อิมามะฮ์ 2
  • ชื่อ: อิมามะฮ์ 2
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 17:57:44 3-9-1403

อิมามะฮ์ 2


ตอนที่หนึ่ง เราอธิบายความหมายอิมามะฮ์ทางภาษาไปแล้ว ตอนนี้มาศึกษานิยามอิมามะฮ์ในทางศาสนาอิสลามกัน
1.#เชคตูซี่ย์นักปราชญ์ชีอะฮ์ ตาย 460 กล่าวว่า
الْإِمَامَةُ رِيَاسَةٌ عَامَّةٌ فِي أُمُورِ الدِّينِ وَالدُّنْيَا ، لِشَخْصٍ مِنَ الْأَشْخَاصِ ، نِيَابَةً عَنْ النَّبِيِّ (صلى الله عليه وآله)
อิม่าม : คือผู้นำ,หัวหน้า,ผู้บังคับบัญชาทั่วไป เกี่ยวกับเรื่องศาสนาและทางโลก ของบุคคลหนึ่ง ในฐานะเป็นตัวแทนต่อจากท่านนบี(ศ)
ตัลคีศ อัชชาฟีย์ ผู้แต่งเชคตูซี่ย์ เล่ม 1 หน้า 201
2.#อัลลามะฮ์ฮิลลี่นักปราชญ์ชีอะฮ์ ตาย 726 กล่าวว่า
الْإِمَامَةُ رِيَاسَةٌ عَامَّةٌ فِي أُمُورِ الدِّينِ وَالدُّنْيَا لِشَخْصٍ نِيَابَةً عَنْ النَّبِيِّ صلى الله عليه وآله وسلم
อิม่าม : คือผู้นำ,หัวหน้า,ผู้บังคับบัญชาทั่วไป เกี่ยวกับเรื่องศาสนาและทางโลก ของบุคคลหนึ่ง ในฐานะเป็นตัวแทนต่อจากท่านนบี(ศ)
กิตาบ อัลบาบ อัลฮาดี อะชัร ผู้แต่งอัลลามะฮ์ฮิลลี่ หน้า 39
3.#อัตตัฟตาซานีนักปราชญ์ซุนนี่ ตาย 791 กล่าวว่า
الْإِمَامَةُ رِيَاسَةٌ عَامَّةٌ مِنْ أَمْرِ الدِّينِ وَالدُّنْيَا خِلاَفَةً عَنْ النَّبِيِّ (صلي الله عليه وسلم)
อิม่าม : คือผู้นำ,หัวหน้า,ผู้บังคับบัญชาทั่วไป เกี่ยวกับเรื่องศาสนาและทางโลก ในฐานะเป็นคอลีฟะฮ์ผู้ปกครองสืบต่อจากท่านนบี(ศ)
ชัรฮุลมะกอศิด ผู้แต่งตัฟตาซานีย์ เล่ม 2 หน้า 278
4.#เชคอิบนุอุไซมีนนักปราชญ์วาฮาบี ตาย 1421 นิยามคำคิลาฟะฮ์ว่า
الْخِلَافَةُ مَنْصِبٌ كَبِيْرٌ ومَسْئُوْليَّةٌ عَظِيْمَةٌ، وَهِيَ تَوَلِّي تَدْبِيْرِ أُمُوْرِ الْمُسْلِمِيْنَ بِحَيْثُ يَكُوْنُ هُوَ الْمَسْؤُوْلُ الْأَوَّلَ فِي ذَلِكَ ، وَهِيَ فَرْضُ كِفاَيَةٍ؛ لأنَّ أُمُوْرَ النَّاسِ لاَ تَقُوْمُ إلَّا بِهَا
คิลาฟะฮ์ : คือผู้มีตำแหน่งยิ่งใหญ่ เป็นผู้รับผิดชอบที่สำคัญ และทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการต่างๆของบรรดามุสลิม ซึ่งเขาคือผู้รับผิดชอบดูแลบุคคลที่หนึ่งในเรื่องนั้น และมันเป็นฟัรฎูกิฟายะฮ์ เพราะกิจการของมนุษย์จะไม่ดำรงคงอยู่ยกเว้นด้วยตำแหน่งนี้
ชัรหุ ลุมอะตุลเอี๊ยะอ์ติกอด ผู้แต่งอิบนุอุไซมีน เล่ม 1 หน้า 55
#จะเห็นได้ว่า
ทั้งชีอะฮ์และซุนนี่ให้นิยามคำ อิมามะฮ์ ในทางนะซ่อรีย์-ทฤษฎีไว้ตรงกัน
แต่จุดประสงค์เป้าหมายต่อการเป็นผู้นำผู้ปกครองในทัศนะซุนนี่นั้นมีความแตกต่างไปจากทัศนะชีอะฮ์ ซึ่งเราจะได้อธิบายต่อไป