษา แม้จะใช้คำว่ารูป/ภาพ ที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่มองเห็นด้วยตา แต่ก็มีเค้าโครงของความหมายที่ช่วยพยุงความหมายทางวิชาการ เพราะรูปหรือภาพที่ใช้ในทางภาษา ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความหมายในนิยามทางวิชาการ
เมื่อนำทั้งสามองค์ประกอบมารวมกัน จึงจะได้ความเข้าใจเรื่อง ตะเซาวุรในนิยามของอยาตุลลอฮ์มิศบาฮ์นั่นเอง
เอกสารอ้างอิง 
มิศบาฮยัซดี มูฮัมมัดตะกี. (2012). ออมูเซชฟัลซาเฟะฮ์(ปรัชญาศึกษา).  เตฮราน-อิหร่าน: ซอเซมอนตับลีฆอตอิสลามี มูออวินัตฟังฮังกีย์

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา