เทววิทยาอิสลาม บทที่ 1
  • ชื่อ: เทววิทยาอิสลาม บทที่ 1
  • นักเขียน: เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 21:41:0 14-9-1403

เทววิทยาอิสลาม บทที่ 1


ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับ เทววิทยา อิสลาม

อิลมุอัต-เตาฮีด - عِلْمُ التّوْحِيد

เทววิทยา(Islamic Theology) ถือว่า เป็นศาสตร์สำคัญสาขาหนึ่งของวิทยาการแห่งอิสลามเลยทีเดียว


เทววิทยาหมายถึง ศาสตร์และวิทยาการที่ให้คำสอนและศึกษาค้นคว้าด้านหลักศรัทธาหรือหลักความเชื่อ
หรือ อาจจะให้ความหมายรวมไปถึง ความเชื่อและการศรัทธาที่ศาสนาอิสลามได้ดำริและกำชับเอาไว้


มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่เหมือนกับศาสตร์อื่น นั่นคือ ต้องผ่านกระบวนการแห่งการอรรถาธิบาย วิเคราะห์และพิสูจน์โดยหลักฐาน จากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และสติปัญญา)
หน้าที่ของวิชาเทววิทยาคือ ปกป้องความเชื่อต่างๆของศาสนาอิสลามที่แท้จริง


บรรดานักวิชาการอิสลามได้แบ่งประเภทของศาสตร์อิสลามออกเป็น 3 ประเภท


1. ศาสตร์ที่เกี่ยวกับ”หลักความเชื่อ – วิชา เตาฮีด” หมายถึง ประเด็นปัญหาต่างๆที่จำเป็นต้องรู้และต้องเชื่อต้องศรัทธา เช่น ปัญหาเกี่ยวกับ เตาฮีด - เอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า (Unity of God) ซีฟาต-บรรดาคุณลักษณะแห่งอาตมันที่แท้จริงของพระเจ้า การเป็นศาสดาของตัวแทนพระเจ้าและการเป็นศาสดาของนบีมุฮัมมัด (ศ) รวมถึงปัญหาอื่นๆ
สำนักคิดทั้งหลายในศาสนาอิสลามยังมีทัศนะที่แตกต่างกันในระดับหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เช่น
อะไรบ้างคือพื้นฐานด้านหลักศรัทธาของศาสนา และจำเป็นต้องเชื่อต้องศรัทธามีอะไรบ้าง


2. ศาสตร์เกี่ยวกับหลักจริยศาสตร์ – วิชา อัคลาก หมายถึง ปัญหาและค่ำสั่งสอนเกี่ยวกับเรื่อง “วิถีการดำรงชีพ” ของมนุษย์ อันเป็นแง่มุมของคุณลักษณะคุณธรรมทางจิตใจและความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติของจิตวิญญาณ เช่น
ว่าด้วยหลักปฎิบัติความยุติธรรม ความยำเกรงความสำรวมตนต่อพระเจ้า ความกล้าหาญ ความบริสุทธิ์ใจ วิทยปัญญา ขันติธรรม การรักษาคำมั่นสัญญา ความซื่อสัตย์ ความเป็นที่ไว้วางใจและคุณลักษณะที่ดีอื่นๆ


3.ศาสตร์เกี่ยวกับหลักปฎิบัติศาสนกิจ – วิชา ฟิกฮ์ หมายถึง ปัญหาและบทบัญญัติทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและการปฏิบัติของมุสลิม (ทั้งภาคปัจเจกบุคคลและสังคม) เป็นหลักปฏิบัติตามศาสนบัญญัติว่าอะไรบ้าง ที่จำเป็นต้องทำ และจะปฏิบัติอย่างไร ตัวอย่างเช่น


การนมาซ การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญ์ การต่อสู้ในวิถีทางของอัลอิสลาม การส่งเสริมให้ทำความดี และการยับยั้งไม่ให้ทำความชั่ว การประกอบกิจค้าขาย การเช่าซื้อ-ขาย การแต่งงาน การหย่าร้าง และการแบ่งปันมรดก เป็นต้น


ศาสตร์ที่จัดอยู่ในประเภทที่หนึ่ง คือ เทววิทยาอิสลาม (เตาฮีด- Islamic Theology) และศาสตร์ที่สัมพันธ์กับประเภทที่สองคือจริยศาสตร์อิสลาม (อัคลาก (Islamic Ethics) ส่วนศาสตร์ที่รับหน้าที่ประเภทที่สามเรียกว่า นิติศาสตร์อิสลาม (วิชาฟิกฮ์, ชะรีอะฮ์ -Islamic Laws)


การแบ่งประเภทของศาสตร์เหล่านี้ถือว่า เป็นหัวข้อของการแบ่ง “ศาตร์สาขาต่างๆของวิชาการอิสลาม” หมายถึงเนื้อหาและข้อมูลทางวิชาการจากอิสลามซึ่งไม่ได้รวมถึงศาสตร์ที่เป็นขั้นเตรียมการ เพื่อนำไปสู่การศึกษาศาสตร์ต่างๆของอิสลาม เช่น
หลักไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ตรรกวิทยา และปรัชญา


การจัดแบ่งประเภทดังกล่าว ยังได้พิจารณาถึงแง่มุมของความสัมพันธภาพของศาสตร์อิสลามที่มีต่อมนุษย์อีกด้วย กล่าวคือ


สิ่งทั้งหลายที่มีความสัมพันธ์กับสติปัญญาและกระบวนการใช้ความคิดของมนุษย์เรียกว่า หลักความเชื่อ(Faith)
สิ่งที่มีความเกี่ยวพันธ์ต่อศีลธรรมและมโนธรรมของมนุษย์เรียกว่า จริยศาสตร์(
Ethics)
สิ่งที่เกี่ยวพันธ์กับการกระทำและกิจการงานเรียกว่า นิติศาสตร์ – ชะรีอะฮ์
(Laws)


ดั่งเช่นที่เราจะกล่าวถึงในบทเรียนด้านนิติศาสตร์อิสลามทั่วไปว่า สาขาวิชานิติศาสตร์อิสลามแม้ว่าจากทัศนะและมุมมองตามที่นักวิชาการเฉพาะทางสาขานี้ศึกษาค้นคว้านั้น หมายถึงศาสตร์หนึ่งและเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง แต่ถ้าพิจารณาในแง่มุมอื่นจะพบว่าในศาสตร์นี้มีสาขาต่างๆแยกออกไปอีกมากมาย


อย่างไรก็ตาม เทววิทยาอิสลามคือ สาขาวิชาหนึ่งของอิสลามศาสตร์ที่ว่าด้วยคำสอนด้านหลักความเชื่อในศาสนาอิสลาม และในอดีต เทววิทยาถูกเรียกว่า วิชาด้านหลักความเชื่อพื้นฐานของศาสนา(อุศูลุดดีน) หรือ วิชาการที่ว่าด้วยหลักเอกานุภาพและบรรดาคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า (อิลมุลเตาฮีด วัซ-ซีฟาต)


บทความโดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ


ขอขอบคุณเพจ javad savangwan