อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่4)
  • ชื่อ: อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่4)
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 15:30:13 3-9-1403


อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่4)


ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์ /แปล

สามารถนำเสนอประชาธิปไตยในคำจำกัดความเดียวและเฉพาะได้หรือไม่?
จากที่ได้ให้คำตอบแก่คำถามต่างๆ ไปแล้วก่อนหน้านี้ก็ต้องกล่าวว่า อันที่จริงแล้ว การนำเสนอคำจำกัดความเดียวและเฉพาะสำหรับประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทว่าบ้างก็มีทัศนะว่าเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ คงกล่าวได้ว่าทุกคนที่ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้และได้นำเสนอคำจำกัดความเฉพาะไว้ เช่นหากเราจะกล่าวถึงคำจำกัดความของแมคเฟอร์สัน เขาถือว่าประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองและการทหารที่รัฐใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลหรือกลุ่มต่างๆ ของสังคม เขาถือว่านี่คือความจริงหนึ่งที่เสรีประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งที่จริงแล้วก็เหมือนกับระบบอื่นๆ เป็นระบบที่วางอยู่บนฐานของอำนาจและการเพิ่มอำนาจ กล่าวคือเป็นระบบที่ใช้ปกครองประชาชนและกำหนดให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆที่จะไม่ทำมันในสภาพปกติทั่วไปหรือห้ามไม่ให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆซึ่งเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจจะทำในสภาพอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้ก็ได้ เขายังได้กล่าวถึงความจริงอีกประการหนึ่งว่า:
 ความจริงประการที่สามที่บ้างก็ชมเชยยกย่องและบ้างก็ไม่พูดถึงมันดีกว่านั่นก็คือเสรีประชาธิปไตยและทุนนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ไปด้วยกัน เสรีประชาธิปไตยมีอยู่ในกลุ่มประเทศที่ระบบเศรษฐกิจคือทุนนิยมทั้งหมดหรือเป็นระบบหลัก
 นักอ่านที่เคารพอาจจะคิดว่าคำจำกัดความดังกล่าวนั้นเฉพาะสำหรับเสรีประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นแล้วประชาธิปไตยที่ไม่ใช่เสรีนิยมจะมีปัญหาน้อยกว่า ซึ่งก็จะขอกล่าวถึงช่วงต้นของหนังสือ “ญะฮอนฮะกีกีเยเดเครซี เขากล่าวว่า:
 เกี่ยวกับประชาธิปไตยนั้นมีเนื้อหาที่คลุมเครืออยู่อีกมาก  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาธิปไตยจะมีความคลุมเครือเสียทั้งหมดเลยทีเดียว ทว่านี่เป็นมโนภาพของเราเกี่ยวกับประชาธิปไตยว่ามันสับสน สภาพเช่นนี้ระดับหนึ่งบ่งบอกถึงความเบื่อหน่ายของสมองของเรา เราเหนื่อยหน่ายกับการได้ยินว่าประชาธิปไตยอยู่ในช่วงวิกฤต เหนื่อยหน่ายกับการขอร้องให้ความกระจ่างแก่ความหมายของประชาธิปไตยด้วยความกังวลและความกระตือรือร้น จริงๆแล้วความคลุมเครือเกี่ยวกับประชาธิปไตยนั้นบ่งชี้ถึงความยุ่งเหยิงอย่างแท้จริง”
������ประชาธิปไตยเป็นสำนักคิดหนึ่งหรือเป็นรูปแบบและวิธีหนึ่งที่ใช้บริหารสังคม?
ระบอบประชาธิปไตยใหม่ที่เสรีนิยมได้เติมเต็มเนื้อหาของมันนั้นเคยได้รับการปกป้องว่าเป็นสำนักคิดหนึ่งที่มีคุณค่าและมีเนื้อหาที่สมบูรณ์  จากนั้นค่อยๆ แสดงให้เห็นถึงความท้าทายในเชิงปฏิบัติและฐานทฤษฎีมากขึ้น นักวิชาการตะวันตกบางท่านที่มีความรู้ความเข้าใจมากกว่าได้โน้มเอียงมาทางฝั่งที่ให้การสนับสนุนนประชาธิปไตยเฉพาะในทางปฏิบัติในฐานะที่มีส่วนร่วมเท่านั้น ปัจจุบันพวกเขากล่าวว่า:
 ประชาธิปไตยเป็นทฤษฎีหนึ่งทางวิชาการและมานุษย์วิทยาเพื่อบริหารสังคม ถือเป็นแนวทางที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนจากการปฏิวัติเป็นการฟื้นฟู...
 มุมมองที่ประชาธิปไตยมีคุณค่าคือ การเลือกของคนส่วนใหญ่มีความเดียวกันกับการเลือกที่ดีของสังคมและเป็นการเลือกที่สัจธรรม กล่าวคือถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแยกแยะระหว่างสัจธรรม(ฮัก)กับความโมฆะ(บาฏิล) การย้อนกลับหาความคิดเห็นและเสียงของสาธารณะ ดังนั้นประชาธิปไตยคือหนทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแก้ปัญหาการใช้ชีวิตที่ดี และความผาสุกของสังคมขึ้นอยู่กับการเลือกของคนส่วนใหญ่ ประชาธิปไตยแบบคลาสสิคและมุมมองของศตวรรษที่18ต่อประชาธิปไตยนั้นก็วางอยู่บนทัศนคตีนี้ ปัจจุบันก็มีกลุ่มที่มีมุมมองเช่นนี้อยู่เหมือนกัน พวกเขาถือว่าเสียงของคนส่วนมากคือดัชนีชี้วัดและเป็นเกณฑ์ในการแยกแยะถูกผิด (ฮักกับบาฏิล) มองว่าเสียงของส่วนมากนั้นมีคุณค่า เหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับมุมมองนี้คือ มนุษย์ทุกคนต่างแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนไม่ว่าในสภาวการณ์ใด จึงเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์กลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกจากเห็นว่ามีสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับตนเอง ดังนั้นหากสังคมหนึ่งเป็นเช่นนี้ก็จะเป็นสังคมที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าและมีความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อยมาก
 นักวิชาการบางท่านยอมรับว่าประสิทธิผลของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้นเป็นที่กระจ่างแล้วว่าไม่อาจสนับสนุนประชาธิปไตยให้อยู่ในฐานะเนื้อหาหนึ่ง สำนักคิดหนึ่งและคุณค่าหนึ่งได้ เพราะนอกจากความถูกต้องที่ว่ามนุษย์ทุกคนต่างต้องการผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้นแล้ว
 ประการแรก มนุษย์จำนวนมากที่ทิ้งผลประโยชน์ทางด้านวัตถุของตนโดยไม่ตีราคาทางจิตวิญญาณให้กับผลประโยชน์ทางด้านวัตถุเป็นอันขาด
 ประการที่สอง นักวิชาการยอมรับเองว่าความต้องการผลประโยชน์ทางวัตถุของปัจเจกที่ผลของมันคือความต้องการผลประโยชน์ของส่วนรวมนั้นไม่ได้ขัดแย้งกับการที่บุคคลหรือส่วนรวมจะผิดพลาดในการแยกแยะตัวอย่างภายนอก
 ประการที่สาม ด้วยเหตุผลของความต้องการผลประโยชน์และคำสอนของเสรีนิยม เป็นไปได้ว่าบางคนที่เห็นแก่ผลประโยชน์จะทำการหลอกลวงผู้คน
ส่วนมุมมองด้านวิธีการประชาธิปไตยว่าเป็นเพียงช่องทางในการกระจายและการรวบรวมอำนาจทางการเมือง ผู้ที่เชื่อในวิธีการนี้กล่าวว่า:จากประสบการณ์ทำให้เราพบว่าวิธีการการปกครองที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ (หรือที่บางคนเรียกว่า การปกป้องเสรีนิยม) คือระบอบประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะไม่กล่าวหรอกว่าการบริหารของประชาชนนั้นดียิ่งกว่าประสงค์ของพระเจ้าเสียอีก ทว่าเนื่องจากพวกเราไม่อาจเข้าถึงพระประสงค์ของพระเจ้าได้ พวกเราจึงเข้าประชาธิปไตย