อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 6)
  • ชื่อ: อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 6)
  • นักเขียน: ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ สิคอวะตี ลอดอนี
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 16:24:5 3-9-1403

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 6)


ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล
ประวัติความเป็นมาของประชาธิปไตย
แนวคิดประชาธิปไตยมาจากที่ไหน?
ระบบต่างๆ ทางการเมืองตั้งแต่โบราณมานั้นไม่ได้แปลกหน้ากับแนวคิดประชาธิปไตยเลย ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาพื้นที่ส่วนมากของโลกมีบรรดาหัวหน้าเผ่าที่ได้มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว ในบางพื้นที่ ประชาธิปไตยมีมาช้านานในระดับสถาบันทางการเมือง ในศตวรรษที่สี่และห้าก่อนคริสต์ศักราชแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยในเอเธนส์ตกผลึกในรูปแบบคลาสสิกของระบอบประชาธิปไตยโดยตรงตั้ งแต่ต้นศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล กล่าวคือ เมื่อเงื่อนไขการมีทรัพย์สมบัติเพื่อมาดำรงตำแหน่งทางราชการถูกยกเลิก ชาวเอเธนส์ทุกคนในรัฐสภามีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าร่วมโดยตรงในการอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของตุลาการ เป็นสมาชิกของสภาบริหาร และทำนโยบายสังคม สมาชิกของสภาเหล่านี้ก็สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปด้วยการจับฉลากเช่นกัน
 นี่คือก้าวแรกของระบอบประชาธิปไตยที่ดำเนินไป ทว่าประชาธิปไตยในเอเธนส์ด้านหนึ่งมีความเป็นประชาธิปไตยและอีกด้านหนึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าเมื่อเทียบกับระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันเพราะระบอบประชาธิปไตยทางตรงของพวกเขา ผู้คนในสังคมเข้าสู่รัฐสภาได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งผู้แทนเข้าไป แต่ปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเช่นนี้จุดนี้ถือเป็นจุดเด่นสำหรับระบอบประชาธิปไตยประเภทนั้น ในทางกลับกัน เนื่องจากพวกเขาไม่อนุญาตให้ผู้หญิงและทาสเข้าร่วม จึงกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยของพวกเขายังไม่สมบูรณ์
 บรรทัดข้างต้นสามารถตอบคำถามได้บางส่วนว่าประชาธิปไตยทางตรงดีกว่าทางอ้อมหรือไม่?
ประชาธิปไตยถูกต่อต้านโดยนักวิชาการตั้งแต่ยุคนั้น เช่น ทิวซิดิดีส (Thucydides) (ประมาณปี 460-399 ก่อนคริสตกาล) เพลโต (Plato)(ประมาณ 347-427 ก่อนคริสตกาล) และอริสโตเติล ( Aristotle)(ปี 322-384 ก่อนคริสตกาล
ในขณะเดียวกัน จำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการได้รับมาซึ่งประสิทธิผลของระบอบประชาธิปไตยในช่วงกลางศตวรรษและช่องว่างระหว่างความหมายเก่าและใหม่ Alain de Benoit และนักคิดชาวตะวันตกหลายคนเชื่อว่าแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยไม่ปรากฏในความคิดใหม่จนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่สิบเจ็ด ในความเห็นของเขา แม้แต่ในศตวรรษที่สิบเจ็ด ประชาธิปไตยยังไม่มีสีและการเคลือบสีใหม่ อันที่จริงจนกระทั่งก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสแนวคิดของระบบดังกล่าวยังถือเป็นความฝันของนักคิดอยู่เลย
ดังนั้น ตามปัจจัยที่มีอยู่ในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านจากระบอบประชาธิปไตยกรีกโบราณ (5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล) และการมาถึงประชาธิปไตยสมัยใหม่  ยุคต่างๆ นี้มีช่องว่าและระยะทางที่น่าสนใจทีเดียว
ปัจจัยต่างๆ เช่น:
ก: แนวคิดต่างๆ และปรัชญาการเมืองใหม่ เช่น ทฤษฎีสิทธิธรรมชาติและสัญญาทางสังคม และ...
ข:การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเคลื่อนไหวทางสังคมและแรงงาน
ค:การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามอเมริกาเหนือและใต้ในศตวรรษที่ 18