คำอธิบายความหมาย ฮะดีษ อัษษะเกาะลัยน์
  • ชื่อ: คำอธิบายความหมาย ฮะดีษ อัษษะเกาะลัยน์
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 22:26:1 14-9-1403

คำอธิบายความหมาย ฮะดีษ อัษษะเกาะลัยน์


เชค อับดุลรออู๊ฟ อัลมุนาวี อัชชาฟิอี (952-1031 ฮ.ศ.) ได้อธิบายฮะดีษดังนี้


ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) กล่าวว่า


(إِنِّي تَارِكٌ فِيكُمْ) بعد وفاتي (خَلِيفَتَيْنِ )

(แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกเจ้า)หลังจากฉันเสียชีวิต (สอง คอลีฟะฮ์)

زاد في رواية أحدهما أكبر من الآخر وفي رواية بدل خَلِيفَتَيْنِ ثَقَلَيْنِ

ได้มีเพิ่มในริวายะฮ์นี้ว่า หนึ่งในสองสิ่งนี้ใหญ่กว่าอีกประการหนึ่ง และในอีกรายงานหนึ่งใช้คำว่า สอง”คอลีฟะฮ์” แทนคำว่า “ษะเกาะลัยนิ” (สองสิ่งหนัก)

سَماَّهُماَ به لِعظم شأنِهما (كِتَابُ اللَّهِ) القرآن

ที่เรียกสองสิ่งเช่นนี้ เนื่องจากกิจการของสองสิ่งนี้มีความสำคัญยิ่ง(กิตาบุลเลาะฮ์)คือคัมภีร์กุรอ่าน

(حَبْلٌ ) أي هو حبل (مَمْدُودٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ)

(ฮับลุน)คือ เชือก(ทอดยาวอยู่ระหว่างชั้นฟ้ากับแผ่นดิน)

قيل أراد به عَهْدُهُ وقيل السبب الموصل إلى رضاه

กล่าวกันว่า ความหมายของเชือกในที่นี่คือ พันธะสัญญาของอัลลอฮ์ บ้างว่าคือ สาเหตุที่นำพาไปสู่ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์

(وَعِتْرَتِي ) بِمثناة فوقية (أَهْلُ بَيْتِي) تفصيل بعد إجمال بدلا أو بيانا وهُم أصحابُ الْكِساَءِ الذين أذْهَبَ اللهُ عُنْهُمُ الرِّجْسَ وَطَهَّرَهُمْ تَطْهِيْراً

(และอิตเราะตี-วงศ์วานของฉัน) ด้วยการกล่าวซ้ำที่สูงกว่าคือ(อะฮ์ลุบัยตี-ครอบครัวของฉัน) เป็นการแจกแจงรายละเอียดให้ลึกลงไป หลังจากกล่าวอย่างสังเขป เป็นการแทนที่หรือเป็นคำอธิบายให้ชัดเจน และพวกเขา(อิตเราะฮ์หรืออะฮ์ลุลบัยต์ในที่นี้)คือ อัศฮาบ อัลกีซาอ์-บรรดาผู้อยู่ภายใต้ผ้าคลุม ที่อัลลอฮ์ได้ขจัดความโสมมออกไปจากพวกเขาและชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์

وقيل من حرمت عليه الزكاة

บ้างกล่าวว่า หมายถึง ผู้ที่ซะกาตเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา

ورجحه القرطبي يعني إن ائتمرتم بأوامر كتابه وانتهيتم بنواهيه واهتديتم بهدي عترتي واقتديتم بسيرتهم اهتديتم فلم تضلوا

ท่านกุรตุบีย์ได้ให้น้ำหนักฮะดีษนี้ว่าหมายถึง (ท่านนะบีกล่าวว่า) พวกท่านถูกสั่งให้ทำตามคำสั่งใช้คำสั่งห้ามตามคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และพวกท่านได้รับคำชี้นำตามการชี้นำจากอิตเราะฮ์ของฉัน และพวกท่านได้ดำเนินตามวิถีชีวิต(ซีเราะฮ์)ของพวกเขา พวกท่านก็จะได้รับทางนำ แล้วพวกท่านก็จะไม่หลงทางตลอดกาล

قال القرطبي : وهذه الوصية وهذا التأكيد العظيم

ท่านกุรตุบีย์กล่าวว่า ฮะดีษนี้คือ วะซียะฮ์(คำสั่งเสีย)และมันคือการย้ำเตือนที่สำคัญยิ่ง

يقتضي وجوب احترام أهله وإبرارهم وتوقيرهم ومحبتهم

ส่งผลให้ จำเป็นต้องอิห์ติรอม อะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน ทำดีต่อพวกเขา ให้การยกย่องพวกเขา และแสดงความรักต่อพวกเขา

وجوب الفروض المؤكدة التي لا عذر لأحد في التخلف عنها

มันเป็นฟัรฎู มุอักกะด๊ะฮ์อันจำเป็นยิ่ง ที่ไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับคนใดในการ(ตะค็อลลุฟ)คือละทิ้งสิ่งนี้

