ขั้นตอนการเผชิญหน้ากับรัฐบาลกดขี่
  • ชื่อ: ขั้นตอนการเผชิญหน้ากับรัฐบาลกดขี่
  • นักเขียน: เว็บไซต์อัชชีอะฮ์
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 20:41:39 1-9-1403

ขั้นตอนการเผชิญหน้ากับรัฐบาลกดขี่

เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) อย่างละเอียด จะพบว่าท่านอิมามมีหลักการเผชิญหน้ากับรัฐบาลอุมัยยะฮฺอยู่ 3 ประการ ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นแตกต่างกันและตามความเป็นจริงแล้ว อิมาม (อ.) ได้สอนขั้นตอนการต่อสู้กับรัฐบาลกดขี่ทั้งหลายบนโลกนี้แก่ประชาชาติ ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นประกอบด้วย

1. การให้คำแนะนำแก่ศัตรูเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เมื่อวะลีด บุตรของอุตบะฮฺ เจ้าเมืองมะดีนะฮฺ ยื่นข้อเสนอให้ท่านอิมาม (อ.) ว่า จำเป็นต้องให้สัตยาบันกับยะซีดโดยปฏิบัติไปตามคำสั่งของยะซีดอย่างเคร่งครัด ท่านอิมาม (อ.) อ้างเหตุผลกับเขาว่า พวกเราคืออะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งท่านกล่าวเสมอว่า ตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺฮะรอม (ไม่อนุมัติ) สำหรับบุตรหลานของอบูซุฟยาน ดังนั้น จะให้ข้าให้สัตยาบันกับยะซีดได้อย่างไร ขณะที่ศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวถึงพวกเขาไว้เช่นนี้[1]

เช่นเดียวกันขณะที่ท่านอิมาม (อ.) เผชิญหน้ากับกองทัพของฮุร ท่านได้กล่าวแนะนำเพื่อเป็นการตักเตือนพวกเขา[2] หรือขณะที่ท่านเผชิญหน้ากับอุมัร บิน สะอฺดฺ ในแผ่นดินกัรบะลาอฺ อันดับแรกท่านจะกล่าวแนะนำและตักเตือนพวกเขาก่อน[3]

2. การหลีกหนีความตายที่ไร้ประโยชน์ (เปิดโอกาสให้กับศัตรู)

เมื่อผู้ปกครองมะดีนะฮฺตัดสินใจปฏิบัติตามคำสั่งของยะซีดกล่าวคือ ทำชะฮีดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)[4] ในวันนั้นเองท่านอิมามจึงเดินทางออกจากมะดีนะฮฺ เช่นกันขณะที่อิมามอยู่ในมักกะฮฺ เมื่อพวกเขาตัดสินใจสังหารชีวิตท่านและกองคาราวาน ท่านจึงเดินทางออกจากมักกะฮฺมุ่งหน้าไปยังอีรัก[5] ทันที ท่านอิมาม (อ.) ตอบคำถามของชายคนหนึ่งที่ถามว่า ทำไมท่านต้องเดินทางออกจากมะดนะฮฺด้วย ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า พวกเขาดูถูกฉันๆ อดทนต่อคำดูถูก พวกเขาต้องการทรัพย์สินของฉันๆ อดทน และเมื่อพวกเขาต้องการชีวิตของฉันๆ จะหนีพวกเขา[6]

จากคำพูดของท่านอิมามเข้าใจได้ว่า เมื่อใดก็ตามชีวิตของผู้ศรัทธาตกอยู่ในอันตรายไม่อนุญาตให้นิ่งเฉยหรืออดทนต่อหน้าผู้อธรรมอีกต่อไป ซึ่งปฏิกิริยาต่อต้านที่เบาที่สุดคือการอพยพ

ทำนองเดียวกันเมื่อท่านเผชิญหน้ากับกองคาราวานของโฮร หลังจากนั้นเผชิญหน้ากับอุมัร บินซะอัดในกัรบะลาอฺ ท่านกล่าวกับพวกเขาว่า ประชาชนชาวกูฟะฮฺเป็นผู้เชิญข้ามาที่นี่ แต่ถ้าสร้างความลำบากใจแก่พวกเจ้าข้ายินดีเดินทางกลับ[7] (หมายถึงท่านตัดสินใจหลีกเลี่ยงกับดักของศัตรูแต่พวกเขาไม่ยอม)

  3. การต่อสู้จนกระทั่งได้รับชะฮาดัต

เมื่อท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าการตักเตือนพวกเขาไม่เป็นผลต่อบรรดาข้าทาสบริพานแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ประกอบกับซะยีดเป็นคนต่ำทรามและฝ่าฝืนพระบัญญัติของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จึงไม่อนุญาตให้คำสัตยาบันกับพวกเขา อีกด้านหนึ่ง การหนีอำนาจของพวกเขาก็ถือว่าเป็นสิ่งไร้ประโยชน์เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นที่มักกะฮฺหรือกัรบะลาอฺ หรือที่ใดก็ตามพวกเขาต้องติดตามและไล่ล่าสังหารท่าน หรือบังคับให้ท่านมอบสัตยาบัน หรือไม่ก็สังหารทิ้งเสียทั้งหมดขณะที่จะเห็นว่าการเผชิญหน้ากับศัตรูวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ได้ต่อสู้กับพวกเขาจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า

لا والله لا اعطيكم بيدي اعطاء الذلیل و لا افر فرار العبید

ไม่ ข้าขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่าจะไม่ยอมให้สัตยาบัน กับบุคคลที่ต่ำทรามเด็ดขาด และข้าจะไม่หนีเยียงบ่าวที่ไร้ที่พึ่ง[8]

الاترون الحق لایعمل به و الباطل لا یتناهی عنه لیرغب المؤمن فی لقاء الله وانی لا اری الموت الا السعادة والحیاة مع الظالمین الا برما

พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าสัจธรรมมิได้ถูกปฏิบัติ ความชั่วร้ายมิได้ถูกห้ามปรามจนกระทั่งว่าผู้ศรัทธากระหายที่ได้พบกับอัลลอฮฺ (บนเงื่อนไขเช่นนี้) ข้าจึงเห็นว่าความตายนั้นคือความสุขถาวร ส่วนการมีชีวิตร่วมกับผู้อธรรมคือความอัปยศอดสู[9]
1.5 การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วอยู่ภายใต้แนวคิดแห่งการต่อสู้

บทบัญญัติของอิสลามกล่าวถึงการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วมีอยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่

1. การปฏิเสธด้วยหัวใจ หมายถึงเมื่อได้เห็นการกระทำที่ตนไม่ยอมรับหรือตนพิจารณาแล้วว่า การกระทำนั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อมีบุคคลหนึ่งได้กระทำจิตใจของตนก็ไม่ยอมรับการกระทำดังกล่าว แน่นอน ในกรณีเช่นนี้โดยปกติทั่วไปผลของมันจะปรากฏออกมาทางใบหน้า

2. การปฏิเสธด้วยคำพูด หมายถึงเมื่อใดที่ผู้ศรัทธาคนหนึ่งเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเขาจึงได้ว่ากล่าวตักเตือนผู้ฝ่าฝืนที่ได้กระทำการนั้น โดยเริ่มพูดกับพวกเขาด้วยคำพูดที่อ่อนโยน หรือกล่าวกับพวกเขาในที่ลับ หรือกล่าวตักเตือนเป็นการส่วนตัว และเมือไม่เป็นผลเขาจึงได้ว่ากล่าวอย่างรุนแรง

3. การลงมือปฏิบัติ หมายถึงการห้ามปรามการกระทำของผู้ฝ่าฝืนด้วยการแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน หรือขัดขวางการกระทำเหล่านั้นโดยขัดขวางมิให้มีการกระทำความเสื่อมเสียในขั้นตอนต่อไป

4. ตัดสินใจใช้กำลังเข้าต่อต้านหรือฆ่าสังหาร การกระทำในขั้นตอนนี้ถือเป็นระดับสุดท้าย ดังนั้น เมื่อจะปฏิบัติขั้นตอนนี้ได้ก็เมื่อการปฏิบัติในขั้นตอนก่อนหน้านี้ไม่เป็นผล แน่นอนว่า การตัดสินใจกระทำในขั้นตอนที่สี่อยู่ในการเลือกสรรของอิมาม (อ.) หรือวิลายะตุลฟะกีฮฺนั่นเอง ฉะนั้น บุคคลใดตัดสินใจจะกระทำการดังกล่าวจำเป็นต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง[10]

การยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ก็วางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว หมายถึงในความเป็นจริงแล้วท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้วางแผนด้านการเมืองและการต่อสู้กับศัตรูผู้อธรรมไว้บนหลักการของการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว ดังที่กล่าวไปแล้วถึงการกำชับความดีในขั้นที่สี่ จะเห็นว่าอันดับแรกท่านอิมาม (อ.) ได้ว่ากล่าวตักเตือนบรรดาข้าทาสบริพานของยะซีดผู้ปกครองฝ่ายอธรรม หลังจากนั้นท่านจึงตัดสินใจลงมือด้วยอาวุธ และทั้งหมดดังกล่าวเหล่านี้ก็วางอยู่บนพื้นฐานของขอบข่ายการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว ดังเช่น คำสั่งเสียที่ท่านกล่าวกับน้องชายของตนว่า

ارید ان امر بالمعروف وانهی عن المنکر

ข้าประสงค์ที่จะกำชับความดีงามและห้ามปรามความชั่วเท่านั้น[11]
1.6 การปฏิเสธไม่ยอมรับความตกต่ำด้านการเมือง

อีกประเด็นหนึ่งถือว่าเป็นบทเรียนด้านการเมือง ในการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กับบรรดาผู้กดขี้ก็คือ การไม่ยอมจำนนต่ออำนาจความอธรรมและความต่ำทราม ซึ่งสิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นอุดมการณ์และเป็นสาส์นที่มีความสลักสำคัญแห่งอาชูรอ อันถือได้ว่าเป็นจุดร่วมและเป็นแบบอย่างสำหรับบรรดาชีอะฮฺตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แน่นอนว่าการชี้นำของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ที่กล่าวว่า การตายอย่างสมเกียรตินั้นดีกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างอัปยศอดสูร่วมกับผู้ปกครองที่อธรรม[12]

ท่านอิมาม (อ.) มองเห็นว่าคุณงามความดีและความผาสุกนั้นซ่อนอยู่ในการเป็นชะฮาดัต ส่วนความอัปยศอดสูปะปนอยู่ในชีวิตที่ร่วมกับผู้ปกครองที่กดขี่[13] แน่นอน อุดมการณ์ดังกล่าวนี้คือธงชัยสำหรับผู้นำทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ผู้สกัดกั้นความเลวทรามมิให้เข้ามาใกล้พวกเรา

هیات مناالذلة[14]

ในแนวทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ความเจริญผาสุกนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับอำนาจเงินตรา หรือการมีชีวิตอยู่อย่างอิสรเสรีหรือความตาย ทว่าขึ้นอยู่กับเกียรติยศและความตกต่ำ ซึ่งวิสัยทัศน์ดังกล่าวท่านอิมาม (อ.) พยายามมอบเป็นของกำนัลแก่ประชาชาติทั้งหลาย หมายถึงวิสัยทัศน์ของบุรุษผู้มีความอิสรเสรีเมื่อเทียบกับความตาย เนื่องจากว่าความตายนั้นเป็นของทุกคนที่ไม่หลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นอยู่ที่ว่าอุดมคติแห่งความตายนั้นคืออะไร ในประเด็นดังกล่าวท่านอิมาม (อ.) ได้ให้นิยามใหม่แก่ความตายและการดำรงชีวิต และเปลี่ยนแปลงอุดมคติแห่งความตายให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ท่านพยายามสร้างความเข้าใจว่า ความตายซ่อนอยู่ในชีวิตร่วมกับบรรดาผู้อธรรม ส่วนชีวิตที่แท้จริงซ่อนอยู่ในการเป็นชะฮีด บนหนทางของพระเจ้า

1.7 การแสดงอำนาจและความตั้งใจจริงในการตัดสินใจ

หนึ่งในบทเรียนด้านการเมืองและการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือการแสดงจุดยืนด้านการเมืองและความจริงใจในการตัดสินใจ เช่น เมื่อท่านอิมาม (อ.) ได้เดินทางออกจากมะดีนะฮฺและมักกะฮฺ ท่านได้พาวงศ์วานของบนีฮาชิมร่วมเดินทางไปด้วย (ยกเว้นจำนวนเล็กน้อยเช่นมุฮัมมัดฮะนะฟีที่ป่วยอยู่ในขณะนั้น) ทว่าท่านได้นำเอาครอบครัวสตรีและเด็กๆ ร่วมเดินทางไปด้วย และบุคคลใดที่ตัดสินร่วมขบวนการกับท่านก็ได้ตัดสินใจร่วมทางกับท่านจนถึงบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิต[15] สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งคือ จะเห็นว่าท่านอิมาม (อ.) ได้เลือกเส้นทางหลักออกจากมะดีนะฮฺและมักกะฮฺแม้ว่าจะไม่มีความเหมาะสมก็ตาม และมีผู้กล่าวแนะนำท่านอย่างมากมายว่าให้เลือกเส้นทางลัด หรือเส้นทางที่สามารถหลีกเลี่ยงความตายได้เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับศัตรูและความตาย[16]

บางทีวิสัยทัศน์ของท่านอิมาม (อ.) อาจจะขึ้นอยู่กับประเด็นดังต่อไปนี้

1. ท่านอิมาม (อ.) ได้แสดงให้เห็นว่าท่านมิได้ต่อสู้เพียงลำพัง เนื่องจากท่านได้พากลุ่มชนที่พร้อมจะต่อสู้และเสียสละชีวิตร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่าน อีกทั้งครอบครัวและญาติสนิทก็ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านเช่นกัน และประกาศว่าจะต่อสู้ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านจนถึงวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต

2. ท่านอิมาม (อ.) แสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวเพื่อประกาศเตือนแก่บรรดาศัตรูว่า ข้าพร้อมที่จะเสียสละชีวิตบนหนทางของพระเจ้าพร้อมกับครอบครัวและมิตรสหายผู้จงรักภักดี

3. อีกด้านหนึ่งหลักการอิสลามกล่าวว่าการเดินทางตามลำพังนั้นเป็นมักรูฮฺ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางที่เพียบพร้อมไปด้วยอันตราย) ด้วยเหตุนี้เองท่านอิมาม (อ.) จึงไม่ต้องการที่จะเดินทางตามลำพัง

4. เมื่อท่านอิมาม (อ.) ได้ประกาศให้ทุกคนได้รับทราบว่าท่านได้ยืนหยัดต่อสู้กับการอธรรม เพื่อแสดงให้เห็นว่าการต่อสู้กับอธรรมนั้นเป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) ดังนั้น จะเห็นว่าข้อพิสูจน์ของอิมามได้สมบูรณ์แล้วสำหรับประชาชาติทุกคน
1.8 การวงแผนอันลุ่มลึกและความสำคัญของผู้นำด้านศาสนจักรและความจริง

อีกบทเรียนหนึ่งสำหรับการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมาม (อ.) คือ การวางรากฐานการต่อสู้ของผู้นำศาสนจักรในสังคม ดังที่อิมาม (อ.) กล่าวถึงเหตุในการเดินทางของท่านไปยังกัรบะลาอฺ (เนื่องจากประชาชนได้เขียนจดหมายถึงท่านว่าพวกเราไม่มีผู้นำ ดังนั้น การเดินทางของข้าก็เพื่อตอบข้อความต้องการของพวกเขา)[17]

หรือในสุนทรพจน์ของท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนทรพจน์ที่อิมาม (อ.) กล่าวถึงความยุติธรรม ความเหมาะสม และสิทธิ โดยกล่าวว่า

العامل بالکتاب و الاخذ بالقسط والدائن بالحق و الحابس نفسه علی ذات الله[18]

อิมามแห่งสัจธรรมได้แก่ผู้ที่ปฏิบัติตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ รับมาด้วยความยุติธรรม มอบคืนบนด้วยสัจธรรม และพึงปฏิบัติตนในอยู่ในครรลองของพระเจ้า

ในอีกที่หนึ่งจะเห็นว่าเป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) ต้องเดินทางให้พ้นไปจากผู้ปกครองที่อธรรมที่วางแผนจะสังหารตน[19]

แน่นอน การวางแผนของผู้นำแห่งสัจธรรมเมื่ออยู่ต่อหน้าของผู้นำแห่งความอธรรมเยี่ยงยะซีด (อันเป็นเหตุผลของการยืนหยัดต่อสู้) ฉะนั้น การให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวในทัศนะของท่านอิมาม (อ.) จึงถือว่าเป็นประเด็นที่มีความสลักสำคัญอย่างยิ่ง

ในความเป็นจริงความปรารถนาในชัยชนะของบรรดาอิมาม (อ.) และวิลายะฮฺถือเป็นพรมแดนสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาที่แท้จริงที่จะต้องแยกตนให้ออกห่างจากบรรดาผู้ปฏิเสธ และบรรดาผู้กลับกลอกทั้งหลาย

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้เองการปกครองจึงเป็นหน้าที่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) โดยชอบธรรม









อ้างอิง

[1] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 312                
[2] เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 335, 337, ตารีค ฏ็อบรียฺ 3 / 306, อัลฟุตูฮะฮฺ 5 / 87
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 387
[4]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 312 เล่ามาจากอะมาลีซะดูก
[5]  เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 319,321
[6]  อ้างแล้ว หน้า 357 อ้างจากแหล่งอ้างอิงที่แตกต่างกัน
[7]  เมาซูอะฮฺ สุนทรพจน์อิมามฮุซัยนฺ หน้า 382, 420 ตารีคฏ็อบรียฺ เล่ม 3 หน้า 31 อัลอิรชาด หน้า 227
[8]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 191
[9]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 192
[10]  ตะรีรุลวะซีละฮฺ ท่านอิมามโคมัยนี ริซาละฮฺต่างๆ ของมัรญิอฺ ในหมวดการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว
[11]  เมาซูอะฮฺกะลิมาต อัลอิมามฮุซัยนฺ หน้า 291
[12]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44  หน้า 192
[13] อ้างแล้วเล่มเดิมหน้า 192
[14]  เมาซูอะฮฺกะลิมาต อัลอิมามฮุซัยนฺ หน้า 423 - 425
[15]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 313 คัดลอกมาจากอะมาลี เชคซอดูก
[16]  เมาซูอะฮฺกะลิมาต อัลอิมามฮุซัยนฺ หน้า 300
[17] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 311, 312
[18] ฏ็อบรียฺ เล่ม 7 หน้า 235, อิรชาดมุฟี หน้า 204, มักตัลคอรัซมียฺ เล่ม 6 หน้า195, กามิล อิบนุอะซีร เล่ม 3 หน้า 267
[19]  เมาซูอะฮฺกะลิมาต อัลอิมามฮุซัยนฺ หน้า 377, อิฮฺกอกุลฮัก  เล่ม 11 หน้า 609


ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์