ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 30
  • ชื่อ: ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 30
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 1:49:4 2-9-1403

 ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 30

 

อิมามัต คือ ยารักษาสังคมอิสลาม
เราเชื่อว่า ผู้ที่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)เลือกให้มาปกครอง (มีคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการปกครองในตัวของเขา) อะไรที่ระบบการปกครองนี้ต้องการ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้มองเห็นว่ามันอยู่ในตัวท่านอิมามอาลี (อ) ดังนั้นท่าน (ศ็อลฯ)จึงกำหนดตำแหน่งนี้และมอบบังเหียนแห่งสังคมอิสลามให้แก่ท่านอิมามอาลี (อ)
ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้แนะนำท่านอิมามอาลี(อ)ให้ประชาชนรู้จักและกำชับให้รู้ถึงความสำคัญของเขาอีกด้วย[1] นอกจากนี้ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ยังประกาศให้รับรู้โดยทั่วกันว่า การปฏิบัติตามและการเชื่อฟังเขานั้นเป็นข้อบังคับ ดังนั้นหากมีสักช่วงเวลาที่เกิดระยะห่างระหว่างตนเองกับสัจธรรม เขาจะต้องเร่งรีบหวนคืนสู่สิทธิอันชอบธรรมของตนเองเสมอ เพราะสิทธิอันชอบธรรมนี้ ไม่ใช่การยกสิทธิเพราะเกรงใจ (ในตัวบทที่กำลังจะอ่านต่อไปนี้ อิมามคาเมเนอีย์ได้อธิบายด้วยการยกตัวอย่าง “การให้ทั้งสองรูปแบบ” เพื่ออธิบายว่า การมอบตำแหน่งอิมามัตให้แก่ท่านอิมามอาลี(อ)โดยท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้น มีแก่นแท้อย่างไร 
ลักษณะแรกคือ การให้และปฏิเสธเพราะความเกรงใจ 
ลักษณะที่สองคือ การให้ที่ไม่อาจปฏิเสธได้เพราะความเกรงใจ ตัวอย่างแรกคือ การให้ดอกกุหลาบ (ทั่วไป)ตัวอย่างที่สองคือ การให้ยากับคนไข้ที่จำเป็นต้องรับการรักษา และชี้ว่า  การให้ลักษณะที่สองคือ การมอบท่านอิมามอาลี(อ)มาเป็นผู้ปกครอง โดยเปรียบปรากฎการณ์ครั้งนี้ เหมือนกับยาที่สังคมจำเป็นต้องรับประทาน)
หากฉันอยากจะมอบกุหลาบสักช่อหนึ่งให้แก่ท่าน ฉันจะพูดกับท่านว่า ช่วยรับดอกไม้นี้ไปด้วย ท่านจะตอบว่า ไม่เป็นไร ฉันไม่อยากได้มันหรอก(ปฏิเสธด้วยการแสดงความเกรงใจ)
อีกลักษณะคือ ท่านกำลังป่วย ฉันจึงนำยามาให้ท่านและบอกว่า โปรดใช้ยาเหล่านี้เถิด ในสถานการณ์แบบนี้ หากท่านตอบกลับมาว่า ไม่เป็นไร ฉันไม่ต้องการกินยาชุดนี้หรอก(ตอบด้วยความเกรงใจ) คนอื่นๆจะกล่าวว่า  ท่านตอบแบบไร้เหตุผล และสิ่งที่ท่านจะทำต่อไป คือปล่อยให้พวกเขาช่วยให้ท่านนอนลงแล้วป้อนยาลงไปในลำคอท่าน
รัฐบาลที่ปกติ รัฐบาลที่ซาลิม คือ โอสถที่จำเป็นสำหรับยุคแห่งการเริ่มต้นการปฏิวัติแบบอิสลาม ถือว่ามีความจำเป็นสำหรับสังคม โดยไม่มีสิทธิอ้างว่า ฉันไม่อยากได้ยานี้ เช่นเดียวกัน ผู้ที่เก็บยาและเภสัชกร ก็ไม่มีสิทธิอ้างเช่นกันว่า ในเมื่อพวกท่านไม่อยากกินยา ฉันก็จะไม่สนใจใยดีท่านอีก 
หาใช่แบบนี้ไม่ !! ท่านคิดหรือว่า นี่เป็นเรื่องส่วนตัว(การแต่งตั้งท่านอิมามอาลี(อ)โดยท่านศาสดา(ศ็อลฯ)อย่างนั้นหรือ???  ท่านจะเห็นว่า ท่านอิมามอาลี(อ)พยายามอย่างยิ่ง เพื่อไปถึงสิทธิอันชอบธรรมนั้น และท่าน(อ)จะเห็นว่าเขาพยายามอย่างยิ่งเพื่อป้อนยาชุดนั้นให้แก่คนไข้ ยกเว้นว่าเขาจะเห็นแล้วว่า คนไข้กำลังตกอยู่ในสภาวะคับขัน คนไข้อาจจะเสียชีวิต หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้เขาอาจจะเก็บยาไว้ชั่วคราว จนกว่าคนไข้ที่ใกล้ตายจะมีอาการคงที่  และเมื่อคนไข้พร้อมสำหรับการรักษาแล้ว จึงจะป้อนยานี้ให้คนไข้รับประทานอีกครั้ง โดยเริ่มต้นเขาจะป้อนยาอย่างชาญฉลาดให้แก่คนไข้ เพราะหากไม่ทำเช่นนั้น คอของคนไข้ก็อาจจะระคายเคืองได้ อิมามัตก็เป็นเช่นนี้
ท่านอิมามอาลี(อ)ได้ออกมาเคลื่อนไหว และได้พยายามเปิดเผยให้เห็นถึงความจริงและสัจธรรมในเรื่องนี้ ทั้งตัวของท่านอิมามอาลี(อ)เอง  และภรรยาผู้บริสิทธิ์ของท่าน(ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ) (ต่างออกมาเปิดเผยความจริงในเรื่องนี้) พวกท่านทุกคนต่างเคยได้ยินมาแล้วว่าท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)เคยเดินเคาะประตูบ้านเหล่าสหายของอัลกุรอ่านและท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และผู้ที่รักในอิสลามเป็นเวลาถึง 40 คืน ตำราหลายเล่มมีรายงานถึงเรื่องนี้ แม้แต่บุตรีของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)เอง ท่านอิมามก็พาท่านหญิงมาเคียงข้างท่านเพื่อการณ์นี้ด้วยเช่นกัน เพราะหากอาศัยแง่มุมความรู้สึกควบคู่กับความคิด(จากการปรากฎตัวของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)ผู้ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่เคยประกาศให้เป็นที่รู้กันว่า ความพึงพอใจของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)คือความพึงพอใจของอัลลอฮ (ซ.บ) และความโกรธของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) คือ ความกริ้วของพระองค์(ซ.บ) อาจทำให้หลายๆคนคิดอะไรขึ้นมาได้บ้าง) อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่เข้มแข็งรวมตัวกันรายล้อมท่านได้ และเพื่อให้มั่นใจว่าหากท่านเคลื่อนไหวพร้อมกับกลุ่มคนเหล่านี้ อิสลามที่เพิ่งหยั่งราก ก็จะไม่สูญหายไป[2] ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)จึงเดินไปเคาะตามประตูบ้านจากหลังหนึ่งสู่อีกหลังหนึ่ง ท่านได้เชิญชวนมวลชนให้มอบบัยอัตสัตยาบันให้แก่ท่าน และให้มวลชนมารวมกันที่บ้านของท่าน เพื่อที่ท่านจะได้ไปนำสิทธิอันชอบธรรมของตนเองกลับคืนมาจากชนคนกลุ่มเล็กอีกกลุ่ม(หมายถึง กลุ่มซะกีฟะฮ์) เนื่องจากชาวซะกิฟะฮ์ในตอนนั้นยังเป็นชนกลุ่มน้อย แต่เป็นคนกลุ่มเล็กที่มีอิทธิพลอีกกลุ่มซึ่งกำลังดึงเสียงของมวลชนส่วนใหญ่ให้หันมาอยู่ข้างตน (ท่านอิมามอาลี(อ)จึงเคาะตามประตูบ้านของบรรดาสาวก เพื่อให้พวกเขาระดมตัวกัน และนำสิทธิของท่านกลับคืนมา) เพื่อขึ้นมานำสงครามอิสลาม และเพื่อทำอาชีพที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ),พระเจ้าและอัลกุรอ่านได้กำหนดให้ท่านทำไว้ต่อไป เพื่อให้สังคมอิสลามเจริญรุ่งโรจน์และสมบูรณ์ และเพื่อขับเคลื่อนไปสู่หนทางที่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้เคยแสดงวิถีไว้
แต่เมื่อท่านอิมามอาลี(อ)เห็นว่า การพิทักษ์ไม่มีประโยชน์ใดๆ และการพูดหรือไม่พูด(เป็นสำนวนภาษาฟารซี มาจาก เบกูมากู หมายถึง การทะเลาะวิวาท หรือ การตีแผ่) รังแต่จะทำให้ดุนยาแห่งอิสลามประสบกับอันตรายได้ ท่านจึงร่วมมือกับพวกเขาตลอดระยะเวลา 25 ปี
สรุปประเด็น
อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไดประกาศการแต่งตั้งท่านอิมามอาลี (อ) และไม่เพียงประกาศการแต่งตั้ง ท่านยังชี้ให้สังคมเห็นถึงความสำคัญของการนำโดยท่านอิมามอาลี(อ)หลังจากท่านอีกด้วย

อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ว่า การแต่งตั้งท่านอิมามอาลี(อ)ให้ขึ้นมาปกครองสังคมอิสลาม เป็นสิ่งที่สังคมไม่อาจปฏิเสธได้ เปรียบเสมือนโอสถที่สังคมจำเป็นต้องรับประทานเพื่อการรักษา และ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และอิมาม(อ)เองพยายามป้อนโอสถให้สังคมมาโดยตลอด แต่เนื่องจากสภาพการณ์ของสังคมก็เหมือนกับสภาวะของคนไข้ บางครั้ง  หมอซึ่งคือท่านอิมามอาลี(อ)    ก็ไม่สามารถป้อนยาให้ได้ในทันที แต่จำต้องเก็บยาไว้รอในสถานการณ์ที่เหมาะสม
บางครั้งมีการตั้งข้อสงสัยว่า หากท่านอิมามอาลี(อ)เป็นตัวแทนต่อจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ)อย่างแท้จริง ท่านย่อมต้องเรียกร้องสิทธิของท่าน แต่กลับนิ่งเงียบตลอดระยะเวลา 25 ปี ใหารพิจารณาในตัวบทจะเห็นว่า ข้อสงสัยนี้ไม่เป็นความจริง เพราะท่านอิมามอาลี(อ) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)    เคยเดินเคาะประตูบ้านของเหล่าสาวกเป็นเวลาถึง 40 คืน เพื่อเรียกร้องสิทธิของท่าน  และการปรากฎตัวของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ)หน้าประตูบ้านของสาวกแต่ละคน ยังเป็นการย้ำเตือนให้ระลึกว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เคยมอบหมายภารกิจการปกครองให้แก่ท่านอิมามอาลี(อ) อย่างไรก็ตามแม้ว่าบุตรีของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)จะออกมาเรียกร้องด้วยตัวเอง แต่สถานการณ์ก็ยังคงเป็นเป็นไปดั่งที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้
อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 89-90
หมายเหตุ
[1] ผู้แปล กล่าวคือ ศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)ไม่ได้ประกาศแต่งตั้งอิมามอาลี(อ)แต่เพียงด้านเดียว ท่านยังชี้ให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของอิมามอาลี(อ)ในฐานะผู้ปกครองคนต่อไปอีกด้วย เช่น ฮาดิษ ที่ระบุว่า การตามอะฮ์ลุลบัยต์ จะทำให้รอดพ้นจากการหลงผิด