ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 20
มนุษย์ 250 ปี
หมวดที่1 ยุคต้นแห่งอิมามัต
บทที่ 9 ชีวิตและบุคลิกภาพของอมีรุลมุอฺมีนีน อลัยฮิสลาม
หมายเลข 85 ท่านอิมามอาลี(อ) คือ แม่ทัพผู้นำศึก
ความเดิมตอนที่แล้ว
อิมามคาเมเนอีย์ได้ชี้ให้ถึงความกล้าหาญของท่านอมีรุลมุอฺมีนีน (อ) ในช่วง 10 ปีที่ท่านศาสดา(ศ็อล)อาศัยอยู่ในนครมะดีนะฮ์ และชี้ว่าเมื่อมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นท่านอิมามอาลี (อ) จะอาสารับหน้าที่เป็นผู้แก้ปัญหานั้นเสมอ เช่น การทำศึกสงครามแทบไม่มีศึกใดที่ท่านอิมามอาลี (อ)ไม่ได้เข้าร่วม และหากจะมีศึกที่ท่านไม่ได้รบด้วย นั่นก็เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ศ็อล) จนเป็นที่มาของฮาดิษมันซีลัต ซึ่งถูกกล่าวเพื่อปลอบประโลมใจท่านอิมามอาลี (อ) ที่ไม่ได้เข้าร่วมรบกับท่านศาสดา (ศ็อล)
หัวข้อ ท่านอิมามอาลี(อ) คือ แม่ทัพผู้นำศึก
ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน (อ) คือ ผู้มาก่อนใครในทุกสถานการณ์ ที่ใดที่ต้องจับดาบ ต้องรวดเร็ว ทันท่วงที่ ท่านอิมามจะพร้อมและแน่วแน่เสมอ ท่านยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดอีกด้วย อย่างไรก็ตามหัวข้อนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ค้นคว้าด้วยตัวเอง แต่มีนักค้นคว้ามากมายได้อ้างอิงไว้ว่า ทุกสงครามของท่านศาสดา (ศ็อล) ล้วนมีท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)เป็นผู้บัญชาการ[1] อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มอื่นก็มีบ้างที่เป็นผู้บัญชาการในแต่ละภาคส่วน แต่เรื่องของเราคือ แกนหลัก สัญลักษณ์ และธงแห่งการบัญชาการ (หัวใจหลักของการบังคับบัญชาที่ท่านศาสดา (ศ็อล) ได้วางไว้คือ ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน อลัยฮิสลาม ) ดังนั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ท่ายศาสดา (ศ็อล) ได้มอบธงให้แก่บุคคลผู้หนึ่ง ก็คือ ธงผืนหลักนั้นถูกมอบให้ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ) ขอให้ท่านลองพิจารณาสงครามบนีกุรัยเฎาะฮ์,คัยบัร,บะดัร,ฮุนัยน์,อุฮุด และสงครามอะฮ์ซาบ ท่านจะเห็นว่าบุรุษท่านนี้อยู่ที่ไหน และกำลังทำอะไร นี่ก็ถือเป็นหนึ่งบทเรียน
สรุปเนื้อหา
อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ถึง ความเป็นอัซซาบิกูน ของท่านอมีรุลมอฺมีนีน(อ) โดยยกข้อพิสูจน์เรื่องการศึกสงคราม จะเห็นว่าในสนามรบ ท่านอิมามอาลี (อ) จะเป็นผู้แรกที่ร่วมรบในสงครามและเป็นผู้บัญชาการศึกตามการแต่งตั้งโดยท่านศาสดา (ศ็อล) เสมอ
เชิงอรรถในหนังสือ
[1] เชคมุฟีด ได้ชี้ถึงประเด็นนี้ไว้ในหนังสือ อัลอิรชาด ,อมีนุลอิสลามฏอบัรซีย์ ชี้ไว้ในหนังสือ อิอฺลามุลวะรอ และอิบนิฮะญัร ชี้ไว้ในหนังสือ อัลอิซาบะฮ์ เชคมุฟิด กล่าวไว้ด้วยว่า “เขา(อิมามอาลี)คือผู้ถือธงศึกของท่านศาสดา (ศ็อล)ในทุกสงคราม”
อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 84