คนไม่มีศาสนามากมายที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วจะมีศาสนาไปเพื่ออะไร?
  • ชื่อ: คนไม่มีศาสนามากมายที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วจะมีศาสนาไปเพื่ออะไร?
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 1:25:8 2-9-1403

คนไม่มีศาสนามากมายที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วจะมีศาสนาไปเพื่ออะไร?

 


คนเรามีศาสนาไปเพื่ออะไร? เพราะมีคนมากมายที่ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่ไม่มีศาสนา?
เป็นคำถามที่น่าสนใจและน่าขบคิดเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่ามีการนำมาเปรียบเทียบถึงคุณภาพชีวิตระหว่างคนที่มีศาสนากับคนที่ไม่มีศาสนา คนที่ไม่มีศาสนามีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ประสบความสำเร็จในชีวิต มีการศึกษาดี มีหน้าที่การงานดี มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี มีหน้ามีตาในสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะมีศาสนาไปเพื่ออะไร? ศาสนามีประโยชน์อะไร?
 ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า ศาสนาก็มีสาระธรรมคำสอนให้พากเพียรพยายามเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทางโลกด้วยเช่นกัน ศาสนาไม่ได้ให้ผู้คนทิ้งทางโลกโดยสิ้นเชิง เป็นการดียิ่งที่คนมีศาสนาจะประสบความสำเร็จทางโลก มีคุณภาพชีวิตที่ดี
 ประเด็นหนึ่งที่อยากนำเสนอคือถ้าพูดถึงคนไม่มีศาสนาและประสบความสำเร็จ จะเห็นว่าชีวิตภายนอกของพวกเขาดูดี ดูสมบูรณ์แบบ น่าจะมีความสุขและไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่เลย แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เราเห็นผู้คนที่ประสบความสำเร็จมากมายที่พวกเขาว้าวุ่นใจ สับสนและเป็นกังวลอย่างหนัก พวกเขาครุ่นคิดว่า มีชื่อเสียง มีทรัพย์สมบัติ สุดท้ายแล้วยังไง? ตายไปแล้วคนอื่นก็มาสรรเสริญเรา จากนั้นทรัพย์สินเงินทองมากมายก็ตกเป็นของคนอื่น พวกเขาก็จะเอาไปใช้สบาย แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรกับความเหน็ดเหนื่อยและทุ่มเทมาทั้งชีวิต?
 ประเด็นสำคัญมากคือเมื่อเราดูสถิติสวัสดิการเราจะเห็น เช่น สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมากมีดัชนีสวัสดิการในเจนีวาและสวิตเซอร์แลนด์สูงที่สุด แต่ขณะเดียวกันจะเห็นว่าดัชนีการฆ่าตัวตายในสวิตเซอร์แลนด์สูงกว่าที่อื่น เพราะเหตุใด? ผู้คนฆ่าตัวตายในขณะที่รุ่งเรืองที่สุด ผู้คนที่ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาทางวัตถุ มีชีวิตและความสงบสุขที่ดีที่สุด และพวกเขามีทุกอย่างที่คิดว่าเป็นชีวิตที่ดี ทำไมคุณถึงคิดว่าพวกเขาฆ่าตัวตาย? เพราะเมื่อถึงจุดสูงสุดของความเจริญก็ยิ่งถึงความว่างเปล่ามากเท่านั้น ชีวิตพบกับความจำเจที่ว่างเปล่าในทุกวันตื่นนอนทุกเช้า ทำงาน หาเงิน กิน และนอนและตื่นเช้า ทำงาน หาเงิน กินนอน วนอยู่อย่างนั้น
 ดังนั้น มนุษย์จึงมีอีกมิติหนึ่งและอีกความต้องการหนึ่งที่ว่าหากไม่บรรลุ มนุษย์ก็จะยังไม่เพียงพอ ความต้องการนี้เป็นมิติหลักของมนุษย์ หากความต้องการทางวัตถุของเขาได้รับการสนองตอบแล้ว แต่มิติทางจิตวิญญาณนั้นยังไม่ได้รับการตอบสนอง เขาจะยังคงรู้สึกไม่เพียงพอและยากจนอยู่อย่างนั้น ตรงนี้เองที่ศาสนาเข้ามามีบทบาทและเติมเต็มความสงบ ความพอเพียง ความมั่งคั่งให้แก่มนุษย์
หากเราย้อนกลับไปสู่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเราจะเห็นว่ามนุษยชาติในศตวรรษที่ 19 หลงใหลในความรู้ของเขา ว่าเป็นผู้ค้นพบทุกสิ่งในโลก จนคิดว่าไม่ต้องการศาสนาอีกต่อไปเพราะได้ค้นพบทุกสิ่งที่ที่ต้องการ ความคิดนี้ดำเนินต่อไปในศตวรรษที่ 20 กระทั่งเส้นกราฟเริ่มดิ่งลงในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 หมายความว่าได้พบกับวิกฤติ เหมือนกับผู้คนสัมผัสได้ว่าไม่สามารถละทิ้งศาสนาได้ ดังที่ฮันติงตันกล่าวไว้ในเมืองซูริกเมื่อปี ค.ศ.2000 ว่า ในสองทศวรรษแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิถีของมนุษย์ซึ่งหันหลังให้กับศาสนาก็หันไปสู่ศาสนาอีกครั้ง แล้วประกาศในปี ค.ศ.2000 ว่า "ข้าพเจ้าขอประกาศให้สหัสวรรษที่ 3 ของมนุษยชาติเป็นสหัสวรรษแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของศาสนา” เพราะมนุษยชาติได้ข้อสรุปแล้วว่าความรู้ที่เขาคิดว่าเขาได้ค้นพบแล้วนั้น ได้เติมเต็มพวกเขาเพียงมิติหนึ่งของชีวิตเท่านั้น

 


เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง