ปรัชญาเข้ามามีบทบาทในน่านฟ้าของมุสลิมในช่วงใด
  • ชื่อ: ปรัชญาเข้ามามีบทบาทในน่านฟ้าของมุสลิมในช่วงใด
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 0:47:57 14-10-1403

ปรัชญาเข้ามามีบทบาทในน่านฟ้าของมุสลิมในช่วงใด 


ตามทัศนะของอยาตุลลอฮมิศบาฮ์ ประเด็นนี้ควรมองเป็นสองด้าน ด้านแรกคือ ความคิดเชิงปรัชญาที่ศาสดาเผยแพร่ให้แก่มุสลิม กับ ยุคการแปลตำราปรัชญากรีกเข้าสู่โลกอิสลาม
 ในด้านแรก มุสลิมรู้จักความคิดเชิงปรัชญาจากท่านศาสดา และวงศ์วานของท่านนับตั้งแต่เริ่มแรกของการเผยแพร่คำสอน
ในด้านที่สองความรู้เชิงปรัชญาจากกรีกและเปอร์เซียถูกแปลเป็นภาษาอาหรับและได้รับการค้นคว้าเพิ่มเติมจนสมบูรณ์ โดยมีจุดประสงค์แฝงคือ ความพยายามของนักปกครองในการเผยแพร่ความเชื่อบางประการเพื่อหนุนหลังหรือเมินเฉยต่อระบบการปกครองของตนเอง
ด้วยสองเหตุผลความรู้เชิงปรัชญาและความรู้ในศาสตร์อื่นๆจึงเข้ามาสู่โลกของอิสลาม และได้ขยายวงกว้างขึ้นเนื่อง
ก) จากการแผ่อิทธิพลของอาณาจักรการปกครองแบบอิสลาม
ข) การแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการ
ค) การแปลหนังสือต่างๆเป็นภาษาอาหรับจนกลายเป็นห้องสมุดวิชาการ
5.1) ท่าทีของมุตะกัลลีมีนต่อปรัชญาอิสลามและผลลัพธ์
มุตะกัลลีมีน หมายถึง ผู้ที่นำเสนอแนวคิด หรือ มีบทบาทในทางวิชาการในวงการความเชื่อในศาสนา 
ในช่วงแรกท่าทีของมุตะกัลลีมีนเป็นไปในเชิงวิจารณ์ต่อปรัชญา และเพราะการแสดงท่าแสดงความเป็นปฏิปักษ์ จึงทำให้ฝั่งปรัชญาพยายามแก้ไข หรือ หักหล้างข้อคุลมเครือที่ถูกเสนอมาโจมตีปรัชญา กล่าวคือ ยิ่งปรัชญาถูกโจมตีมากเท่าใด ก็ยิ่งพัฒนามากเท่านั้น
5.2) ระบบปรัชญาชุดแรกในประวัติศาสตร์อิสลาม
ต้องเข้าใจก่อนว่า สามปรมาจารย์(อัลลามะอฺฏอบาฏออีย์และศิษย์ทั้งสองของท่านคือ อยาตุลลอฮมิศบาฮ์ และอยาตุลลอฮญะวาดีออมูลีย์ถือว่า แนวคิดเชิงปรัชญามีมาตั้งแต่มีมนุษย์แล้วไม่ใช่เพิ่งมามีในยุคกรีก สะท้อนอยู่ในดุอาของศาสดาอิบรอฮีม ในวัจนะของศาสดามูฮัมมัด อิมามอาลี และผู้ที่วัจนะของเขาถือเป็นข้อพิสูจน์ของเรา(ฮุญญัต))แต่หากจะสืบค้นว่า ปรัชญาถูกจัดวางเป็นระบบครั้งแรกในโลกอิสลามเมื่อไหร่ คำตอบที่เหมาะสมควรจะเป็น อบูนัศร์ฟารอบี และอบูอาลีซีนา เพราะจากหลักฐานประวัติศาสตร์ชี้ว่า องค์รวมของเนื้อหาที่ทั้งสองได้นำเสนอมีลักษณะเป็นระบบ ไม่ใช่เป็นเอกสารที่แยกย่อยและนำเสนอเพียงประเด็น ในระบบปรัชญาที่ทั้งสองท่านนำเสนอ ครอบคลุมความคิดของเพลโต,อริสโตเติล,นิโอพลาโตและทัศนะของอาริฟ-ซูฟีย์ฝั่งตะวันออกอยู่ในนั้นด้วย 
5.3) ค่านิยมเชิงปรัชญาที่สำคัญ ในวงวิชาการปรัชอิสลามในช่วงก่อนมุลลาศอดรอ
ค่านิยมเชิงปรัชญาที่สำคัญก่อนยุคมุลลาศอดรอ มีสองสำนักได้แก่
ก) ฟัลซาเฟะฮ์ มะชาอ์ คือ การนำเสนอปรัชญาในกรอบเนื้อหาของอริสโตเติล หรือ พัฒนาเนื้อหาโดยมีทัศนะของอริสโตเติลเป็นจุดตั้งต้น บุคคลที่เป็นผู้ก่อตั้งหรือถือได้ว่ามีบทบาทในการก่อตั้งสำนักคิดได้แก่ อบูนัศร์ฟะรอบี และอิบนุซีนา
ข) ฟัลซาเฟะฮ์ อิชรอก คือ การนำเสนอปรัชญาในกรอบเนื้อหาของเพลโต หรือ พัฒนาเนื้อหาโดยมีทัศน์ของเพลโตเป็นจุดตั้งต้น บุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการก่อตั้งคือเชคอิชรอก โดยเขาได้นำปรัชญาเปอรเซียโบราณมาเทียบกับความคิดทั้งฝั่งเพลโต
5.4) สำนักคิดทางปรัชญาที่มีความสำคัญที่สุดในโลกอิสลาม ณ ปัจจุบัน 
สำนักปรัชญาที่มีความสำคัญที่สุดในโลกวิชาการอิสลาม คือ สำนักปรัชญาฮิกมัตมุตะอาลีย์ ของมุลลาศอดรอ ในสำนักนี้เป็นการผสานกันระหว่าง ปรัชญามะชาอฺและอิชรอกและยังมีความคิดที่ริเริ่มจากการรวมอิรฟานและวิวรณ์มานำทางปรัชญาด้วยเช่นกัน

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา