ตะเซาวุรมุตลัก ตะเซาวุรลาเบชัรฏ กับ ตะเซาวุรเบชัรฏลา และการไม่เอียงข้าง คือ อะไร
  • ชื่อ: ตะเซาวุรมุตลัก ตะเซาวุรลาเบชัรฏ กับ ตะเซาวุรเบชัรฏลา และการไม่เอียงข้าง คือ อะไร
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 16:8:33 3-9-1403

ตะเซาวุรมุตลัก ตะเซาวุรลาเบชัรฏ กับ ตะเซาวุรเบชัรฏลา และการไม่เอียงข้าง คือ อะไร

ทบทวนเนื้อหาก่อนหน้านี้

ภาพ หรือ สภาพปรากฎ แม้จะเป็นตัวแทนของการรับรู้ด้วยการมอง แต่ครอบคลุมความหมายของ ทุกปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จิต ของเรา ซึ่งครอบคลุมทั้งมโนทัศน์เชิงวัตถุของประสาทสัมผัส และมโนทัศน์เชิงอวัตถุของความรู้สึก,จิตวิญญาณและความคิด

หัวข้อในเนื้อหา ตะเซาวุรมุตลัก ตะเซาวุรลาเบชัรฏ กับ ตะเซาวุรเบชัรฏลา และการไม่เอียงข้าง คือ อะไร
ตอบ สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับคำว่า มุตลัก ในวิชามันติก จะรู้ว่า มุตลัก(مطلق) ไม่ได้แปลว่า สมบูรณ์ ได้เพียงมุมเดียว แต่สามารถแปลว่า ภาวะที่ไม่มีเงื่อนไข หรือ การกล่าวถึงบางสิ่งโดยพิจารณามันในสถานะที่เป็นองค์รวม หรือ บางครั้งมุตลัก ก็ใช้ในความหมายของความดั้งเดิมก็ได้เช่นกัน เช่น น้ำมุตลัก ตรงข้ามกับ น้ำมุฎอฟ ในวิชาอะฮ์กาม จะหมายถึงน้ำบริสุทธิ์ที่ยังไม่ถูกผสมเจือปนกับสิ่งใด
ในที่นี้ ตะเซาวุรมุตลัก จะหมายถึง สภาพปรากฎในรูปที่ยังไม่พิจารณาว่า ตัวของมันเป็นประเภทของ สภาพปรากฎแบบทั่วไป หรือ สภาพปรากฎแบบที่ผ่านการตัดสินแล้ว ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ตะเซาวุรลาเบชัรฎ หมายถึง สภาพปรากฎที่ไม่มีการวางเงื่อนไข
ส่วนตะเซาวุรเบชัรฏลา(تصور بشرط لا) คือ สภาพปรากฎที่วางเงื่อนไขว่า จะต้องไม่มีการเอียงข้างไปทางฝั่งยืนยัน หรือ ทางฝั่งปฏิเสธ แต่จะต้องมีสถานะเท่ากันระหว่างยืนยันกับปฏิเสธ เพราะถ้าหากมีการยืนยันหรือ ปฏิเสธ มันจะไม่ใช่สภาพปรากกฎ แต่จะเป็นสภาพตัดสินหรือตัสดีก(تصدیق)แทน เช่น คำว่า ภูเขา กล่าวเฉยๆ กล่าวลอยๆ จะไม่มีการตัดสินว่า จริงหรือไม่จริง แบบนี้คือ สภาพปรากฎของมโนทัศน์เรื่องภูเขา แต่เมื่อประพจน์เปลี่ยนเป็น กิ่วแม่ปานอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นการยืนยันว่า กิ่วแม่ปาน ซึ่งเป็นสภาพปรากฎชนิดหนึ่งในจิตเป็นส่วนหนึ่งของเชียงใหม่จริง ดังนั้นหากจะจัดหมวดหมู่ให้สิ่งที่เรารู้เป็นมโนทัศน์หรือเป็นความเข้าใจเบื้องต้น จึงต้องละการยืนยัน หรือ การปฏิเสธอยู่เสมอ  

สรุปเนื้อหา
ตะเซาวุรมุตลัก หมายถึง สภาพปรากฎที่ครอบคลุม สภาพปรากฎแบบมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีการยืน/ปฏิเสธ(تصور بشرط شیء)และครอบคลุม สภาพปรากฎแบบมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีการยืนยัน/ปฏิเสธ(تصور بشرط لا) โดยตัวของมันถูกเรียกอีกชื่อว่า ตะเซาวุรลาเบชัรฏ(تصور لابشرط) ส่วน สถานะไม่อิงข้างใดข้างหนึ่ง จะเจาะจงเฉพาะ สภาพปรากฎแบบมีเงื่อนไขว่า จะต้องไม่มีการยืนยัน/ปฏิเสธ ตรงข้ามกับ ตัสดีก ที่สื่อถึง การยืนยัน/ปฏิเสธ ซึ่งมันคือคำอธิบายที่ซับซ้อนของ สภาพปรากฎธรรมดาที่เราเข้าใจนั่นเอง

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา