เทววิทยาอิสลาม บทที่ 2
  • ชื่อ: เทววิทยาอิสลาม บทที่ 2
  • นักเขียน: เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 21:48:5 14-9-1403

เทววิทยาอิสลาม บทที่ 2


การกำเนิดเทววิทยาในอิสลาม

 

จุดกำเนิดความเป็นมาของเทววิทยาอิสลามนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้คือ ช่วงท้ายของศตวรรษที่หนึ่งแห่งปีฮิจเราะฮ์ศักราช กล่าวคือ สังคมมุสลิมเริ่มมีการถกเถียงบางปัญหาทางด้านหลักความเชื่อ เช่น ปัญหาการถูกบังคับและเสรีภาพ (مَسْأَلَةُ الْجَبْرِ وَالْإخْتِياَر) และปัญหาเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า (العدل الالهي)


กล่าวกันว่า สถาบันการศึกษาของท่านฮาซัน บัศรี (เสียชีวิต ปี 11 ฮ.ศ. ) เป็นสถาบันการสอนศาสนาที่มีชื่อเสียงแห่งแรก ที่เริ่มนำเรื่องหลักศรัทธาและหลักความเชื่อมาวิพากษ์และสนทนากัน


ในช่วงท้ายศตวรรษที่สองแห่งปีฮิจเราะฮ์ศักราช มีผู้รู้คนหนึ่งออกมาสนับสนุนทัศนะเรื่องความเชื่อต่อหลักเสรีภาพของมนุษย์อย่างแข็งขัน เขาคือ ท่านมะอ์บัด ญุฮันนี(Mahbad Yuhani - مَعْبَدٍ الْجُهَنِىِّ)และท่านฆ็อยลาน ดิมัชกี(Kailan Damishki)


มะอ์บัดและฆ็อยลานได้แสดงทัศนะคัดค้านผู้สนับสนุนแนวคิดเรื่องมนุษย์ถูกบังคับ(อัลญับรุ)


โดยกลุ่มผู้สนับสนุนความเชื่อเรื่องเสรีภาพของมนุษย์ ถูกรู้จักในนาม สำนักคิด ก็อดรียะฮ์(Kadrism- القدرية)


ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งถูกเรียกขานว่า สำนักคิดญับรียะฮ์(Jabrism- الجبرية)


ต่อมาประเด็นความขัดแย้งของสองสำนักคิดนี้ ค่อยพัฒนาเป็นปัญหาลูกโซ่ขยายวงกว้างไปสู่ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับด้านเทววิทยา ธรรมชาติวิทยา และสังคมวิทยาและบางประเด็นรวมไปถึงปัญหาด้านมนุษยวิทยา อีกทั้งยังมีการถกเถียงและวิพากษ์ปัญหาที่เกี่ยวกับวันฟื้นคืนชีพ ชีวิตโลกหน้าอีกด้วย

 

ส่วนปัญหาเสรีภาพและการบังคับของมนุษย์ ก็เป็นปัญหาหนึ่ง ที่ทั้งสองสำนักคิด(คือก็อดรียะฮ์กับญับบารียะฮ์)มีทัศนะที่ขัดแย้งกัน


สำหรับช่วงสมัยต่อมา ผ่านการวิวัฒนาการของยุคสมัยนั้น สำนักก๊อดรียะฮ์ถูกรู้จักในนาม “สำนักมุอ์ตะซิละฮ์ - المعتزلة


ส่วนสำนักญับรียะฮ์ ถูกเรียกว่า “สำนักอะชาอิเราะฮ์ - الأشاعرة


ทั้งสองสำนักคิดนี้มีมุมมองต่างกันในเรื่อง เตาฮีด อัฟอาลี


ปัญหาของเรื่องนี้ย้อนกลับไปที่ว่า ผู้กระทำต่อการกระทำต่างๆนี้ คืออัลเลาะฮ์ หรือมนุษย์ หรือกระทำร่วมกันและการกระทำนั้นออกมาอย่างเสรีภาพหรือถูกบังคับ ตรงนี้คือ ปัญหา กะลามียะฮ์ ที่ค้นคว้ากันในเรื่อง ถูกบังคับ หรือ มีเสรีภาพ(بحث الجبر والاختيار)


นักบูรพาคดีและนักวิชาการบางกลุ่มที่ได้ปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขาพยายามยืนยันเพื่อให้เกิดความเชื่อว่า
จุดกำเนิดของการถกเถียงและการพิสูจน์เชิงเหตุผลและการใช้ตรรกวิทยาของโลกอิสลาม เริ่มจากตรงจุดนี้ หรือใกล้เคียงกับสมัยนี้
แต่ความจริงแล้วการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันในเชิงพิสูจน์ด้วยเหตุผลและตรรกะที่เกี่ยวกับหลักความเชื่อขั้นพื้นฐานของอิสลามนั้น


มีแหล่งกำเนิดมาจากคัมภีร์อัลกุรอานและอรรถาธิบายขยายความโดยท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ) และต่อมาบรรดาสาวก(ซอฮาบะฮ์)อันทรงเกียรติ ได้แก่ท่านอิมามอะลี (อ) ได้นำหลักการพิสูจน์และการอ้างเหตุผลที่เป็นตรรกะและปรัชญามาอธิบาย


สำนักคิดชีอะฮ์สิบสองอิมาม มีความเชื่อว่า อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงมีความยุติธรรมต่อการกระทำของมนุษย์


อูมัยริน บิน มุอาวียะฮ์ ชาวชาม ได้เล่าว่า
ฉันได้เดินมาพบอิมามอาลีอัรริฎอ บุตรอิมามมูซา อัลกาซิม(อ)

ฉันได้กล่าวว่า โอ้บุตรของรอซูลุลเลาะฮ์ มีรายงานว่า ท่านอิม่ามญะอ์ฟัร (บุตรอิมามบากิร บุตรอิมามอาลีซัยนุลอาบิดีน บุตรอิมามฮูเซน บุตรอิมามอาลี บินอบีตอลิบ)ได้กล่าวว่า


لاَ جَبْر وَلاَ تَفْوِيْض بَلْ أَمْرُ بَيْنَ اَمْرَيْنِ

 

ไม่มีการบังคับ(มนุษย์ให้กระทำ) และไม่มีการให้เสรีภาพ(ทั้งหมดกับมนุษย์) แต่ทว่า เรื่องนี้ มันอยู่ระหว่างตรงกลาง หมายความว่าอะไรครับ

 

อิมามอาลี อัรริฎอ(อ)กล่าวว่า


ผู้ใดอ้างว่า อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้กระทำต่อการกระทำต่างๆของพวกเรา(มนุษย์) แล้วพระองค์ก็ทรงลงโทษพวกเราต่อสิ่งนั้น เท่ากับเขากล่าวว่า ญับรุ (คืออัลลอฮ์บังคับมนุษย์ให้ทำบาป)

และผู้ใดอ้างว่า อัลลอฮ์ทรงมอบเสรีภาพการบันดาลสร้างและการประทานริซกีให้บรรดาฮุจญัตของพระองค์ เท่ากับเขากล่าวว่า ตัฟวีฎ(คืออัลลอฮ์มอบอำนาจการบริหารให้กับมัคลูก)

 

ผู้ที่กล่าวว่า “ญับรุ” อัลลอฮ์ทรงบังคับมนุษย์ให้กระทำบาป เขาคือ กาฟิร และ

ผู้ที่กล่าวว่า “ตัฟวีฎ” อัลลอฮ์ทรงมอบเสรีภาพการบริหารกิจการงานต่างๆแก่มัคลูก เขาคือ มุชริก

ฉันได้กล่าวว่า โอ้บุตรของรอซูลุลลอฮ์ (แต่ทว่า เรื่องนี้ มันอยู่ระหว่างตรงกลาง ) มันหมายความว่าอะไรครับ

อิมามอาลี อัรริฎอ(อ)กล่าวว่า คือยังมีหนทางไปสู่สิ่งที่พวกเขาถูกสั่งใช้ให้ปฏิบัติ(ต้องทำ) และถูกสั่งห้ามไม่ให้ปฏิบัติ(ต้องไม่ทำ)

ฉันกล่าวว่า สำหรับอัลลอฮ์ พระองค์ทรงมี มะชีอะฮ์ วะ อิรอดะฮ์ (พระประสงค์และความต้องการในสิ่งนั้นด้วยหรือ
อิมามกล่าวว่า ตออะฮ์ – การปฏิบัติในเรื่องการภักดีต่างๆ อัลลอฮ์ทรงต้องการให้กระทำมัน พระองค์จึงทรงสั่งให้กระทำมัน ทรงพึงพอพระทัยและทรงให้การสนับสนุนต่อการกระทำสิ่งนั้น


ส่วนอัลลอฮ์ทรงมีพระประสงค์และความต้องการในเรื่อง มะอ์ซียะฮ์ (การฝ่าฝืน, การทำบาป)นั้น พระองค์ทรงสั่งห้ามกระทำมัน และพิโรธไม่พอใจต่อมัน และไม่ทรงช่วยเหลือต่อมัน


ฉันกล่าวว่า แล้วสำหรับอัลลอฮ์ ทรงมีการ เกาะฎอ บนสิ่งนั้น(การทำตออัตและการทำมะอ์ซียัต)ด้วยไหมครับ
อิมามกล่าวว่า มีซิ การกระทำหนึ่งๆ ที่ปวงบ่าวกระทำลงไป ไม่ว่าจะเป็นความดีหรือความชั่ว เว้นแต่ว่า สำหรับอัลลอฮ์ในสิ่งนั้นจะมีการ “เกาะฎอ”
ฉันกล่าวว่า การเกาะฎอ นี้หมายความว่าอะไรครับ


อิมามกล่าวว่า หมายถึงการ ฮุก่ม(ตัดสิน)ต่อพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาสมควรได้รับบนการกระทำของพวกเขาเอง จะเป็นรางวัลผลบุญและการลงโทษ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า


(หนังสือ อุยูน อัคบาร อัรริฎอ(อ)  เชคซอดูก เล่ม 1 : 113 ฮะดีษที่ 17)

 

บทความโดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ


ขอขอบคุณเพจ javad savangwan