هذا مع ما علم من خصوصيتهم بالنبي صلى الله عليه وعلى آله وسلم وبأنهم جزء منه

ทั้งนี้ เมื่อรู้ว่า พวกเขามีความพิเศษกับท่านนะบี(ศ) และพวกเขา(อะฮ์ลุลบัยต์)คือ ส่วนหนึ่งของท่าน(ศ)

فإنهم أصوله التي نشأ عنها وفروعه التي نشأوا عنه كما قال : " فاطمة بضعة مني "

เพราะอะฮ์ลุลบัยต์ อุซูลของอะฮ์ลุลบัยต์มาจากท่านนะบี(ศ) และเป็นฟุรู๊อ์กิ่งก้านที่แตกแยกออกมาจากท่าน ดังที่ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า ฟาติมะฮ์คือ เลือดก้อนหนึ่งที่มาจากฉัน

ومع ذلك فقابل بنو أمية عظيم هذه الحقوق بالمخالفة والعقوق

พร้อมกับสิ่งนั้น พวกอุมัยยะฮ์ได้ตอบสนองอย่างมหันต์กับสิทธิเหล่านี้ ด้วยพฤติกรรมในทางตรงกันข้าม และแสดงความอกตัญญูเนรคุณ(ต่อท่านนะบี ศ.)

فسفكوا من أهل البيت دماءهم وسبوا نساءهم

พวกอุมัยยะฮ์ ได้หลั่งเลือดอะฮ์ลุลบัยต์และจับสตรีอะฮ์ลุลบัยต์เป็นทาส

وأسروا صغارهم وخربوا ديارهم

พวกอุมัยยะฮ์ ได้จับเด็กๆอะฮ์ลุลบัยต์เป็นเชลยและทำลายบ้านเรือนของพวกเขา

وجحدوا شرفهم وفضلهم واستباحوا سبهم ولعنهم

พวกอุมัยยะฮ์ ได้ปฏิเสธเกียรติยศและศักดิ์ศรีของอะฮ์ลุลบัยต์ และพวกอุมัยยะฮ์ได้อนุญาตให้ด่าทอ สาปแช่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้

فخالفوا المصطفى صلى الله عليه و سلم في وصيته

ดังนั้นพวกอุมัยยะฮ์ ได้ฝ่าฝืนท่านศาสดา(ศ)ในคำสั่งเสียของท่าน

وقابلوه بنقيض مقصوده وأمنيته

พวกอุมัยยะฮ์ ได้ตอบสนองต่อท่าน(ศ)ด้วยสิ่งตรงกันข้ามกันจุดประสงค์และความหวังของท่านศาสดา(ศ)

فوا خجلهم إذا وقفوا بين يديه ويا فضيحتهم يوم يعرضون عليه

พวกอุมัยยะฮ์ ช่างน่าละอาย เมื่อพวกเขาต้องยืนอยู่ต่อหน้าท่านศาสดา(ศ) โอ้พวกอุมัยยะฮ์ผู้ที่ต้องถูกประจาน ในวันกิยามะฮ์

(وَإِنَّهُمَا ) أي والحال أنهما وفي رواية أن اللطيف أخبرني أنهما

(และแท้จริงสองสิ่งนี้) คือ หมายถึง สถานะภาพของสองสิ่งนี้ ในอีกริวายะฮ์หนึ่งเล่าว่า แท้จริงอัลละฏีฟ หมายถึง อัลลอฮ์ ทรงแจ้งข่าวกับฉันว่า ทั้งสองสิ่งนี้ (لَنْ يَتَفَرَّقَا)


أي الكتاب والعترة أي يستمرا متلازمين
(จะไม่แยกจากกันไปตลอดกาล) หมายถึง อัลกุรอ่านกับอิตเราะฮ์ กล่าวคือ ทั้งสองจะดำเนินอยู่คู่กันไปตลอด

(حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ) أي الكوثر يوم القيامة

(จนสองสิ่งนี้จะกลับมายังฉันที่สระน้ำ) นั่นคืออัลเกาษัร ในวันกิยามะฮ์

زاد في رواية كهاتين وأشار بأصبعيه

ในบางริวายะฮ์ได้เพิ่มคำว่า เช่นสองอันนี้ และท่าน(ศ)ได้ชี้ไปนิ้วของท่านสองนิ้ว

وفي هذا مع قوله أولا إني تارك فيكم تلويح بل تصريح بأنهما كتوأمين خلفهما ووصى أمته بحسن معاملتهما

ฮะดีษนี้กับคำพูดของท่าน(ศ)วรรคแรกที่ว่า แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ในหมู่พวกท่าน คือการเปรียบเทียบ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการประกาศชัดว่า ทั้งสองสิ่งเปรียบเหมือนของคู่กัน ที่ท่านได้มอบมันทั้งสองไว้ให้ และท่านได้สั่งเสียกับประชาชาติของท่านว่า จงปฏิบัติให้ดีกับทั้งสองสิ่งนี้

