มุมมองชาวสุนนะฮ(บางกลุ่ม)เรื่องผู้นำ
เรียบเรียง: เชคยูซุฟ เพชรกาหรีม
อุลมาชาวซุนนะฮ์บางกลุ่มมีความเชื่อในเรื่องผู้ปกครองหรือผู้นำ(อิมาม)ภายหลังจากท่านนบี ศ.ว่าเขาจะต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้จึงจะเป็นอิมามผู้นำประชาติได้
1- จะต้องมีองค์ความรู้ในทุกๆเรื่องเพื่อนำพาสังคมได้ กล่าวคือเขาจะต้องมีความรอบรู้ในทุกๆด้าน เพราะหากเป็นอิมามแต่ปราศจากสิ่งนี้แล้วนั้นก็จะไม่สามารถปกป้องหรือนำพาอิสลามให้รอดพ้นจากภัยอันตรายได้เลย
2-จะต้องมีความกล้าหาญและไม่ขี้ขลาดตาขาว โดยเฉพาะเมื่ออยู่ต่อหน้าศรัตรูจะต้องมีความทนงไม่อ่อนแอและจะไม่ปล่อยให้อิสลามตกอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลการควบคุมของศรัตรูเป็นอันขาด
3-เขาจะต้องมีใจที่เป็นธรรมรักความเป็นกลาง หากขาดสิ่งนี้ไป ก็ไม่สามารถที่จะเป็นผู้นำใครได้เลย
นี่คือคุณลักษณะสามอย่างเบื้องต้นที่ผู้เป็นอิมามนั้นจะต้องมี
#ต่อนี่ไปไปดูว่าความแตกต่างของบรรดาศอฮาบะฮในยุคก่อนระหว่างท่านอลี อิบนิ อบี ฏอลิบ กับท่านอบูบักร อัศ ศิดดีก(ซึ่งทั้งสองต่างเป็นผู้นำอิสลามในยุคนั้น)ถูกระบุไว้ในตำราของชาวสุนนะฮ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?! และใครที่มีองค์ประกอบทั้งสามอย่างมากกว่ากัน?
#ในเรื่องขององค์ความรู้หลายๆครั้งท่านนบี ศ.ได้ยืนยันถึงความรู้ของท่านอลี อ.เอาไว้เช่นฮะดิษบทหนึ่งที่ว่า:
أنا مدينة العلم و علي بابها.
"ฉันคือนครแห่งความรู้ ส่วนอลีคือประตูของมัน"
อ้างอิง:
المستدرك الصحيحين للحاكم النيشابوري، ج3، ص126 ـ المعجم الكبير للطبراني، ج11، ص55 ـ أسد الغابة لإبن الأثير، ج4، ص22
หรือท่านอิบนี อับบาส ท่านได้กล่าวเรื่องนี้ว่า:
و ما علمي و علم اصحاب محمد في علم علي إلا کقطرة في سبعة أبحر.
"ความรู้ของพวกเราเปรียบดังหยดหนึ่งของน้ำ ส่วนความรู้ของท่านอลีนั้นเปรียบดังหยดน้ำของเจ็ดทะเล"
อ้างอิง:
حُلية الأولياء لأبو نُعِيم، ج1، ص65
พระนางอาอิชะฮภรรยาของท่านนบีกล่าวว่า:
علي أعلم الناس بالسنة.
"อลี คือผู้มีความรอบรู้มากที่สุดในหมู่ประชาชาติโดยเฉพาะในเรื่องของสุนนะฮ์"
อ้างอิง:
الإستيعاب لإبن عبد البر، ج3، ص1104 ـ تاريخ الخلفاء للسيوطي، ص115 ـ التاريخ الكبير للبخاري، ج2، ص255 ـ تاريخ مدينة دمشق لإبن عساكر، ج42، ص408
หรือท่านฮากิม นีชาบูรีย์ ท่านกล่าวว่าในประวัติศาสตร์เฉพาะท่านอลีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่กล้าพูดประโยคนี้ที่ว่า:
سلوني قبل أن تفقدوني.
"สิ่งใดที่พวกท่านต้องการ(อยากจะรู้)ให้ถามฉัน"
อ้างอิง:
المستدرك الصحيحين للحاكم النيشابوري، ج2، ص352 و 466
หรือท่านนะวาวีย์เองท่านยังกล่าวเรื่องนี้ไว้ว่า"ในประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกเรื่องนี้ไว้ว่าบรรดาสาวกทั้งหลายได้มาใช้ประโยชน์จากความรู้ของท่านอลีและเมื่อพวกเขามีคำถามอะไรพวกเขาก็จะถามท่านอลีในทางกลับกันประวัติศาสตร์ไม่เคยมีเลยสักครั้งที่บันทึกไว้ว่าอลีได้ถามปัญหาจากสาวกในสิ่งที่เขาไม่รู้"
อ้างอิง:
تهذيب الأسماء و اللغات للنووي، ج1، ص317
และเรื่องนี้ท่านอุมัร อิบนิ ค็อฏฏอบ เองท่านยังกล่าวว่า:
لو لا علي لهلک عمر.
"หากไม่มีอลี(แก้ปัญหาในบางเรื่อง)อุมัรเองก็จะพบกับความวิบัติ"
อ้างอิง:
الاستيعاب لإبن عبد البر، ج3، ص1103 ـ المناقب للخوارزمي، ص81 ـ نظم درر السمطين للزرندي الحنفي، ص130 ـ المواقف للإيجي، ج3، ص627 ـ شرح المقاصد في علم الكلام للتفتازاني، ج2، ص294
นี่คือองค์ความรู้ของท่านอลีที่ถูกยืนยันไว้โดยท่านนบี ศ.และจากบรรดาสาวกหลายๆท่าน ต่อไปไปดูองค์ความรู้ของท่าน อบูบักร์ และท่านอุมัรกันบ้างว่ามีการยืนยันในเรื่องนี้กันบ้างไหม?!
อิบนิ อะบีชัยบะฮ กล่าวว่า:
เมื่อพวกเขา(ประชาชาติ)ได้มาถามอายะฮ์นี้จากท่านอบูบักร์เพื่อให้ท่านได้อธิบาย
وَ فَاكِهَةً وَ أَبًّا (سوره عبس/آيه31)
ว่า มีความหมายเช่นไร? เขา(อบูบักร์)ตอบว่า ฉันไม่รู้!!
อ้างอิง:
المصنف لإبن أبي شيبة الكوفي، ج7، ص180
และคำถามนี้ก็ได้ถามจากท่านอุมัรด้วยเช่นกัน แต่คำตอบที่ได้รับนั่นก็คือ ฉันฉันไม่รู้!!.
หรืออีกหลายๆกรณีที่บ่งถึงความไม่รู้และไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งของพวกเขา และสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ในประวัติของพวกเขา
#ความแตกต่างในเรื่องของความกล้าหาญระหว่างท่านอลีกับอบูบักรและอุมัร
ชาวคริสเตียนในยุคนั้นต่างก็ยอมรับในความกล้าหาญของท่านอลีพวกเขาต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า
"ในประวัติศาสตร์ไม่มีบุคคลใดที่กล้าหาญไปกว่าท่านอลีอีกแล้ว และในวันข้างหน้าก็ไม่ใครที่สามารถมาเปรียบเทียบกับท่านได้"
และท่านอุมัรเองก็กล่าวเรื่องกล้าหาญของท่านอลีไว้ดังนี้ว่า:
لولا سيف علي لما قام عمود الإسلام.
"หากไม่เป็นเพราะดาบ(ความกล้าหาญ)ของท่านอลีแล้วอิสลามก็ไม่สามารถที่จะยืนหยัดขึ้นมาได้.
อ้างอิง:
شرح نهج البلاغة لإبن أبي الحديد، ج12، ص82
ในตำราชาวสุนนะฮบันทึกเรื่องความกล้าหาญของท่านอลีไว้ว่า:
لمبارزة علي بن أبي طالب لعمرو بن عبد ود يوم الخندق أفضل من اعمال أمتي إلى يوم القيامة.
"การต่อสู้ของท่านอลีกับอัมร บิน อับดูด ในวันคอนดักนั้นมีความประเสริฐกว่าการงานทั้งหมดของประชาติจนถึงวันกิยามัต"
อ้างอิง:
المستدرك الصحيحين للحاكم النيشابوري، ج3، ص32 ـ شواهد التنزيل للحسكاني، ج2، ص14 ـ تاريخ بغداد للخطيب البغدادي، ج13، ص19 ـ تاريخ مدينه دمشق لإبن عساکر، ج50، ص333
หรือในเรื่องราวของสงครามคัยบัร พวกเขาได้บันทึกไว้ว่า:
"ท่านศาสดา ศ.ในวันนั้นได้มอบธงรบแก่คอลีฟะฮท่านแรก(อบูบักร์)เพื่อให้เป็นหัวหน้าในการออกรบพวกเขาออกไปและได้รับความผ่ายแพ้กลับมา จากนั้นท่านก็ได้มอบธงรบแก่อุมัรพวกเขาออกไปทำสงครามและก็ได้รับความผ่ายแพ้กลับมาเช่นกัน จนทำให้ท่านนบีไม่พอใจในผลงานเป็นอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าพรุ่งนี้ท่านจะมอบธงผืนหนึ่ง(ธงรบ)ให้แก่ชายผู้หนึ่งที่อัลลอฮและรอซูลรักเขา และเขาก็รักอัลลอฮและรอซูลไม่แพ้กัน และเขาจะไม่มีวันที่จะหันหลังให้กับศรัตรูเป็นอันขาด เมื่อพรุ่งนี้มาถึงปรากฏว่าท่านนบี ศ.ก็ได้มอบธงรบผืนนั้นแก่ท่านอลี เขาก็ได้นำธงออกไปสู้รบและได้รับชัยชนะกลับมาในที่สุด"
อ้างอิง:
المصنف لإبن أبي شيبة الكوفي، ج7، ص497 - السنن الكبرى للنسائي، ج5، ص109 ـ كنز العمال للمتقي الهندي، ج13، ص121 ـ إمتاع الأسماع للمقريزي، ج11، ص280 ـ دلائل النبوة للبيهقي، ج4، ص212
ไปดูถึงความกล้าหาญของท่านอบูบักรและท่านอุมัรกันบ้างที่ประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้
อับดุลกะรีม นักเทศนาชาวมิศรีย์(อียิบ) ท่านกล่าวประโยคหนึ่งว่า:
فأبوبكر لم يعرف عنه أنه كان ذا مكانة معروفة في مواقع القتال.
"ในสงครามแห่งประวัติศาตร์ไม่มีเลยสักกรณีที่บันทึกถึงความกล้าหาญของสองท่านเอาไว้"
และอีกหนึ่งในนักปราชญ์แห่งชาวสุนนะฮได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ในช่วงเวลายี่สิบสามปี(แห่งการเผยแพร่)ไม่มีครั้งใดเลยที่อบูบักรและอุมัรพิสามารถชิตชัยชนะในการสู้รบ"
ท่านตัยมียะฮ์ หัรรอนีย์ได้กล่าวถึงความกล้าหาญระหว่างท่านอลีกับท่านอยู่บักรไว้ว่า"ความกล้าหาญแบ่งออกเป็นสองประเภทหนึ่งในนั้นคือความกล้าหาญในเชิงรบจับอาวุธมุ่งสู่สนามรบ(เพื่อปกป้องอิสลาม)และอีกหนึ่งคือการไปสู่มัสยิดเพื่อวอนขอต่อพระองค์ให้ศรัตรูอิสลามต้องพบกับความมลาย และความกล้าหาญของอบูบักรอยู่ในประเภทที่สอง และท่านอิบนิตัยมียะฮก็ไม่ได้พบถึงประวัติศาสตร์ที่บ่งถึงความกล้าหาญของท่านอบูบักร"
ในสงครามอุหุด ท่านอุมัรเองได้กล่าวว่า:
ففررت، حتى صعدت الجبل، فلقد رأيتني أنزو كأنني أروى.
"ฉันคือคนหนึ่งที่หนี(ในสงคราม)และด้วยความกลัวที่มีต่อศรัตรูในวันนั้นฉันเหมือนดั่งแพะภูเขาตัวหนึ่งที่ได้วิ่งหนีขึ้นไปบนบนยอดเขานั้น"
อ้างอิง:
الدر المنثور للسيوطي، ج2، ص88 ـ كنز العمال للمتقي الهندي، ج2، ص376 ـ جامع البيان لإبن جرير الطبري، ج4، ص193 ـ المحرر الوجيز في تفسير الكتاب العزيز لإبن عطية الأندلسي، ج1، ص529
และในสงครามบะดัรจะเห็นได้ว่าประวัติศาตร์ได้บันทึกอย่างชัดเจนถึงความกล้าหาญและความแข็งแกร่งของท่านอลีสามสิบคนจากบรรดาศรัตรูกับท่านอลีเพียงคนเดียวท่านสามารถสู้ได้อย่างสบายแต่ในส่วนของท่านอบูบักรและท่านอุมัรเขาทั้งสองได้ทิ้งผลงานอะไรไว้ในสงครามบะดัรและสงครามอุนัยน์?! (เรื่องนี้ใครที่เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์คงรู้ดี)
ฉนั้นถ้าจะเอาความกล้าหาญมาเป็นตัวชี้วัดในการเป็นอิมามผู้นำแล้วนั้นท่านอลีถือว่าเป็นบุคคลที่กล้าหาญมากที่สุดในหมู่บรรดาสาวกและท่านเป็นบุคคลแรกที่ยืนเคียงข้างท่านนบี ศ.มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มแรกแห่งการเผยแพร่โดยที่ไม่ใครทำได้เหมือนท่านเลย
#มาดูในเรื่องของความเป็นธรรมกันบ้าง
สำหรับท่านอลีแล้วนั้นท่านนะบี ศ.ได้กล่าวไว้มากมายถึงเรื่องนี้ยกตัวอย่างเช่น
کفي و کف علي في العدل سواء.
"ความเป็นธรรมของลี(ยืนหยัดบนความเป็นธรรม)เปรียบดังความเป็นธรรมของฉัน"
อ้างอิง:
كنز العمال للمتقي الهندي، ج11، ص604 ـ تاريخ بغداد للخطيب البغدادي، ج5، ص240 ـ ميزان الاعتدال للذهبي، ج1، ص146 - لسان الميزان لإبن حجر، ج1، ص287
หรืออื่นๆที่ตำราในประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ท่านสามารถไปศึกษาเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวได้
จึงสรุปได้ว่า เมื่อตำแหน่งผู้นำ(อิมาม)แห่งประชาชาติตามมุมมองของชาวสุนนะฮที่บ่งบอกไว้สามคุณลักษณะข้านต้น พวกท่านลองพิจรณากันดูซิว่า ใครคือผู้ที่มีคุณสมบัติตามลักษณะทั้งสามมากที่สุด?!!!