อิสลามกับประชาธิปไตย(ตอนที่ 5)
ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/ เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล
สารัตถะของประชาธิปไตยคือเสรีนิยมหรือไม่?
ต้องกล่าวว่าโดยทั่วไปแล้วประชาธิปไตยกับเสรีนิยมไม่น่าจะรวมกันได้ เพราะเสรีนิยมปรากฏขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance)และก่อนหน้านั้นในโลกตะวันตก แล้วค่อยๆ เข้าครอบงำการเมืองและด้านต่างๆทั้งหมดของตะวันตกกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมหนึ่ง เสรีนิยม (liberalism)หมายถึง:
อุดมการณ์และลักษณะของโลกทัศน์แบบหนึ่งที่ยึดเอาปัจเจกเป็นพื้นฐานของค่านิยม ทางศีลธรรม และถือว่าทุกคนมีค่าเท่ากัน ด้วยเหตุนี้ปัจเจกต้องมีเสรีภาพในการเลือก เป้าหมายชีวิตของตนเอง
ตามคำนิยามนี้ ความสัมพันธ์ตามศาสตร์ตรรกวิทยาระหว่างเสรีนิยมกับประชาธิปไตยคือความขัดแย้ง เพราะประชาธิปไตยวางอยู่บนผลประโยชน์ของคนส่วนมากส่วนเสรีนิยมนั้นวางอยู่บนผลประโยชน์ของปัจเจก
อบลาสเตอร์(Arblaster)และนักวิชาการตะวันตกบางท่านก็อิงความตรงข้ามกันนี้ด้วยเช่นกัน เขากล่าวว่า:
ตามที่เราเห็นกันว่าเสรีนิยมมักจะคลุมเครือและเป็นที่น่าสงสัยอย่างมากอยู่เสมอ...ผู้นำ ทฤษฎีระดับหัวกะทิในศตวรรษที่ 20 ก้าวไปไกลกว่านั้นอีก จากมุมมองที่หลากหลาย เช่น พาเรโต(Pareto) มอสก้า (Mosca) และมิเชลส์ (Michels) ทั้งหมดต่างเห็นว่า หาก ตัดสินประชาธิปไตยตามบรรทัดฐานของมันเองแล้ว หมายถึง การหลอกลวงหนึ่ง ประชาธิปไตย ไม่สามารถที่จะแทนที่การปกครองที่มีมาช้านานของคนส่วนน้อยเหนือ คนส่วนใหญ่ด้วยกับการปกครองของคนส่วนใหญ่เหนือพวกเขา ประชาธิปไตยไม่เคย ประสบความสำเร็จในการแทนที่สำหรับคณาธิปไตย
ความซื่อสัตย์หรืออะไรก็ตามในทำนองนี้ บ้างก็ได้บังคับนักวิชาการตะวันตกเพือให้บันทึกตามคำกล่าวในลักษณะนี้ ต่อไปเราจะกล่าวถึงความเห็นของคาร์ล ป็อบเปอร์( Karl Popper)แม็คเฟอร์สัน(MacPherson) และนักวิชาการท่านอื่นที่ว่าประชาธิปไตยคือการปกครองของคนส่วนน้อยไม่ใช่เป็นการปกครองของคนส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม อบลาสเตอร์(Arblaster) ได้กล่าวต่อว่า:
นอกจากนี้ ในมุมมองของพวกเขา ประชาธิปไตยไม่เคยมีความสามารถในการทำเช่นนี้ คณาธิปไตย คือ การปกครองของคนส่วนน้อยหรือการปกครองของระดับหัวกะทิเป็นมุมมอง ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นไปไม่ได้เลย โดยทั่วไปแล้วเป็นรวมกันระหว่างสองสิ่งที่ย้อนแย้งกัน
ด้วยเหตุนี้ความย้อนแย้งกันระหว่างประชาธิปไตยกับเสรีนิยมนั้นปรากฎชัดจากคำกล่าวข้างต้น
ที.เอส อีเลียต(T. S. Eliot) ก็เชื่อเช่นนี้ว่าอันที่จริงแล้วประชาธิปไตยเป็นเพียงสื่อให้กลุ่มหนึ่งไปถึงเป้าหมายของตน เขากล่าวว่า:
เมื่อคำหนึ่ง อย่างเช่นคำว่า ประชาธิปไตย ได้ให้ความหมายที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ไปทั่วทั้งสี่ทิศ เมื่อมนุษย์ต้องการที่จะอ้างอิงความหมายของคำนี้ในพจนานุกรม ฉันได้ถามตัวเองว่า คำนี้ยังมีความหมายอีกหรือ?
ฌอร์ฌ เบอร์โด(Georges Burdeau)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์ประเด็นนี้ประสบกับปฏิทรรศน์ (Paradox)และเพื่อให้รอดจากสิ่งนี้ได้พยายามพิสูจน์ให้เสรีนิยมมาก่อนประชาธิปไตย เขากล่าวว่า:
แน่นอน การอ้างสิทธิ์นี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามลำดับเวลา แน่นอนคำกล่าวอ้างนี้มีพื้นฐานมาจากการพิจารณาตามลำดับเวลา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าการที่เสรีนิยมมาก่อนประชาธิปไตยนั้นเป็นประเด็นที่ชัดเจน ทว่าการกล่าวถึงประชาธิปไตยกรีกนั้นสามารถทำให้ความถูกต้องของลำดับเวลาดังกล่าวถูกตั้งคำถามและทีปัญหา แต่ก็ต้องให้ความสนใจในประเด็นนี้ว่าประชาธิปไตยกรีกนั้นระยะเวลาไม่สั้นเลยจนเป็นต้นแบบในอุดมคติไม่มากก็น้อยและยังคงอยู่ในความจำของผู้คน
อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะแยกประชาธิปไตยออกจากเสรีนิยมและความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ในลักษณะที่ในทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยปราศจากอีกอย่างหนึ่งนั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่า – อย่างที่ได้เห็นแล้ว- ทั้งสองนั้นมีความหมายที่แตกต่างกันก็ตาม
วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้คือให้พิจารณาว่าเสรีนิยมเป็นอุดมการณ์หนึ่งที่เหนือกว่าซึ่งใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาเสรีนิยมไว้คือระบอบประชาธิปไตยที่มีกลไกที่เหมาะสมในการปกป้องลัทธิเสรีนิยม