ความเป็นไปได้ในญาณวิทยา
  • ชื่อ: ความเป็นไปได้ในญาณวิทยา
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 18:47:55 24-7-1403

ความเป็นไปได้ในญาณวิทยา

 

ความเป็นไปในญาณ หรือ ความเป็นไปได้ในความรู้ 
คือ การค้นหาคำตอบว่า “ความรู้” เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับมนุษย์หรือไม่ หรือ การที่ประสาทสัมผัสผิดพลาด ความคิดผิดพลาด เป็นหลักฐานบ่งบอกว่าทุกอย่างที่มนุษย์รู้นั้นอาจจะผิดพลาด อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ไม่จริงเสมอไป ตลอดจนไปถึงขั้นว่า เรื่องที่มนุษย์เรารู้นั้นไม่มีอะไรแน่นอน หรือ ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นเลย?
 บางคนบอกว่า เราอาจรู้อะไรบ้าง ไม่ใช่ไม่มีทางรู้อะไรเลย แต่ที่รู้ คือ เรื่องที่ไม่แน่นอน เชื่อถือไม่ได้เสมอไป แต่จริงไปแล้ว ไม่ใช่เช่นนั้นเลย ก่อนที่เราจะไปดูคำตอบของ อ.มิศบาฮ ท่านได้แนะนำให้เรารู้จักกลุ่มต่างๆที่อยู่ทางฝั่ง โซฟิสต์ใน 2.2
 2.2) ทำความรู้จักกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในทางญาณ และให้ความเห็นไปในทางลบ 
 ก)โซฟิสต์ และ ชัก กะรออีย์ (شک گرائی) 
โซฟิสต์ มีทั้งที่ปฏิเสธและกังขา ในเรื่องภวันต์ สัต รวม(وجود) และมีที่กังขาในเรื่องญาณ(علم)ด้วย 
 ในพจนานุกรมอังกฤษไทยปรัชญา ได้นิยาม Sophism ว่า ลัทธิโสฟิสต์ : มีความหมายได้ 2 อย่างที่แตกต่างกัน 
กล่าวคือในคำนิยามสมัยใหม่ (จากเพลโท) ลัทธิโสฟิสต์ คือ การให้เหตุผลแบบคล้ายสมเหตุสมผลที่ใช้เพื่อการหลอกลวงบางคน 
ในกรีซโบราณ นักลัทธิโสฟิสต์คือ ครูอาจารย์ประเภทหนึ่ง  ผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือของปรัชญาและวาทศิลป์เพื่อวัตถุประสงค์ของการสอนการบรรลุศักยภาพของมนุษย์ขั้นสูงสุด อันได้แก่ ความเป็นเลิศหรือคุณธรรมที่ครอบงำจิตใจของรัฐบุรุษและหนุ่มชนชั้นสูงในยุคสมัยนั้น การจ่ายค่าตอบแทนเพื่อการศึกษาและการมอบปัญญาให้เพียงเฉพาะผู้สามารถจ่ายค่าสอนอันนำไปสู่การประนามของเพลโท (ฝั่งเพลโตประนามโซฟิสต์ว่าพวกนี้สอนเพราะหิวเงิน) อริสโตเติล และแอริสทาเฟอนิซ 
นักลัทธิโสฟิสต์ ถูกดูถูกดูแคลนโดยนักปรัชญาทั้ง 3 ว่าเป็นการสอนเพื่อค่าจ้างเท่านั้น คำสอนของพวกเขาเป็นเรื่องการปฏิบัติมากกว่าจริยธรรม และพวกเขาก็เน้นวาทศิลป์มากกว่าคุณธรรม   โดยเฉพาะพบในเมฆ(The clouds)แอริสทาเฟอนิซ ซึ่งเห็นว่าลักษณะอาชีพของพวกเขานั้นเป็นการตบตาหรือการหลอกลวง 
ดังนั้นคำว่าลัทธิโสฟิสต์  จึงหมายถึงการตบตาหรือการหลอกลวง เพราะนักลัทธิโสฟิสต์ สอนศิษย์ให้ใช้เหตุผลแบบข้างๆคูๆทั้งที่เป็นผู้กล่าวร้าย ลัทธินี้ก็ได้รับการจ่ายค่าสอนและการยอมรับในระยะสั้นๆและยังมีอภิสิทธิ์พลเมืองส่วนหนึ่งด้วย 
คำว่า ลัทธิโสฟิสต์ มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีก sophisma มาจาก sophizo แปลว่า 
#ข้าคือคนฉลาด เทียบเคียงกับ sophistēs แปลว่า #ผู้กอปรกิจด้วยปัญญา และ sophós แปลว่า คนฉลาด บัณฑิต ปราชญ์ ลัทธิโสฟิสต์ Sophists โสฟิสต์,นักลัทธิโซฟิสต์ แต่เดิมหมายถึงครูบาอาจารย์ ผู้บรรยาย และนักเขียนอาชีพในกรีซ(ศตวรรษที่ ๕ ก่อน ค.ศ.) ผู้ให้การศึกษาผ่านการบรรยาย และรับค่าตอบแทนจากผู้ฟัง คำนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเคารพ วิชาที่พวกเขาสอนครอบคลุมกว้างขวาง อาทิ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ แต่เป้าหมายที่สำคัญกว่าของพวกเขาคือ
#การฝึกฝนคนหนุ่มที่ร่ำรวยให้ประสบความสำเร็จในชีวิตสาธารณะ ซึ่งพวกเขาเรียกว่า “คุณธรรม”
 เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้พวกเขาจึงรวมเอาการสอนวาทศาสตร์ ศิลปะ การพูดต่อหน้าสาธารณะไว้ในหลักสูตรของพวกเขาพอประมาณ โพรแทกอรัสแห่งแอบเดอราน่าจะเป็นคนแรกและมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาคนตั้งชื่อตนเองว่า โสฟิสต์”
 ส่วนกอร์จีอัสแห่งลีออนทินี ทุ่มเทในวิชาวาทศาสตร์ ศิลปะการพูดต่อสาธารณะเป็นพิเศษและแสดงตนต่อสาธารณะเพื่อประกาศแจ้งทักษะทางวาทศาสตร์ของพวกเขา อีกทั้งความสามารถในการให้เหตุผลเชิงโน้มน้าวใจ คือ สิ่งสำคัญพื้นฐานสำหรับความก้าวหน้าทางการเมือง การเมืองคืออาชีพเหนือสิ่งทั้งปวงในโลกโบราณซึ่งเสนออำนาจ ชื่อเสียง และทรัพย์สมบัติ โสฟิสต์สร้างความพอใจแก่ความต้องการอันจำเป็นในหมู่ผู้หัวสูงที่ใฝ่หาการศึกษาระดับสูงซึ่งไม่อาจหาได้ในที่อื่น ซึ่งสามารถปรับเข้ากับยุคสมัย รวมทั้งความรู้ใหม่ที่มีประสบการณ์มากและนำไปปฏิบัติได้ จึงไม่แปลกประหลาดที่โสฟิสต์ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ในหมู่ผู้ที่จัดเลี้ยงต้อนรับและรวบรวมทรัพย์สินเงินทองก้อนใหญ่มาให้พวกเขา 
โสฟิสต์เน้นความสำเร็จทางโลก และการสนับสนุนความคิดนี้ซึ่งสร้างความประทับใจชาวเอเธนส์อย่างยิ่งที่ว่า ความสามารถในการให้การและชนะคดีล้วนขึ้นอยู่กับทักษะซึ่งพวกเขาได้รับการสอนมากกว่ามูลเหตุแห่งคดีที่เป็นธรรม ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ใส่ใจในเรื่องการแสวงหาความจริง(วิภาษวิธี)อย่างมีวินัย
โซฟิสต์ที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆคือ 
โพรดิคัสแห่งศีออส , ฮิพพีอัสแห่งเอลิสและเธรสีย์เมคัสแห่งแคลเศอดอน 
กล่าวอย่างเหมาะสม แท้จริงแล้ว โซฟิสต์เองก็มีทัศนะแนวกังขาคติขั้นพื้นฐานในเรื่องความเป็นไปได้ของการรู้ความจริง ชื่อเสี้ยงอื้อฉาวอย่างยิ่งของพวกเขาคือ
 การอวดโอ้ความสามารถของตนในการ  ทำเหตุผลที่เลวที่สุดเป็นเหตุผลที่ดีกว่า
โดยทั่วไปเพลโท อริสโตเติล และแอริสทาเฟอนิซ ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับโซฟิสต์ และมองพวกเขาเป็น #พวกสิบแปดมงกุฎที่เน้นวาทศาสตร์มากกว่าความรู้บริสุทธิ์ พูดคุยโต้เถียงโดยมุ่งเพื่อชัยชนะเท่านั้น และการรับเงินจากการสอนของพวกเขา
 การตัดสินนี้ได้ผ่านเข้ามาสู่ประวัติศาสตร์และใช้คำว่า “โซฟิสต์” ในความหมายปัจจุบันใน ประวัติศาสตร์กรีซ(History of Greece,1846)ของนักประวัติศาสตร์คลาสสิกชาวอังกฤษ จอร์จ โกรท พยายามการป้องกันชาวโสฟิสต์ในด่านแรก โดยเน้นคุณูปการของโพรแทเกอรัสและกอร์จีอัสที่มีต่อทฤษฎีความรู้และต่อจริยศาสตร์ ปัจจุบันมักอ้างว่าบุคคลทั้งสองเป็นผู้บุกเบิกปฏิบัตินิยม(เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.852-854)
 ข) #สเคปติสทิสม์ เริ่มจากปฏิเสธญาณ 
ในพจนานุกรมปรัชญา Sceptic , Skeptic , Skepticism โดยคำหมายถึง การสืบค้น การตั้งคำถาม การไตร่ตรอง โดยสำนวนหมายถึง #นักกังขาคติ นักวิมตินิยม ทรรศนะทางปรัชญาที่ถือว่า #ความเป็นไปได้ของความรู้มีข้อจำกัด ถ้าไม่เนื่องจากข้อจำกัดของจิต ก็เนื่องจากการเข้าถึงสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้ การใช้อย่างหลวมๆ หมายถึง เจตคติในการตั้งคำถามโดยทั่วไป กังขาคติแบบสุดขั้วถือว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือความเป็นจริงเป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้.... 
กล่าวโดยสรุป
กังขาคติคือ 
๑ สำนักปรัชญาโบราณของพิร์โรแห่งอีลีสซึ่งเน้นความไม่แน่นอนของความเชื่อของเรา เพื่อที่จะค้านสิทธันตนิยม 
๒ คำสอนที่ว่า ความรู้สัมบูรณ์ คือ สิ่งเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าด้านเฉพาะหรือทั่วไป 
๓ วิธีวิทยาที่ตั้งอยู่บนข้อสมมติพื้นฐานเกี่ยวกับความสงสัย/วิจิกิจฉาที่มีจุดมุ่งหมายในการได้มาซึ่งความแน่นอนโดยประมาณหรือสัมพัทธ์ ; skepticism ให้ดู Phyrrhonisticism , Agnosticism ด้วย (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.795-796)
 ค)Agnostic (ลาอัดรีกะรอ)ที่ไม่รู้ ที่รู้ไม่ได้ นักอไญย หมายถึง
 ๑ บุคคลที่ยึดถือทรรศนะที่ว่าความจริงเป็นอันติมะ (อาทิ พระผู้เป็นเจ้า) เป็นสิ่งที่ไม่รู้และมิอาจรู้ได้ ความหมายอย่างกว้าง #ผู้ไม่เชื่อในการดำรงอยู่/การมีอยู่หรือการไมดำรงอยู่/การมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือเทพ 
๒ บุคคลที่ไม่ยอมเชื่อความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อาทิ นักอไญยทางการเมือง 
ส่วน Agnosticism อไญยนิยม คือ #ความเชื่อว่ามนุษย์ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอในการให้เหตุผล ไม่ว่าเพื่อการยืนยันหรือการปฏิเสธญัตติ/ประพจน์ คำนี้ถูกใช้โดยเฉพาะในการอ้างอิงการขาดความรู้ของเราเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระเป็นเจ้า 
นักอไญยนิยมถือว่าเราไม่อาจรู้ได้ว่า พระเป็นเจ้าดำรงอยู่จริงหรือไม่ ต่างจากนักอเทวนิยมที่ปฏิเสธว่าพระเจ้าดำรงอยู่จริง 
กล่าวโดยสรุป ๑ ในญาณวิทยา ความเชื่อว่ามนุษย์ไม่อาจเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับสาระสำคัญที่แน่นอนบางอย่างได้ ๒ ในเทววิทยา ความเชื่อว่ามนุษย์ไม่อาจเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าได้ (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.16-17)
 ง) นิสบีกะรออีย์ (نسبی گرائی) มีคำที่เกียวข้องกันได้แก่ relative , สัมพัทธ์ 
๑ ที่ไม่ดำรงอยู่ เป็นอยู่ หรือมีด้วยตนเอง แต่ต้องขึ้นอยู่กับหรืออาศัยสิ่งอื่น ตรงกันข้ามกับ absolute/สัมบูรณ์ 
๒ ที่สัมพันธ์กับสิ่งอื่นโดยเปรียบเทียบ อาทิ ช้า กับ เร็ว 
ส่วน Relativism สัมพัทธนิยม : ความเชื่อที่ว่า การตัดสินของมนุษย์ถูกกำหนดเงื่อนไขโดยสิ่งแวดล้อมทางสังคมเฉพาะของบุคคลเวลา หรือ สถานที่เฉพาะเสมอ นักสัมพัทธนิยมประชานถือว่า ไม่อาจมีความรู้สากลเกี่ยวกับโลก มีได้แค่การตีความโลกอย่างหลากหลาย นักสัมพัทธนิยมเชิงศีลธรรมถือว่า ไม่มีมาตรฐานสากลเกี่ยวกับคุณค่าทางศีลธรรม มีเพียงแค่บรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของสังคมเท่านั้น ขอให้ดู absolutism ประกอบด้วย (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.766)
 แม้ทั้งสี่กลุ่มจะมีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่มีความแตกต่างกันในแง่ของ อภิปรัชญา และ ญาณวิทยา มากนัก กล่าวคือ ในสองกลุ่มแรก คือ โสฟิสต์ กับ เสคปติสม์ มีความเห็นตรงกันตรงการปฏิเสธ สิ่งอื่น ต่างตรงที่ โสฟิสต์เน้นไปทางปฏิเสธการมีอยู่ ส่วน เสคปติสม์ เน้นไปทางปฏิเสธหนทางที่จะทำให้รู้ถึงการมีอยู่ ส่วนอไญยนิยม กับ สัมพัทธนิยม มีทัศนะความเห็นคล้ายอไญยนิยม พยายามบอกว่าไม่มีอะไรเป็นหลักฐานพอจะนำมาฟันธงได้ว่าพระผู้เป็นเจ้ามีหรือไม่มี ส่วนสัมพัทธ์นิยม ยืนกรานว่า เรารู้จักโลกในแบบเฉพาะ ไม่ใช่รวม และรู้ได้แค่ตีความ

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา