คุณลักษณะบุคลากรของพระเจ้า ตอนที่ 3
  • ชื่อ: คุณลักษณะบุคลากรของพระเจ้า ตอนที่ 3
  • นักเขียน: San Navic
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 7:43:45 4-9-1403

คุณลักษณะบุคลากรของพระเจ้า ตอนที่ 3


 
คุณลักษณะที่สามของบุคลากรของพระเจ้า ซึ่งถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุด และใหญ่กว่าคุณลักษณะ อื่นๆ ก็คือ ผู้นำที่เป็นบุคลากรของอัลลอฮ์(ซบ) อย่างแท้จริง จะต้องมี อัซม์ (ความแน่วแน่) ทั้งทางด้านความรู้ และการปฏิบัติ หากปราศจากสิ่งเหล่านี้ แล้ว ขบวนการก็ไม่สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ตามหัวข้อ “อัซม์” ของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัตินั้น สามารถจำแนกมนุษย์ออกเป็นหลายประเภท ดังต่อไปนี้

(1) ประเภท ไร้ความรู้ ประเภทนี้จะไม่มีความมั่นคงทางด้านความรู้ ใดๆ ทั้งสิ้น และมนุษย์ส่วนมากจะอยู่ในประเภทดังกล่าวนี้ กล่าวคือ อยู่ไปวันๆ เป็นชีอะฮ์ก็เป็นเรื่อยๆ สมมุติวันหนึ่งมีคนมาถามว่า นมาซทำไม? ก็จะตอบไม่ ได้ เพราะไม่มีอัซม์แห่งวิชาการความรู้ นี่คือประเภทที่มนุษย์ส่วนมากมี

(2) ประเภท มีความรู้แต่ไม่ปฏิบัติตามความรู้ คนประเภทนี้จะไม่ สามารถปฏิบัติตามความรู้ของตัวเองได้ ซึ่งบุคคลประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวน มาก รวมทั้ง อาเล็มอุละมาอี้ ต่างก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน พวกเขารู้ว่าต้องต่อสู้ รู้ ว่าต้องปฏิวัติ แต่ตัวเองไม่กระทำ ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของมนุษย์ที่กล่าวได้ว่า ไร้ความมั่นคงทางความรู้

"อุละมาอฺ ทุกคนรู้ว่าต้องต่อสู้แต่ไม่ได้สู้ ส่วนระดับพวกเรานั้นรู้ว่าการ บริจาคเป็นสิ่งที่ดี การช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดี รู้ว่าต้องทำอย่างโน้นทำอย่างนี้ แต่ก็ ไม่ได้กระทำ

การรู้สิ่งดีๆ ต่างๆ มากมาย แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้นั้น บุคคลเหล่านี้ คือผู้ที่ไม่มีความมั่นคง

(3) ประเภท มีความรู้ และสามารถปฏิบัติตามความรู้ของตนเองได้ แต่ปฏิบัติด้วยความยากลำบาก ประเภทนี้จะดีกว่าสองประเภทแรกนิด หนึ่ง

ซึ่งก็เหมือนกับพวกเราบางคนที่ต้องฝืนนมาซ หากถามพวกเราว่า ถ้า การไม่ตื่นนมาชซุบฮ์ถูกอนุมัติให้กระทำได้นั้นเป็นเรื่องดีหรือไม่? พวกเราส่วน มากก็จะตอบว่า "ดี" ถ้าหากการไม่ถือศีลอดถูกอนุมัติให้กระทำได้ จะเป็นเรื่องดี หรือไม่? พวกเราส่วนมากก็จะตอบว่า “ดี

ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติหลายสิ่งหลายอย่างเพราะต้องฝืนทนปฏิบัติ บุคคล เหล่านี้ไม่สามารถเป็นบุคลากรของพระผู้เป็นเจ้าได้ และถือว่านี่ก็เป็นอีก ประเภทหนึ่งของมนุษย์ที่ไม่มีความแน่วแน่ และไม่มีความมั่นคง

(4) ประเภท มีความรู้และปฏิบัติตามความรู้อย่างสมบูรณ์ ประเภทนี้ไม่สามารถแบ่งแยกระหว่าง “อามัล" (การกระทำ) กับ อิลม์” (ความรู้) ได้ พวกเขาจะมั่นคงทั้งการปฏิบัติและความรู้ จะปฏิบัติไปอย่างราบรื่น ไม่มี อะไรสักอย่างเดียวที่จะมาทำให้เกิดความยากลำบากสำหรับเขา ในการที่จะ ปฏิบัติในสิ่งที่ตัวเองรู้ ด้วยความมั่นคงแน่วแน่ และมีความสุขกับการปฏิบัตินั้น ตัวอย่างกรณี ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ที่ได้เดินแจกสิ่งของจน กระทั่งที่บ้านไม่เหลืออะไรเลยสักอย่าง ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ก็ไม่ได้รู้สึกเสียดาย

เพราะรู้ว่าการบริจาคนั้น เป็นสิ่งที่ดี

ครอบครัวของท่านอิมามอะลี (อ) อดน้ำอดข้าว มาเป็นเวลาสามวัน และได้เอาของชิ้นหนึ่งไปขายหรือเอาไปจำนำ ได้เงินมา ๕ ดิรฮัม ขณะเดินกลับ บ้านจะไปซื้ออาหาร ระหว่างทางพบสหายคนหนึ่งกำลังนั่งเศร้า อิมามอะลี (อ) ถามว่า เป็นอะไรหรือ? เมื่อเขาบอกว่า ที่บ้านไม่มีอะไรกิน อิมามอะลี (อ) ก็ยก เงินให้เขาทั้งหมด และบอกว่า ให้เอาไปซื้อของกิน

เมื่อท่านอิมามอะลี (อ) กลับมาถึงบ้าน เจอท่านหญิงฟาติมะฮ์ (อ) อิมามฮะซัน (อ) และอิมามฮุเซน (อ) ที่กำลังรออาหาร แต่ท่านอิมามอะลี (อ) บอกกับท่านเหล่านั้นว่า ได้บริจาคเงินไปหมดแล้ว เมื่อทั้งหมดได้ยินว่า “บริจาคไปหมดแล้ว" ก็กล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลละฮ์" สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อรู้ว่าต้องทำอะไร ก็จะทำด้วยความแน่วแน่และมั่นคง

เมื่ออัลเลาะฮ์ (ซบ) ตรัสกับศาสดามูซา (อ) ให้ไปหา “ฟิรอูน" (ฟาโรห์) เพราะแท้จริงเขาคือ "ฎอฆูต" ท่านศาสดามูซา (อ) ก็ได้ไปหาฟิรอูน เข้าสู่ อาณาจักรอัยคุปต์อันยิ่งใหญ่ โดยไม่มีความหวาดกลัวใดๆ ทั้งสิ้น

และนั่น ก็คือเหตุผลอย่างหนึ่ง ที่บรรดา “อัมบิยาอชั้นนำ" กลุ่มหนึ่ง ถูก เรียกว่า "อุลิลอัซม์

ศาสดานูฮ์ (อ) เป็น “อุลิลอัซม์” ทำงานเผยแพร่แปดร้อยปี แต่ได้ผู้ ติดตามมาเพียงแค่จำนวนแปดคน จนกระทั่งรู้แล้วว่าไม่มีประโยชน์แล้ว จึงขอ ดุอาอยังอัลเลาะฮ์ (ซบ) ให้จัดการ

และในบรรดา อุลิลอัซม์ ก็มีระดับมีความแตกต่างกัน ถ้าเราพิจารณา ศาสดาก่อนหน้าศาสดามุฮัมมัด (ศ) ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ) คือหนึ่งใน ศาสดาที่มี “อัซม์” แน่วแน่มั่นคง

เมื่ออัลเลาะฮ์ (ซบ) บอกว่า ต้องเชือดลูกน้อยอิสมาอีล (อ) ท่านก็ได้ลับมีด จนคมกริบ พร้อมที่จะปฏิบัติและได้ผูกตาของอิสมาอีล (อ) เพื่อจะได้ปฏิบัติ อย่างมั่นคง อย่าให้มีความทุกข์ใจ คือพร้อมที่จะปฏิบัติตามอย่างแน่วแน่ เพราะถ้าหากมีความทุกข์ใจ หรือว่ามีอะไรสักนิดหนึ่ง ความเป็น “อุลุลอัซม์ ก็ จะมีความเข้มข้นลดน้อยลง กล่าวคือ ได้เป็น “อุลิลอัซม์” แล้ว แต่อาจจะน้อยลง เมื่อศาสดาอิบรอฮีม (อ) เชือดครั้งที่หนึ่ง แต่ไม่เข้า จึงลองเอามีดฟันไป ที่ก้อนหิน
หินนั้นแตกเป็นเสี่ยงๆ กลับมาเชือดครั้งที่สองก็ไม่เข้าอีก จึงรู้ว่า อัลเลาะฮ์ (ซบ) ประสงค์ไม่ให้การเชือดนั้นเกิดขึ้น

เมื่อถูกสั่งให้เอาท่านหญิงฮาญัร (อ) ไปทิ้งที่มักกะฮ์ ท่านศาสดา อิบรอฮีม (อ) ก็นำไปทิ้งทันที และไม่หันกลับมา คือจะต้องมีอัซม์ ในการตัดสินใจในภารกิจของพระเจ้า ต้องตัดสินใจอย่างแน่วแน่

เมื่อรู้ว่าจะต้องพิสูจน์ว่า เจว็ดต่างๆ ของชาวบาบิโลน ไม่สามารถทำ อะไรได้ ก็เอาขวานสับหมดทุกตัว แล้วเอาขวานไปแขวนที่เจว็ดตัวใหญ่ ท่านรู้ ว่าท่านจะต้องถูกเผาทั้งเป็นอย่างแน่นอน แต่ท่านได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้ว ว่าจะต้องทำ และไม่มีความสะทกสะท้านใดๆ ทั้งสิ้น

และนี่คือ ที่มาของคำว่า ศาสดา อุลิลอัซม์ เมื่อประสงค์ที่จะเป็นชะฮีด หรือภาษาปัจจุบัน คือ استشهاد
 อิซติชฮาด" (ซึ่งพวกอิสราเอลกลัวคำนี้เป็นอย่างมาก ในประเทศเลบานอน พวกอิสราเอลกลัวอิชติชฮาด) จะต้องมีความแน่วแน่ ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ) เป็นผู้หนึ่งที่ต้องการเป็นชะฮีดอย่างแท้จริง ขนาดญิบรอฮีลลงมาบอกว่า จงขอ พระองค์อัลเลาะฮ์ (ซบ) ให้ช่วยท่าน ท่านตอบว่า ไม่ ! ฉันจะเป็นชะฮีดหรือไม่เป็นชะฮีด เป็นเรื่องของพระองค์ ให้พระองค์ทรงกำหนดเอาเอง

นี่คือความเป็น อุลิลอัซม์

قد كانت لكم أسوة حسنة في إبراهيم والذين معه

“แน่แท้ในอิบรอฮีม และบุคคลที่ยืนหยัดกับอิบรอฮีม เป็นแบบฉบับที่ดี เลิศสำหรับพวกเจ้า" (ซูเราะฮ์มุมตะฮินะฮ์ โองการที่ ๔)

อัลเลาะฮ์ (ซบ) ทรงตรัสไปถึงศาสดาอิบรอฮีม (อ)
ว่า “อุสวะตุลฮะซะนะฮ์" (แบบอย่างที่ดีเลิศ) คือแบบอย่างของศาสดาอิบรอฮีม (อ) ซึ่งโองการนี้ไม่ได้ ตรัสกับศาสดาอิบรอฮีม (อ) เพียงอย่างเดียว แต่ทรงตรัสกับประชาชาติอิสลาม ทั้งหมด สำหรับพวกเจ้าทุกคน และบุคคลที่ยืนหยัดกับศาสดาอิบรอฮีม (อ) ก็ เป็น อุสวะตุลฮะซะนะฮ์" ด้วย คือท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) และคนที่ตามท่าน สำหรับประชาชาติอิสลามก็เป็น
"อุสวะตุลฮะซะนะฮ์” ด้วย

ดังนั้น แบบฉบับของศาสดาอิบรอฮีม (อ) ได้ถูกนำเสนอให้แก่ประชาชาติของศาสดามุฮัมมัด (ศ) และสำหรับทุกคนในโลกนี้ก็ต้องตามแบบ ฉบับนี้ด้วย

ในมุมมองของนักตัฟซีร คำว่า معه ในที่นี้ คือ ทุกคนที่ยืนหยัดใน แนวทางของศาสดาอิบรอฮีม (อ)
ทั้งอัมบิยาอ์ (บรรดาศาสดา)
เอาลิยาอ์ (บรรดาวลีของพระองค์)
เอาศิยาอ์ (บรรดาทายาทของศาสดา) หรือบรรดา อาเล็มอุละมาอ์ ก็เป็นแบบฉบับของประชาชาติอิสลามที่จะต้องยื่อแบบฉบับของพวกเขามาเป็นแบบฉบับของเราด้วย นั่นคือ เอามาเป็นแบบอย่างในการ ดำเนินชีวิต กล่าวคือ แบบฉบับของบุคคลที่ยืนหยัดอยู่กับศาสดาอิบรอฮีม (อ) ก็เป็นแบบฉบับของประชาชาติศาสดามุฮัมมัด (ศ) เช่นกัน

✍������  San Navic