มนุษยนิยม
  • ชื่อ: มนุษยนิยม
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 1:41:4 2-9-1403

มนุษยนิยม



ในโลกยุคปัจจุบัน เป็นยุคแห่งการเผชิญกันระหว่างแนวคิดต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดปรัชญาต่างๆ และมนุษยนิยมก็เป็นหนึ่งในแนวคิดทางปรัชญาเชิงจริยศาสตร์ ที่ผนวกเข้ากับเสรีนิยมliberalism ฆราวาสนิยมsecularismที่แทรกซึมเข้าสู่สังคมอย่างน่าเป็นห่วงเลยทีเดียว ดังที่เราได้ยินคำพูดและการแสดงออกมาของเจนรุ่นใหม่บางคนที่ว่า ชีวิตเป็นของฉัน ฉันเลือกวิถีการใช้ชีวิตของฉันเอง ศาสนาเป็นกรอบและสิ่งที่ครอบเขาไม่ให้เขามีเสรีภาพในการทำตามที่ใจต้องการ จึงเห็นรูปแบบการใช้ชีวิตเสรี ตั้งแต่รูปแบบการแต่งกาย กรีดเจอะแปลงรูปร่างหน้าตาของตนเอง และเสรีด้านอื่นๆ อีกมากมายที่เราเองประสบในสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งมองผิวเผินแล้วคำพูดเหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสามารถชักจูงให้ผู้คนคล้อยตามได้อย่างง่าย จึงเป็นเรื่องที่นักการศาสนาต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังและไม่ควรละเลยในเรื่องนี้
 มนุษยนิยม humanism เป็นสภาวะและแนวคิดที่ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของมนุษย์และความสมบูรณ์แบบที่พึงปรารถนา แทนที่จะเป็นหลักการที่ตั้งอยู่บนศาสนา ซึ่งอาศัยเหตุผลนิยมและวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยการปฏิเสธสิ่งเหนือธรรมชาติใดๆ
 มนุษยนิยมวางเงื่อนไขไว้ให้มีการค้นหาความจริงและศีลธรรมในวิธีการที่มนุษย์จะนำมาใช้สนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมองไปที่ ความสามารถในการกำหนดและตัดสินได้ด้วยตนเอง มนุษยนิยมจะไม่รับการชั่งใจและตัดสินใจโดยสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจ เช่นการตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับ "ความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล" สิ่งเหนือธรรมชาติ หรือด้วยคำทำนายที่อ้างไว้ในคัมภีร์ใด ๆ มนุษยนิยมสนับสนุนจริยธรรมสากล (universal morality) ที่อยู่บนพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปที่มีความเป็นอยู่ธรรมดา
 แนวคิดมนุษยนิยมเกิดขึ้นโดยชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าการเชื่อในพระเจ้าขัดแย้งกับความเป็นมนุษย์ แน่นอนว่า เรื่องราวมีต้นกำเนิดมาจากการที่ชาวตะวันตกปฏิเสธโลกธรรมชาติก็รู้สึกถึงความขาดแคลนทางจิตวิญญาณขึ้นในตัวเอง เพราะการปฏิเสธพระเจ้าและการตีความโลกและมนุษย์ด้วยกฎอันแห้งแล้งของธรรมชาติได้ขจัดอารมณ์ความรู้สึกใดๆ ออกไปจากสังคม และมนุษย์ก็กลายเป็นเหมือนเครื่องจักรหนึ่งเท่านั้น
 สิ่งนี้ทำให้นักคิดชาวตะวันตกบางคนเสนอหลักความถูกต้องของมนุษย์เพื่อชดเชยความขาดแคลนทางจิตวิญญาณและอารมณ์ เพื่อลดความแห้งแล้งและความอ่อนล้าของชีวิต ด้วยเหตุนี้ แนวคิดที่ยึดมนุษย์เป็นแก่นหลักจึงถือกำเนิดขึ้น โดยยึดสิ่งถูกสร้างเป็นหลักแล้วปฏิเสธผู้สร้าง
 ทั้งที่ทั้งสองไม่ได้เป็นสิ่งที่เผชิญกันจนเกิดข้อขัดแย้งระหว่างกันจนต้องเลือกว่า: "พระเจ้าหรือมนุษย์" แต่ทั้งสองนี้อยู่ในแนวดิ่งเดียวกัน ซึ่งมนุษย์ได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์เนื่องจากความเชื่อมโยงกับมหาสมุทรอันไม่มีที่สิ้นสุดนั้น และพยายามที่จะนำตัวเองเข้าใกล้ศูนย์กลางแห่งความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์เป็นเพียงหยดเดียวจากมหาสมุทรนั้น ครั้นเมื่อมันได้ไหลเชื่อมเข้ากับมหาสุทรแห่งนั้นได้มันก็ไม่ใช่หยดหนึ่งของมหาสมุทรอีกต่อไป หยดหนึ่งนั้นก็คือมหาสมุทรหากมันเชื่อมเข้ากับมหาสมุทร มันจะไม่ใช่สองสิ่ง หยดน้ำและมหาสมุทรอีกต่อไป
ศาสนากับมนุษย์
 บางครั้งมีการกล่าวถึงศาสนาและการยึดมั่นต่อกฎหมายของพระเจ้า และบางครั้งก็พูดถึงสังคมฆราวาสที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของพระเจ้าและไม่เชื่อในศาสนา ในกรณีแรก บางคนถือว่าการยึดมั่นในกฎหมายของพระเจ้าเป็นการจำกัดมนุษย์ และถือว่าเป็นการลิดรอนเสรีภาพรูปแบบหนึ่งสำหรับมนุษย์ ทั้งที่มนุษย์ยอมรับศาสนาด้วยเสรีภาพโดยสมบูรณ์ ดังนั้นการต่อต้านข้อจำกัดนี้ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการต่อต้านเสรีภาพและความเป็นอิสระของมนุษย์เช่นกัน
อีกด้านหนึ่ง ก็ต้องดูว่าข้อจำกัดทางศาสนาจะเรียกว่าข้อจำกัดได้หรือไม่? การยอมรับกฎหมายของพระเจ้าขัดแย้งกับความถูกต้องและศักดิ์ศรีของมนุษย์หรือไม่? ถ้าเราพิจารณาคำพูดของอิมามอะลี (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ท่านกล่าวว่า:
 “แท้จริง อัลลอฮ์(ซบ.) ได้ทรงให้การเชื่อฟังเป็นสิ่งมีคุณค่าของผู้มีปัญญา เมื่อบรรดาผู้อ่อนแอ ละเลย”
  เราเห็นว่าอิมามถือว่าการเคารพสักการะและปฏิบัติตามกฎหมายพระเจ้าเป็นสัญลักษณ์ของความเฉียบแหลมของผู้มีปัญญา และถือว่ามันเป็นระดับสูง ไม่ใช่การจำกัดและต่อต้านเสรีภาพตามคำพูดของอิมามอาลี (อ.) การก้าวไปสู่การเคารพสักการะถือเป็นการก้าวไปสู่ความสุข
 เป็นไปได้ไหมที่จะบอกว่านักกีฬาที่วิ่งไปสู่ชัยชนะในสนามแข่งขันภายใต้กรอบกติกาของเกมว่าถูกจำกัดอยู่ในกรอบ? ในความเป็นจริงการแข่งขันกีฬา ฮีโร่ได้รับความนิยมมากขึ้นและสถานะทางสังคมของพวกเขาก็เพิ่มขึ้นทุกวันไม่ใช่หรือ?
 เมื่อมีคนก้าวไปสู่ชัยชนะในเวทีนี้ตามกฎเกณฑ์ที่อยู่เหนือมนุษย์ จะเรียกว่าเป็นคนที่อยู่ใต้ข้อจำกัดและไร้ค่าได้หรือไม่? อิมามอาลี (อ.) กล่าวว่า:
 "ข้าเคารพสักการะพระองค์ ไม่ใช่เพราะกลัวนรกหรืออยากเข้าสวรรค์ของพระองค์ แต่ข้าพบว่าพระองค์คู่ควรแก่การเคารพสักการะจึงได้เคารพสักการะพระองค์”
 นี่คือจุดที่เราเข้าใจว่าการเข้าหาพระเจ้าและการเชื่อฟังของบุคลเช่นนี้เป็นเรื่องที่นำมาซึ่งความดื่มด่ำและความสุขอย่างยิ่ง และไม่เคยมองว่ามันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับเสรีภาพแต่อย่างใด

 

เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/ เรียบเรียง