ยุครุ่งเรืองของปรัชญา
4.1) ปรัชญาในความหมายขั้นต้นและความหมายทั่วไปในยุคเริ่มแรก
ปรัชญาในยุคต้นครอบคลุมความหมายของ
1)ความรู้ภาคทฤษฎี ได้แก่
ก) ฏอบีอียาต (ธรรมชาติศึกษา) ประกอบด้วย สรีระวิทยา,จักรวาลวิทยา,ศึกษาในเรื่องแร่ธาตุ,พืช และสัตว์
ข) คณิตศาสตร์ การคำนวณ เรขาคณิต ดนตรี
ค) อิลาฮียาต (เทววิทยา) กฎของภวันต์ อภิปรัชญา,เทววิทยา
2)ความรู้ภาคปฏิบัติ ได้แก่
ก) จริยศาสตร์ (เชิงปัจเจก)
ข) การครองเรือน (การบริหารจัดการครอบครัว)
ค) รัฐศาสตร์ (ว่าด้วยสังคม)
ปรัชญาเข้ามามีบทบาทในน่านฟ้าของมุสลิมในช่วงใด
ตามทัศนะของอยาตุลลอฮมิศบาฮ์ ประเด็นนี้ควรมองเป็นสองด้าน ด้านแรกคือ ความคิดเชิงปรัชญาที่ศาสดาเผยแพร่ให้แก่มุสลิม กับ ยุคการแปลตำราปรัชญากรีกเข้าสู่โลกอิสลาม
ในด้านแรก มุสลิมรู้จักความคิดเชิงปรัชญาจากท่านศาสดา และวงศ์วานของท่านนับตั้งแต่เริ่มแรกของการเผยแพร่คำสอน
ในด้านที่สองความรู้เชิงปรัชญาจากกรีกและเปอร์เซียถูกแปลเป็นภาษาอาหรับและได้รับการค้นคว้าเพิ่มเติมจนสมบูรณ์ โดยมีจุดประสงค์แฝงคือ ความพยายามของนักปกครองในการเผยแพร่ความเชื่อบางประการเพื่อหนุนหลังหรือเมินเฉยต่อระบบการปกครองของตนเอง
ด้วยสองเหตุผลความรู้เชิงปรัชญาและความรู้ในศาสตร์อื่นๆจึงเข้ามาสู่โลกของอิสลาม และได้ขยายวงกว้างขึ้นเนื่อง
ก) จากการแผ่อิทธิพลของอาณาจักรการปกครองแบบอิสลาม
ข) การแลกเปลี่ยนทัศนะของนักวิชาการ
ค) การแปลหนังสือต่างๆเป็นภาษาอาหรับจนกลายเป็นห้องสมุดวิชาการ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา