ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 4
  • ชื่อ: ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 4
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 1:11:12 2-9-1403

ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 4

 

หนังสือมนุษย์ 250 ปี (68)
หมายเลข_68 
บทความนี้ใช้เวลาอ่าน 4.10 นาที 
ความเดิมตอนที่แล้ว 
ประเด็นแยกย่อยและท่าทีการรับรู้ของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับบรรดาอิมาม อิมามคาเมเนอีย์ ได้แบ่งการศึกษาอิมามัตและจัดเรียงเนื้อหาตามหัวข้อที่ระบุไว้ โดยส่วนหนึ่งจะเป็นภาพรวมของอิมามัต และอีกส่วนหนึ่งเป็นแผนที่ความคิดการเคลื่อนไหวต่อสู้ของบรรดาอิมาม นอกจากนี้ยังมีประเด็นแยกอีกหลายประเด็นซึ่งในตัวบท ท่านได้นำเสนอไว้สองเรื่องด้วยกัน เรื่องแรก คือ การที่บรรดาอิมาม พูดถึง ความเป็นอิมามด้วยตัวของพวกเขาเอง และเรื่องที่สองคือ การที่แม้แต้ฝ่ายปกครอง หรือ คอลีฟะฮ์ ก็พยายามสังเกตการณ์ พยายามอ่านและทำความเข้าใจเป้าหมายและทุกการเคลื่อนไหวของอิมาม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ขั้วตรงข้ามของบรรดาอิมาม ก็ศึกษาชีวิตของอิมามอย่างละเอียดและใกล้ชิดเช่นเดียวกัน

หัวข้อใหม่ : เรื่องที่สาม การอ้างของบรรดาผู้ปกครองว่า ตำแหน่งอิมามัตเป็นของพวกเขา 
อีกประเด็นคือ การที่บรรดาผู้ปกครอง ต่างก็(พยายาม)อ้างว่า ตำแหน่งอิมามัตนั้นเป็นของพวกเขาเอง และ การปฏิเสธการอ้างเช่นนี้จากฝ่ายชีอะฮ์อย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น กุซัยยิร นักกวีแถวหน้าในยุคต้นของราชวงศ์อามาวีย์ที่อยู่ในระดับเดียวกันกับ ฟะรัซดัก,ญะรีร,อัคฏอล,นูซัยบ์ และชีอะฮ์คนอื่นๆ รวมถึงคนรักอิมามบาเกร(อลัยฮิสลาม) 
ในวันหนึ่ง กุซัยยิร ได้เข้าพบอิมามบาเกร ในขณะนั้น ท่าน(อลัยฮิสลาม)อยู่ในสภาพที่กำลังท้วงติง ท่านได้กล่าวว่า
“ข้าฯได้ยินว่า เจ้าไปชื่นชมอับดุลมาลิกอย่างนั้นหรือ ? 
ฉันตอบ 
"ฉันไม่เคยเรียกเขาว่า อิมามุลฮูดา(อิมามผู้ชี้นำ)เลย ฉันตั้งฉายาให้เขาว่า สิงโต และ ตะวัน ทะเล และขุนเขา และงู ซึ่งทั้งหมดนี้มันไม่มีคุณค่าใดๆเลย” 
จากนั้นเขาก็พยายามอธิบายในลักษณะนี้ไปเรื่อยๆตามลำดับ 
ท่านอิมาม(อ)ได้ยิ้ม ในขณะเดียวกัน ชายผู้มีนามว่า กุเมต อะซะดีย์ ก็ลุกขึ้นยืน และอ่านบทกวี(ที่จะรู้จักในภายภาคหน้าว่า)กอซีดะฮาชิมิยะฮ์ โดยขึ้นประโยคแรกว่า 
من لقلبٍ متیَّمٍ مُستهامِ 
***
غیر ما صبوةٍ و لا أحلام‏ 
ในหัวใจอันลุ่มหลง และสับสนนั้น ไม่มีอื่นเลย เว้นแต่ความรักและความปรารถนา” 
จากนั้นเขากล่าวต่อว่า 
ساسة لاکمن یری رعیه الناس
***
 سواء و رعیه الأنعام 
อาลีมูฮัมมัดคือ นักการเมืองและนายเหนือหัวของประชาชาติ แต่ไม่เหมือนกับนักปกครองที่มองประชาชนเหมือนฝูงแกะ
ตัวบทนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงความชัดเจนว่า บรรดาอิมามมีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนอย่างไรต่อการชื่นชมอับดุลมาลิก และมิตรอย่าง กุซัยยิร ที่ความอ่อนไหวของเขาอยู่ที่การเรียก(อับดุลมาลิก)ว่า
“อิมามุลฮูดา” 
เขาจึงปฏิเสธว่าไม่ได้เรียก(อับดุลมาลิก)ด้วยฉายานี้(การที่กุซัยยิรตอบอิมามไปแบบนั้น เพราะเขารู้ว่า อิมามละเอียดอ่อนต่อเรื่องนี้อย่างจริงจัง)และ นี่เป็นตัวอย่างที่โดยตัวของมันเองนั้นแสดงถึงความปรารถนาอย่างรุนแรงของคอลีฟะฮ์ที่อยากจะให้ผู้คนเรียกตนเองว่า “อิมามผู้ชี้นำ” 
ในยุคราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ความปรารถนาที่จะให้ผู้คนยอมรับพวกเขา(เป็นอิมาม)ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ตัวอย่างเช่น มัรวาน บิน อบีฮัฟเซาะฮ์อะมาวีย์ 
นักกวีและนักเยินยอรับจ้างของราชวงศ์อะมาวีย์และอับบาซียะฮ์ ซึ่งในสมัยอามาวีย์ ชายคนได้เป็นกวีชั้นใน ในสมัยอับบาซียะฮ์ ชายคนนี้ก็ได้เป็นกวีชั้นในเช่นกัน เหตุผลเพราะชายคนนี้มีทักษะด้านการใช้ภาษาที่แข็งแกร่ง ทั้งสองตระกูลจึงซื้อตัวเขาด้วยเงินทอง และเป็นเพราะเมื่อชายคนนี้จะแต่งกวียกยอตระกูลอับบาซียะฮ์ เขาจะไม่หยุดแค่ชมเรื่องความกล้า หรือ คุณลักษณะอื่นๆแต่เพียงจุดเดียว แต่เขาจะชมอับบาซียะฮ์โดยพาดพิงและโยงไปหาศาสดาด้วยเสมอ นอกจากนี้เขายังพยายาม(ใช้กวี โวหาร วาทศิลป์)เพื่อพิสูจน์ความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งของกลุ่มอับบาซียะฮ์ด้วยเช่นกัน 
สรุปประเด็นในตัวบท 
 ในประวัติศาสตร์มนุษย์ 250 ปี ด้านหนึ่งที่เราจะเห็นจากทางฝั่งของผู้ปกครองเช่นอับบาซียะฮ์และอามาวีย์เสมอ คือ ความปรารถนาอย่างรุนแรงที่จะให้ผู้คนยอมรับว่า พวกเขาเป็นอิมาม มีสิทธิอันชอบธรรมในการเป็น “อิมาม” ทั้งสองตระกูลถึงกับจ้างนักกวี(เช่น มัรวาน บิน อบีฮัฟเซาะฮ์)มาเพื่อให้มาเยินยอตนเอง และโฆษณาชวนเชื่อว่า พวกเขาเป็นและคู่ควรกับตำแหน่งอิมามัต

 อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 67-68