ศึกษาปรัชญาอิสลาม
  • ชื่อ: ศึกษาปรัชญาอิสลาม
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 14:56:1 1-9-1403

ศึกษาปรัชญาอิสลาม


สรุปบทที่ 3 ย้อนรอยเส้นทางความคิดเชิงปรัชญา ยุคสองศตวรรษปัจจุบัน


หัวข้อ กลุ่มสำนักคิดที่มีบทบาทสำคัญในช่วงสองศตวรรษล่าสุด


1.โรแมนติกและวิธีการของโรแมนติก 

 

เป้าหมายหลักของปรัชญาโรแมนติกและวิธีการที่พวกเขาใช้คืออะไร ?


คำตอบ หลังยุคคานท์ มีนักปรัชญาเยอรมันกลุ่มหนึ่งพยายามชดเชยจุดอ่อนในทางปรัชญาของพวกเขาโดยอาศัยอิรฟานเป็นตัวแก้ ประโยคมักขึ้นต้นว่า
“นี่คือความคิดส่วนตัวของเรา"
จากนั้นคนกลุ่มนี้ตะใช้บทกวีและวาทศิลปะในการบรรยายเกี่ยวกับภวันต์และการอุบัติของสรรพสิ่งอันหลากหลาย(กิซรัต کثرت)จากเอกภาพ(วะฮ์ดัต وحدت) ในเวลาต่อมาพวกเขาถูกรู้จักในนาม นักปรัชญาโรแมนติก
คำถามย่อย : การเคลื่อนไหวของพวกเขานำไปสู่สิ่งใด ?


คำตอบ : นำไปสู่ความคิดในการเรียกร้องเสรีภาพ  ชางโรแมนติกค่อยๆแสดงตัวในฐานะ จิตนิยม(อิศอลัตรุฮ์) จะถือว่าเป็น ไอเดียลิสม์ประเภทหนึ่งก็ได้เช่นกัน 


ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมความคิดนี้เดินทางมาสู่แนวคิดเรื่องจิตของเฮเกล มันได้ถูกสร้างขึ้นเป็นความคิดหนึ่งที่มีระบบและมีชื่อว่า ไอเดียลิสม์อย่างเป็นทางการในภายหลัง
คำถามย่อย : เฮเกลพูดเรื่องอะไร ? 


คำตอบ : พูดหลายเรื่อง เฮเกลเป็นหนึ่งในคนที่งานของเขานั้นนับว่าอ่านยากที่สุดในวงการปรัชญาอีกคนหนึ่ง คนที่อ่านงานของเขาตีความความคิดของเขาไว้อย่างหลากหลาย บ้างก็ตีความไปในทางที่ขัดแย้งกันไปเลย เฮเกลแต่ที่มีชื่อเสียงสองเรื่อง (อ.มิศบาฮ ต้องการให้เราพอรู้จักเฮเกลเท่านั้น ไม่ได้ต้องการเขียนหนังสือเกี่ยวกับเฮเกล จึงนำเสนอสองเรื่องสำคัญไว้) ได้แก่


ก) จิตนิยมสมบูรณ์
 เฮเกล มาทำให้ จิตนิยมขึ้นสูจุดสูงสุด เขาได้ยกให้เห็นว่า ทุกสิ่งอย่างขึ้นอยู่กับจิต ตามจิตเป็นไปตามจิต แต่จิตนี้ไม่ใช่จิตของเราเอง แต่คือ จิตที่ในวงปรัชญาอิหร่าน แปลและเรียกคำดังกล่าวว่า รูฮุลมุฏลัก หรือ จิตนิยมสมบูรณ์ 


หากจะสรุปว่าจิตสมบูรณ์คืออะไร อาจกล่าวในประโยคหนึ่งได้ว่า 
"ใดๆในโลกล้วนเป็นความคิดของจิตสมบูรณ์"


ระหว่างจิตสมบูรณ์กับสิ่งในโลก ไม่ได้สัมพันธ์กันแบบเหตุปัจจัย(อิลลัต มะลูล)แต่สัมพันธ์กันแบบ ตรรกะและการออกฮุกุ่ม,ถดถอยจากเอกภาพและขยายสู่พหุภาพ(จากวะฮ์ดัตสู่กิซรัต) โดยขั้นตอนคือในขั้นแรก ภวันต์จะถูกจัดวางไว้ตรงข้ามกับอภวันต์ อภวันต์ตัวนี้เกิดจากภายในภวันต์ จากนั้นมันจะผสมผสานกัน และกลายเป็นไอเดียใหม่ ที่รวมระหว่าง ภวันต์กับอภวันต์ และพอตัวใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว ตัวใหม่จะกลายเป็นภวันต์ในลำดับถัดไป


ข) วิภาษวิถี 
3.ออกูส กองค์ โพซิทีวิสม์(ซูบูต) ประสบการณ์นิยมแบบเลยเถิด


ก)สามขั้นของพัฒนาการการค้นคว้าแบบ Positivism


 ขั้นที่หนึ่ง คือ การอ้างว่า ความคิดของมนุษย์ในเรื่องเหตุปัจจัยถูกนำไปโยงใยกับเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า    เรียกขั้นนี้ว่า ขั้นศาสนา 
ขั้นที่สอง คือ การอ้างว่า ความคิดของมนุษย์พัฒนา(ตามที่เขาว่า)และทำความเข้าใจปรากฎการต่างๆในธรรมชาติแบบใช้เหตุผล เรียกขั้นนี้ว่า ขั้นปรัชญา
ขั้นที่สาม คือ การหาคำตอบทุกอย่างภายใต้กระบวนการพิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์ เรียกขั้นนี้ว่า Positive ที่แลว่าพิสูจน์ไม่ใช่ บวก


ข)ออกูส กองค์ มาเพื่อบอกว่า  ปรัชญา กับ ศาสนา ไม่ใช่ความรู้ เพราะพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์


สรุปจากหนังสือ ออมูเซชฟัลซาเฟะฮ์ของอยาตุลลอฮ มิศบาฮ ยัซดี


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา