จุดประสงค์ของการสร้างมนุษย์คืออะไร?
ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แบบ ทำไมพระเจ้าจึงไม่สร้างให้มนุษย์สมบูรณ์แบบเสียทีเดียว?
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง
คำตอบโดยย่อ
พระเจ้าเป็นภวันต์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดและมีความสมบูรณ์แบบทั้งหมด การสร้างคือความโปรดปรานหนึ่ง พระองค์คือพระผู้ทรงให้ความโปรดปราน ความโปรดปรานอย่างสมบูรณ์ของพระองค์ทำให้พระองค์สร้างทุกสิ่งที่สมควรจะถูกสร้างขึ้น พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์และทุกสรรพสิ่งขึ้น เพราะพระองค์ทรงโปรดปรานยิ่ง นั่นคือจุดประสงค์และเหตุผลของการสร้างของพระองค์
เนื่องจากคุณลักษณะของพระเจ้าคือสิ่งเดียวกับแก่นแท้และอัตลักษณ์ของพระองค์ จึงกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์คือแก่นแท้และอัตลักษณ์ของความเป็นพระเจ้า
พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแนวโน้มภายในสองอย่างคือความดีและความชั่ว และมีผู้เรียกร้องเชิญชวนสู่ความดีและความชั่วจากภายนอกสองอย่าง ได้แก่ ศาสดา และชัยฏอน ที่สามารถนำพามนุษย์ไปถึงระดับสูงสุดของการสร้างที่สมบูรณ์แบบและดิ่งลงสู่ความเสื่อมทรามในระดับที่ต่ำที่สุด หากมนุษย์ผู้หนึ่งเดินตามเส้นทางแห่งความดีทั้งๆ ที่มีแนวโน้มที่ดึงสู่ความเป็นสัตว์เดรัจฉานและการล่อลวงที่ชั่วร้าย ผู้นั้นจะมีสถานะที่เหนือกว่าทูตสวรรค์ (มะลาอิกะฮ์)เพราะพวกเขา(มะลาอิกะฮ์)ไม่มีความโน้มเอียงที่จะดึงสู่ความเป็นสัตว์เดรัจฉานและการล่อลวงที่ชั่วร้าย และหากมนุษย์เลือกเส้นทางแห่งความชั่ว เขาจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะมะลาอิกะฮ์ไม่มีความสามารถทางจิตวิญญาณเหมือนดั่งเช่นมนุษย์
หากพระเจ้าสร้างมนุษย์มาอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นไปได้สำหรับพระองค์ที่จะสร้างเช่นนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นความสมบูรณ์แบบโดยสมัครใจสำหรับเขา แต่เป็นการสร้างแล้วเสร็จจากพระองค์ และพระเจ้าได้ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตก่อนหน้าพวกเขาที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งหมดตั้งแต่ต้นมาแล้ว(สร้างมะลาอิกะฮ์) ดังนั้น เป้าหมายของการสร้างมนุษย์จะสำเร็จได้เมื่อมนุษย์มีศักยภาพมุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบและบรรลุมันด้วยการกระทำโดยความสมัครใจของเขา ผู้ไม่เชื่อและคนบาปที่ถูกกีดกันไม่ให้บรรลุถึงความสมบูรณ์แบบนี้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้บรรลุจุดประสงค์หลักของการสร้างมนุษย์ - ซึ่งเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า - แต่พวกเขาไม่ได้ออกนอกไปจากจุดประสงค์ของการสร้างมนุษย์ เพราะพระเจ้าต้องการให้พวกเขาเลือกทางที่ถูกหรือผิดด้วยการเลือกของเขาเอง ถ้าพระเจ้าทำให้เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะเลือกเส้นทางแห่งความผิดพลาด ศรัทธาและการเชื่อฟังของเขาจะไม่เป็นไปโดยสมัครใจ
คำตอบโดยละเอียด
เพื่อชี้แจงคำตอบ ต้องให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆต่อไปนี้:
ก) จุดประสงค์ของพระเจ้าในการสร้าง
1.อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งทรงเป็นภวันต์จำเป็น (วาญิบุลวุญูด) เนื่องจากสภาวะภวันต์ของพระองค์นั้นไม่ทรงต้องพึ่งพาและขึ้นอยู่กับสิ่งใดทั้งสิ้น พระองค์มีความสมบูรณ์แบบทั้งหมด ไม่มีข้อจำกัดและข้อบกพร่องใดๆ สำหรับพระองค์
2.หนึ่งในความสมบูรณ์แบบของพระองค์คือความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์ ดังที่มีในอัลกุรอานว่า:
وَمَا كَانَ عَطَاءُ رَبِّكَ مَحْظُورًا
" และการประทานให้ของพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นมิถูกหวงห้าม (แก่ผู้ใด)”
พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพไม่มีข้อจำกัด ใดๆ ในการให้ ดังนั้นหากพระองค์ไม่ให้นั่นก็เนื่องจากการมีข้อจำกัด พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ย่อมให้แก่ทุกสิ่งที่สมควรจะได้รับ
3.ความดีและความสมบูรณ์ทุกอย่างเป็นภวันต์ส่วนความชั่วและความบกพร่องทั้งหมดมาจากการไม่มี ตัวอย่างเช่น ความรู้คือความดีและความสมบูรณ์แบบ และความเขลาคือความไม่ดีและความไม่สมบูรณ์ ในทำนองเดียวกัน ความเข้มแข็งคือความสมบูรณ์แบบและความดี ตรงกันข้ามกับความอ่อนแอและความไร้ความสามารถ ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่เป็นภวันต์นั้นเป็นสิ่งที่ดี และตรงกันข้ามกับมันคือความชั่วและความบกพร่องซึ่งคือภาวะความว่างเปล่า
4.จากการทั้งสามข้อข้างต้น เห็นได้ว่าความโปรดปรานของพระเจ้าจะเกิดขึ้นโดยการสร้าง ดังนั้นผลที่ตามมาของความโปรดปรานของพระเจ้าคือการสร้างนั่นเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากสิ่งที่ควรค่าแก่การสร้างแต่พระเจ้าไม่ทรงสร้าง ถือว่าการไม่สร้างนี้เป็นการหวงห้ามจากความดี โดยพิจารณาถึงความดีของภวันต์ และถือว่าเป็นความตระหนี่ซึ่งไม่ใช่คุณลักษณะของความเป็นพระเจ้า สรุปได้จากทั้งสี่ข้อนี้ว่าหากมีคนถาม อะไรเป็นเหตุให้พระเจ้าสร้าง? ตอบได้ว่าความโปรดปรานของพระองค์ทำให้เกิดการสร้างต่างๆ ขึ้นมา
5.คุณลักษณะของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากแก่นแท้ของพระเจ้า แต่คุณลักษณะของมนุษย์และสรรพสิ่งอื่น ๆ นั้นไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับแก่นแท้ ตัวอย่างเช่น แอปเปิ้ลมีหนึ่งแก่นแท้ ส่วนสีแดงและความหวานเป็นคุณลักษณะของมัน สีแดงและความหวานนี้อยู่เหนือไปจากแก่นแท้ของแอปเปิ้ล แอปเปิ้ลสามารถเปรี้ยวและเขียวแทนคุณลักษณะเหล่านี้ในขณะที่แก่นแท้ของความเป็นแอปเปิ้ลก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม
สิ่งที่ควรค่าคือว่าแม้การก้าวไปสู่ขั้นบันไดแห่งพัฒนาการของมนุษย์เพียงขั้นเดียวก็ถือเป็นความสมบูรณ์แบบโดยสมัครใจ และเท่ากับได้บรรลุสู่เป้าหมายหลักของการสร้างแล้ว เพราะเขาได้ก้าวไปด้วยความสมัครใจและด้วยเจตจำนงเสรีของเขาเอง
ง) คนที่ไม่เชื่อและเป็นบาป
หากบุคคลไม่ปีนขึ้นไปบนบันไดแห่งการพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูร์แม้แต่ขั้นเดียว และเขาใช้ชีวิตไปทั้งชีวิตด้วยกับการไม่เชื่อ ทำบาป และฝ่าฝืน เขาก็ยังไม่ได้ก้าวออกจากจุดประสงค์ของการทรงสร้าง เพราะเขาทำให้ใช้ศักยภาพของเขาให้บังเกิดขึ้น มนุษย์สามารถลงไปสู่ระดับต่ำสุด พระเจ้าได้ทรงสร้างเขาในแบบที่เขาสามารถเลือกเส้นทางแห่งความสมบูรณ์แบบหรือความทุกข์ยากได้ ดังนั้นแม้แต่มนุษย์ที่ทำบาปและไม่เชื่อ เขาก็ไม่ได้ขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ขัดกับพระประสงค์ในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า เพราะเขาได้ทำบาปและไม่เชื่อด้วยกับการเลือกและเจตจำนงของเขาเอง ซึ่งก็ยังอยู่ในเส้นทางแห่งเป้าหมายการสร้างของพระองค์
พระเจ้าทรงตอบรับการพัฒนาของมนุษย์จนถึงระดับความสมบูรณ์ และไม่ทรงรับการตกสู่ห้วงขุมแห่งความผิดพลาด กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในการสร้างมนุษย์ พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพมีความปรารถนาทางด้านนัย(ตักวีนี)ในการพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์: กล่าวคือมนุษย์ทุกคนสามารถใช้ศักยภาพของตนไม่ว่าในทางที่ดีหรือไม่ดี ส่วนความปรารถนาทางกฎข้อบังคับ(ตัชรีอี)ของเขา คือการที่มนุษย์ต้องใช้ศักยภาพของเขาไปเส้นทางแห่งความสมบูรณ์แบบเท่านั้น
จากที่กล่าวมานี้สามารถกล่าวได้ว่า ผู้ศรัทธาได้บรรลุเป้าหมายการสร้างทั้งทางด้านนัย(ตักวีนี-การสร้างมนุษย์ให้มีเสรีภาพในการเลือกทำดีและทำไม่ดี) และทางด้านกฎข้อบังคับ แต่สำหรับผู้ไม่ที่ไม่ศรัทธาและคนบาป แม้ว่าเขาจะไม่บรรลุเป้าหมายทางด้านกฎข้อบังคับ(ตัชรีอี) แต่เขายังอยู่บนเส้นทางทางด้านนัย (เป้าหมายการสร้างของพระองค์ที่ให้มนุษย์เลือกสู่ความสมบูรณ์ด้วยเจตจำนงเสรีของตน) นั่นเอง
อ้างอิง
[1]. اسراء، 20.
[2]. ر. ک: طباطبایی، سید محمد حسین، المیزان فی تفسیر القرآن، ترجمه، موسوی همدانی، سید محمد باقر، ج 8، ص 61، قم، دفتر انتشارات اسلامی، چاپ پنجم، 1374ش؛ مصباح یزدى، محمد تقى، معارف قرآن، خداشناسی، کیهانشناسی، انسانشناسی، ج 1 - 3، ص 170 – 179، قم، مؤسسه آموزشی و پژوهشی امام خمینی، چاپ دوم، 1378ش.
[3]. بقره، 210؛ آل عمران، 109؛ انفال، 44؛ حج، 76؛ فاطر، 4؛ حدید، 5.
[4]. هود، 123.
[5]. صافات، 164 و 166.
[6]. سید رضی، محمد بن حسین، نهج البلاغه، محقق، صبحی صالح، ص 41، خ 1، قم، هجرت، چاپ اول، 1414ق.
[7]. انبیاء، 27.
[8]. تحریم، 6.
[9]. شیخ صدوق، علل الشرائع، ج 1، ص 4، قم، کتاب فروشی داوری، چاپ اول، 1385ش.