وإيثار حقهما على أنفسهما واستمساك بهما في الدين

มอบสิทธิของทั้งสองบนตัวของสองสิ่งนั้น และยึดถือต่อสองสิ่งนั้นในดีนศาสนา

أما الكتاب فلأنه معدن العلوم الدينية والأسرار والحكم الشرعية وكنوز الحقائق وخفايا الدقائق

กิตาบ(อัลกุรอ่าน) คือ แหล่งรวมศาสตร์แห่งศาสนา มีทั้งความลี้ลับ  ฮุก่มชัรอียะฮ์  ขุมคลังความจริง และเรื่องลับลึกซึ้งต่างๆ

وأما العترة فلأن العنصر إذا طاب أعان على فهم الدين

ส่วนอิตเราะฮ์ คือ อุนซุร(ปฐมมูล)เมื่อเป็นสิ่งดี ก็ย่อมให้ความช่วยเหลือบนความเข้าใจในศาสนา

فطيب العنصر يؤدي إلى حسن الأخلاق ومحاسنها

ดังนั้นอุนซุรดี ย่อมทำให้อัคล๊าก ดีงามไปด้วย

تؤدي إلى صفاء القلب ونزاهته وطهارته

ส่งผลให้จิตใจบริสุทธิ์ ผ่องแผ่ว และใสสะอาด

<تنبيه> قال الشريف : هذا الخبر يفهم وجود من يكون أهلا للتمسك به من أهل البيت والعترة الطاهرة في كل زمن إلى قيام الساعة حتى يتوجه الحث المذكور إلى التمسك به كما أن الكتاب كذلك فلذلك كانوا أمانا لأهل الأرض فإذا ذهبوا ذهب أهل الأرض

หมายเหตุ – ท่านชารีฟกล่าวว่า ฮะดีษนี้ สร้างเข้าใจว่า มีผู้ที่คู่ควรแก่การยึดถือ คืออะฮ์ลุลบัยต์ และอิตเราะฮ์ผู้บริสุทธิ์ ในทุกๆยุคสมัย ตราบถึงวันกิยามะฮ์ เพื่อมุ่งส่งเสริมดังกล่าวให้ยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ ดังที่ให้ยือถือคัมภีร์กุรอ่านเช่นกัน ด้วยเหตุที่ว่า อะฮ์ลุลบัยต์คือหลักค้ำประกันของชาวโลก ดังนั้นเมื่อพวกเขาจากไป ชาวโลกก็จะจากไป

 ( حم طب عن زيد بن ثابت ) قال الهيثمي : رجاله موثقون ورواه أيضا أبو يعلى بسند لا بأس به

(รายงานจากท่านเซด บิน ษาบิต) ท่านฮัยษะมี กล่าวว่า นักรายงานของฮะดีษนี้ เชื่อถือได้ ท่านอะบูยะอ์ลาได้รายงานฮะดีษนี้ไว้เช่นกันด้วยสายรายงานที่ไม่เป็นไรคือเชื่อได้

والحافظ عبد العزيز بن الأخضر وزاد أنه قال في حجة الوداع ووهم من زعم وضعه كابن الجوزي قال السمهودي : وفي الباب ما يزيد على عشرين من الصحابة

ท่านอัลฮาฟิซ อับดุลอะซีซ บินอัลอัคฎ็อร ได้กล่าวเพิ่มว่า ท่าน(ศ)ยังได้กล่าวไว้ในฮัจญะตุลวะดาอ์ และเป็นการเดาผู้ที่อ้างว่า มัน(ฮะดีษนี้)ถูกกุขึ้นมา เช่น อิบนุลเญาซี

 

อ้างอิงจากหนังสือ  ฟัยฎุล เกาะดีร ชัรฮุล ญามิอิซ ซอฆีร  เล่ม 3 : 14 – 15 ฮะดีษที่ 2631

 

الكتاب : فيض القدير شرح الجامع الصغير للسيوطي  ج 3 ص 14 ح 2631

المؤلف : عبد الرؤوف المناوي الناشر : المكتبة التجارية الكبرى - مصر

الطبعة الأولى ، 1356  عدد الأجزاء : 6  مع الكتاب : تعليقات يسيرة لماجد الحموي

 

http://www.arabicbookshop.info/BookCovers/144-372.jpg

 

เชคอัลบานี ได้ตรวจทานสายรายงานฮะดีษบทนี้ และกล่าวว่าเป็นฮะดีษที่ ซอฮิฮ์  ดูหนังสือ

ซอฮิฮ์ วะ ฎออีฟ  อัลญามิอุซ ซอฆีร วะ ซิยาดะตุฮู   ฮะดีษที่  4222

الكتاب : صحيح وضعيف الجامع الصغير وزيادته  رقم الحديث : 4222

المؤلف : محمد ناصر الدين الألباني  الناشر : المكتب الإسلامي