ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 3
หนังสือมนุษย์ 250 ปี (67)
#หมายเลข_67
#ความเดิมตอนที่แล้ว : ทบทวนยุคทั้งสี่แห่งอิมามัต
อิมามคาเมเนอีย์อธิบายว่า การให้คำแนะนำคอลีฟะฮ์ในยุคสมัยของอิมามอาลี(อ) คือ หลักฐานที่แสดงถึงความพยายามในการปกครองอิสลามและสังคมมุสลิมของตัวท่าน(อ) จากนั้นท่านกล่าวถึงยุคที่สอง,สามและสี่ โดยระบุว่ายุคที่สองคือ ช่วงการปกครอง นับจากการปกครองของอิมามอาลี กับ อิมามฮะซัน รวมประมาณ 5 ปี เราะฮบัรชี้ว่า ยุคของอิมามฮะซัน เป็นยุคที่ยากลำบากยิ่ง มีความเจ็มปวดในหัวใจ แต่อิมามฮะซันก็ใช้วิธีที่มีมนุษยธรรมที่สุด ยุติธรรมที่สุด และมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ โปร่งใส และมีความหนักแน่น ยุคที่สองยังเป็นบทเรียน,ตัวอย่าง,อุดมคติ สำหรับนักปฏิบัติที่ปรารถนานำเอาการปกครองแบบอิสลามมาใช้กับสังคม และยุคที่สาม คือ ช่วงการทำสนธิสัญของอิมามฮะซัน จนถึง การเป็นชะฮีดของอิมามฮูเซน ภารกิจเป็นแบบระยะสั้น และมีลักษณะแบบกึ่งซ่อนเร้น ส่วนยุคที่สี่ คือ หลังการเป็นชะฮีดของอิมามฮูเซน ภารกิจเป็นไปเพื่อเป้าหมายในระยะยาว
บทที่ 7 ภาพรวมของประเด็นต่างและแกนกลางในหนังสือเล่มที่สาม
หัวข้อ : #ภาพรวมของหนังสือเล่มที่สาม
ในบทก่อนหน้าเป็นการนำเสนอโครงสร้างโดยรวมของหนังสือ ซึ่งจะสิ้นสุดที่บทนี้ และอีกบทหนึ่ง คือ การแสดงแผนผังการเคลื่อนไหวต่อสู้ที่ปรากฎในวิถีชีวิตของบรรดาอิมาม แน่นอนว่าแต่ละหัวข้อที่สามารถนำมาศึกษาได้ ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่หัวข้อเหล่านี้ อย่างไรก็ตามการที่ข้าพเจ้าได้จัดเรียงและนำเสนอหัวข้อในลักษณะนี้(หนังสือสื่อว่า อิมามคาเมเนอีย์ เป็นคนเลือกหัวข้อและเรียงบทแต่ละบทด้วยตนเอง)ก็เพื่อมอบหัวข้อและประเด็นเหล่านี้ให้แก่ผู้อื่นที่ต้องการค้นคว้า (เพื่อให้ผู้อ่านจับประเด็นได้ง่ายขึ้น)
✏️หนึ่งในประเด็นที่มีการกล่าวถึง คือการอ้างถึงตำแหน่งอิมามัต และการเรียกร้องสู่อิมามัต ซึ่งปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของพวกเขา ประเด็นดังกล่าว นับเป็น บทใหญ่ที่ค่อนคว้างกว้างซึ่งปรากฎอยู่รีวายัตในหมวดหมู่ที่หลากหลาย เช่น รีวายัต อัลอะอิมมะฮ์ นูรุลลอฮ ในอัลกาฟีย์[1] ,รีวายัตของอิมามท่านที่แปดที่กล่าวถึง “อิมามมัต” [2] และรีวายัตจำนวนมากมาจากชีวิตของอิมามศอดิกและบทสนทนาของสาวกของอิมามศอดิก กับ ผู้คนจากหลายฝ่าย,รีวายัตในชีวิตของอิมามฮูเซน(อ)ทั้งในชาวงที่เรียกร้องต่อชาวอิรักและรีวายัตอื่นๆอีกมากมาย
✏️อีกประเด็นหนึ่ง การตีความพฤติกรรมและข้อเรียกร้องจากบรรดาอิมามของบรรดาคอลีฟะฮ์ ขอให้ท่านพิจารณาดูว่าตั้งแต่สมัยของอับดุลมาลิกถึงสมัยของมุตะวักกิล จะเห็นว่าบรรดาคอลีฟะฮ์และผู้ครองล้วนจับตาดูความก้าวหน้าของอิมามและพยายามอ่านสถานการณ์เพื่อค้นหาเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามอยู่เสมอ จะเห็นว่า(จากการจับตาของเหล่าคอลีฟะฮ์ในแต่ละยุค) มักทำให้พวกเขามักจะตัดสินใจกระทำการในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ประเด็นนี้ถือว่าสำคัญและไม่อาจมองข้ามไปได้ คำถามคือ ทำไมคนเหล่านี้ถึงพยายามทำความเข้าใจวิถีชีวิตของอิมามขนาดนี้ ? ตัวอย่างเช่น
(خلیفتان یجبی الیهما الخراج)
”ราวกับว่าภาษีถูกรวบรวมให้คอลีฟะสองคน”[3] ซึ่งพูดถึงอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร
หรือ
(هذا علی ابنه قد قعد و ادعی الامر لنفسه)
นี่คือ อาลี บุตรของคนผู้นั้น เขาได้มานั่งแทนที่ผู้เป็นพ่อ และอ้างว่ากิจนี้(อิมามัต)ว่าเป็นสิทธิของตนเอง[4] ที่พูดถึงอิมามอาลี บิน มูซา และยังมีประโยคอีกมากที่มีลักษณะคล้ายคลึงในทำนองนี้เมื่อพูดถึงบรรดาอิมาม
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้อง หรือ คำอ้างสิทธิใดๆ คอลีฟะฮ์และพวกพวกของพวกเขา ล้วนพยายามทำความเข้าใจ และนำมาตีความเสมอ นี่คือประเด็นที่คู่ควรแก่การพิจารณาและถือเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งยวด
������ประเด็นในตัวบท
-อิมามคาเมเนอีย์ ได้แบ่งการศึกษาของอิมามัตและจัดเรียงเนื้อหาตามหัวข้อที่ระบุไว้ โดยส่วนหนึ่งจะเป็นภาพรวมของอิมามัต และอีกส่วนหนึ่งเป็นแผนที่ความคิดการเคลื่อนไหวต่อสู้ของบรรดาอิมาม นอกจากนี้ยังมีประเด็นแยกอีกหลายประเด็นซึ่งในตัวบท ท่านได้นำเสนอไว้สองเรื่อง เรื่องแรก คือ การที่บรรดาอิมาม พูดถึง ความเป็นอิมามด้วยตัวของพวกเขาเอง และเรื่องที่สองคือ การที่แม้แต้ฝ่ายปกครอง หรือ คอลีฟะฮ์ ก็พยายามสังเกตการณ์ พยายามอ่านและทำความเข้าใจ เป้าหมายและทุกการเคลื่อนไหวของอิมาม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ขั้วตรงข้ามของบรรดาอิมาม ก็ศึกษาชีวิตของอิมามอย่างละเอียดเช่นเดียวกัน
อ้างอิง
หนังสือมนุษย์ 250 ปี หน้า 66-67
[1] อัลกาฟี/กิตาบุลฮุญญะ/หมวด อันนัลอะอิมมะฮ์ตะนูรูลลอฮี อัซซะวะญัล
[2] ตัวอย่างเช่น รีวายัตที่ อิมามริฎอ (อ) ที่รำลึกถึงวันคืนในอดีต ,รีวายัตที่นำเสนอเรื่องราวของตำแหน่งอิมามอย่างละเอียด และสถานะของอิมามัตในศาสนา ท่าน(อ)ได้กล่าวไว้ใจตัวบทหนึ่งว่า
(إنَّ الإِمامَةَ خِلافَةُ اللّهِ وخِلافَةُ الرَّسولِ صلى الله عليه و آله ، ومَقامُ أميرِ المُؤمِنينَ عليه السلام ، وميراثُ الحَسَنِ وَالحُسَينِ عليهماالسلام ، إنَّ الإِمامَةَ زِمامُ الدّينِ ، ونِظامُ المُسلِمينَ ، وصَلاحُ الدُّنيا وعِزُّ المُؤمِنينَ)
ความมหมายว่า “แท้จริง อิมามะฮ คือ ตัวแทนของอัลลอฮ และ คือตัวแทนของรอซูล(ศ็อล) และคือตำแหน่งฐานันดรของอมีรุลมุอฺมีนีน(อ) และคือ มรดกของฮะซันและฮูเซน (อลัยฮิมัสสลาม) ,แท้จริงอิมามะ คือ บังเหียรของศาสนา และระบบของบรรดามุสลิม และเป็นสิ่งที่ใช้แก้ไขปรับปรุงโลก และคือ เกียรติยศและศักดิ์ของบรรดาผู้ศรัทธา (อัลกาฟี/กิตาบุลฮุญญะฮ์,หมวด นาดิร ญามิอฺ ฟ์ ฟัฎลิล อิมามีวะซีฟาติฮี / ฮาดิษที่ 1
[3] บิฮาร กืตาบ ตอรีค อาลี บิน ฮูเซน วะ....มูซา บิน ญะอฟัร /หมวด ตอรีคุลอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร อัลกาซิม / หมวด หก / ฮาดิษ 3
[4] บิฮาร/ หมวด ตอรีค อาลี บิน มูซา.... / หมวด ตอรีคุลอิมามอาลี บิน มูซา อัรริฎอ / หมวด 9 /ฮาดิษ 2