การจัดเมาลิดนบี(ศ็อลฯ) ในมุมมองของมุสลิมส่วนใหญ่(ซุนนีและชีอะฮ์)
  • ชื่อ: การจัดเมาลิดนบี(ศ็อลฯ) ในมุมมองของมุสลิมส่วนใหญ่(ซุนนีและชีอะฮ์)
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 22:51:45 14-9-1403

การจัดเมาลิดนบี(ศ็อลฯ) ในมุมมองของมุสลิมส่วนใหญ่(ซุนนีและชีอะฮ์)

 

 


“เมาลิด” หมายถึงการฉลองวันประสูติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ซึ่งจะจัดขึ้นเนื่องในวันครบรอบวันประสูติของท่านศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม ทั้งพี่น้องชีอะฮ์และพี่น้องซุนนีต่างจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติของศาสดา (ศ็อลฯ)กันอย่างยิ่งใหญ่
  มีเพียงกลุ่มวะฮาบีเท่านั้นที่ถือว่าการฉลองวันประสูติเป็นบิดอะฮ์(อุตริกรรมในศาสนา) เพราะการเฉลิมฉลองดังกล่าวไม่เคยจัดขึ้นในยุคของศาสดา (ศ็อลฯ)) และยุคซอฮาบะฮ์
 นักวิชาการมุสลิมส่วนใหญ่ได้ให้คำตอบแก่กลุ่มวะฮาบีว่า แม้ว่าในยุคท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และซอฮาบะฮ์จะไม่เคยมีการจัดเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางศาสนาสั่งห้ามไว้ ดังนั้นการเฉลิมฉลองวันประสูติของศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่เพียงแต่ไม่ถือเป็นบิดอะฮ์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเทิดเกียรติท่านศาสดา(ศ็อลฯ)อย่างที่พึงจะกระทำอีกด้วย
  นอกจากนี้ยังได้มีการอ้างถึงโองการจากอัลกุรอานและใจความของอัลกุรอานที่ได้บัญญัติเทิดเกียรติศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)และมอบความรักให้แก่ท่าน
 มีรายงานทางประวัติศาสตร์ว่าชาวมุสลิมเฉลิมฉลองวันประสูติท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ) กันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ในวันครบรอบการประสูติของท่านศาสดา มุสลิมชาวมักกะฮ์เคยรวมตัวกัน ณ สถานที่ประสูติของท่าน โดยร่วมกันขอดุอา นมาซ กล่าวรำลึกและตะบัรรุกต่อท่านศาสดา จนกระทั่งสถานที่แห่งนี้ถูกทำลายในช่วงการปกครองของอาลิซะอูด
 มุสลิมชีอะฮ์ถือว่าวันที่ 17 ของรอบิอุลเอาวัล และมุสลิมซุนนีถือว่าวันที่ 12 ของรอบิอุลเอาวัลเป็นวันประสูตของศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ) นักวิชาการชีอะฮ์ให้วันนี้เป็นวันแห่งการบริจาคทาน ทำความดี ทำให้ผู้ศรัทธามีความสุข ฯลฯ และพี่น้องซุนนียังได้กำชับให้มีการมอบของขวัญและให้อาหารแก่คนยากจนเพื่อเป็นการเทอดเกียรติแก่ศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม
 ดังนั้นชาวมุสลิมในประเทศต่าง ๆ จึงเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดา โดยกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ เช่นประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน อิรัก อินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย และอียิปต์ เป็นต้น
ความสำคัญและประวัติศาสตร์
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการ(จัดงานเมาลิด)เฉลิมฉลองวันครบรอบวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ถือเป็นอีกหนึ่งในความแตกต่างระหว่างมุสลิมส่วนใหญ่(ซุนนีและชีอะฮ์)กับกลุ่มวะฮาบี จากมุมมองของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ อนุญาตให้จัดงานเฉลิมฉลองได้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชาวมุสลิมในประเทศต่างๆ ร่วมกันเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) อย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ บางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย อิหร่าน อินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ และ... ยังกำหนดให้วันประสูติท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย แต่กลุ่มวะฮาบีเพียงเท่านั้นที่ถือว่าการเฉลิมฉลองเมาลิดนะบีเป็นบิดอะฮ์และฮารอม
 ประวัติความเป็นมาของการฉลองวันครบรอบวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ย้อนกลับไปในศตวรรษที่สี่และห้าทางจันทรคติ อะห์มัด บิน อาลี มุกริซี (เป็นนักประวัติศาสตร์และนักเขียนชีวประวัติชาวอียิปต์ยุคกลางในยุคมัมลุคในศตวรรษที่ 9) กล่าวถึงความนิยมในการเฉลิมฉลองเมาลิดนบีมีขึ้นอย่างแพร่หลายช่วงการปกครองของฟาติมียะห์ (ฮ.ศ.297-567) ในอียิปต์  นอกจากนี้ ตามแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ Muzaffar ad-Din Gökböri เป็นผู้นำและนายพลของสุลต่านซาลาดิน และผู้ปกครองของ Erbil เขารับใช้ทั้งผู้ปกครองเซงกิดและอัยยูบิดของซีเรียและอียิปต์  (เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 630) เคยเฉลิมฉลองวันประสูติท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ขึ้นในเดือนรอบิอุลเอาวัล
การเฉลิมฉลองเมาลิดนบี ถือเป็นบิดอะฮ์หรือไม่?
ในโลกอิสลามมีเพียงกลุ่มวะฮาบีเท่านั้นที่ถือว่าการเฉลิมฉลองวันประสูติของศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)เป็นบิดอะฮ์  อับดุลอาซิซบินบาซหนึ่งในมุฟตีของกลุ่มวะฮาบีได้ถือว่าการฉลองการประสูติของศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)เป็นบิดอะฮ์ นักวิชาการวะฮาบีถือว่าการเข้าร่วมงานเมาลิด การนั่งหรือการรับประทานขนมในงานเมาลิดถือเป็นฮารอม
 นอกจากนี้ นักเขียนบางคนถือว่าการฉลองวันเกิดของท่านศาสดาเป็นเรื่องของการผิดศีลธรรม เป็นการกระทำที่ไม่มีในศาสนา ฯลฯเหตุผลของพวกวะฮาบีที่ถือว่าการฉลองวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)เป็นบิดอะฮ์ก็คือ ไม่เคยมีการจัดเมาลิดขึ้นในยุคของศาสดาและยุคซอฮาบะฮ์
คำตอบของปราชญ์ส่วนใหญ่ของโลกอิสลาม(ซุนนีและชีอะฮ์)
 แม้ว่าจะไม่มีการกล่าวถึงการจัดเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ไว้โดยตรง แต่โองการในอัลกุรอานได้ยืนยันการจัดงานเฉลิมฉลองไว้ จากความหมายโดยกว้างของอัลกุรอาน เช่นความจำเป็นในการมอบความรักแก่ศาสดา (ศ็อลฯ) ความจำเป็นในการเทอดเกียรติท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ถือว่าการฉลองวันประสูติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้นถูกต้องตามหลักการศาสนา
 นอกจากนี้ได้อ้างถึงโองการสุดท้ายของบท(ซูเราะฮ์)อัลมาอิดะฮ์ ที่ศาสดาอีซา(อ.) ได้เฉลิมฉลองวันที่อาหารจากสวรรค์ลงมาให้แก่อัครสาวกของท่าน และชาวคริสเตียนยังคงเฉลิมฉลองในวันนั้นเรื่อยมา
มุสลิมส่วนใหญ่เชื่อว่าต้องเฉลิมฉลองวันประสูติของของศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)อย่างยิ่งใหญ่ เพราะท่านได้ทำให้ผู้คนรอดพ้นจากการบูชาเจว็ดและความเขลา สิ่งนี้ย่อมเป็นความโปรดปรานที่สูงส่งกว่าอาหารจากสวรรค์ที่ประทานลงมาให้แก่อัครสาวก(ฮะวาริยูน)ของศาสดาอีซา(อ.)
 นักวิชาการระดับอาวุโสของพี่น้องซุนนี่ เช่น สะรีย์ สะกอฏี(เสียชีวิตฮ.ศ. 253 ), ญุนียดี บัฆดาดี (เสียชีวิตฮ.ศ. 297),ยาฟิอี (เสียชีวิตฮ.ศ. 768) และฮะซัน บิน อุมัร บิน ฮะบีบ (เสียชีวิตฮ.ศ. 779) ถือว่าการเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดา ศ็อลฯ)) เป็นมุสตะฮับ(ซุนนะฮ์)ที่พึงปฏิบัติ.
 ยูซุฟ กอร์ฎาวี เสียชีวิตในปีฮ.ศ. 1442 หนึ่งในนักวิชาการซุนนีร่วมสมัย ถือว่าอนุญาตให้เฉลิมฉลองการประสูติของท่านศาสดาโดยได้ยกโองการในอัลกุรอานมาสนับสนุน เขาเชื่อว่าการเฉลิมฉลองวันประสูติท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และวันสำคัญอื่นๆของอิสลาม เป็นการระลึกถึงความโปรดปรานต่างๆที่อัลลอฮ์(ซบ.) ทรงประทานให้แก่บรรดามุสลิม และการรำลึกนี้ไม่เพียงแต่จะไม่เป็นบิดอะฮ์และฮะรอมแล้วทว่ายังเป็นการกระทำที่พึงปรารถนาอีกด้วย ตามคำกล่าวของ ฏอฮิร กอดิรี นักวิชาการซุนนี ถือว่าทุกการกระทำที่มุบาห์โดยไม่มีห้ามไว้ในอิสลามและมันได้กลายเป็นวัฒนธรรมของสังคมไปแล้ว และจุดประสงค์ของการกระทำเหล่านั้นคือการแสดงออกถึงความปีติยินเนื่องในโอกาสการประสูติของท่านศาสดาแห่งศาสนาอิสลามนั้นย่อมไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด
 ตามคำรายงาน(ริวายะฮ์)ที่บันทึกไว้ในหนังสือ อิกบัล อัล-อามาล การถือศีลอดในวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)จะได้รับมรรคผลของการถือศีลอดหนึ่งปี นักวิชาการชีอะฮ์ถือว่าบริจาคทาน, เยี่ยมสุสานต่างๆ การทำความดี, การทำให้ผู้ศรัทธามีความสุข ฯลฯ ในวันนี้ถือเป็นมุสตะฮับ มีในรายงานของชีอะฮ์ว่ามีนมาซเฉพาะสำหรับวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)อีกด้วย พี่น้องซุนนีได้กำชับให้มีการบรรยายบุคลิกภาพของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) การอ่านอัลกุรอาน, การเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง การมอบของขวัญ การให้อาหารแก่คนยากไร้ในวันนี้ เพื่อเป็นการเทอดเกียรติท่านศาสดา(ศ็อลฯ)
เวลาและสถานที่เกิด
มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ) เป็นที่รู้กันในหมู่นักวิชาการชีอะฮ์คือ วันที่ 17 รอบบีอัลเอาวัล ส่วนพี่น้องซุนนีคือวันที่ 12 รอบบีอัลเอาล์  จึงมีการกำหนดให้รระหว่างสองวันนี้เป็นสัปดาห์เอกภาพระหว่างซุนนีและชีอะฮ์
 ศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) ประสูติในบ้านหลักหนึ่งที่ตั้งอยู่ในชิอ์บ อะบีฏอลิบ[34] ตามที่มุฮัมหมัด บิน อุมัร บะห์ร็อก นักวิชาการสายชาฟีอีซึ่งเสียชีวิตในปี ฮ.ศ.930 กล่าวว่ามุสลิมชาวมักกะฮ์เคยรวมตัวกันในสถานที่ประสูติของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ในคืนประสูติของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)โดยได้ร่วมกันรำลึกและขอดุอา ณ สถานที่แห่งนั้นประสูติและอธิษฐานและอวยพรท่าน พวกเขากำลังมองอยู่
แหล่งอ้างอิง
o «الاحتفال بمولد النبی والمناسبات الإسلامیة»، سایت رسمی یوسف القرضاوی، تاریخ درج مطلب: ۲۰۱۸- ۱۱-۲۰،‌ تاریخ بازدید: ۱۲ دی ۱۳۹۷ش.
o ابن‌کثیر، اسماعیل بن عمر، البدایة و النهایة، بیروت، دارالفکر، ۱۴۰۷ق/۱۹۸۶م.
o «الإمام ابن تیمیة لم یستحسن الاحتفال بالمولد النبوی»، سایت رسمی «بن باز»، تاریخ بازدید: ۱۲دی ۱۳۹۷ش.
o آل‌الشیخ، عیون الرسائل والأجوبة علی المسائل، محقق: حسین محمد بوا، ریاض، بی‌تا.
o بحرق، محمد بن عمر، حدائق الانوار و مطالع الاسرار فی سیرة النبی المختار، تحقیق محمد غساق نصوح عزقول، جده، دار المنهاج، ۱۴۱۹ق.
o الدویش، احمد بن عبدالرزاق، فتاوی اللجنة الدائمة، ریاض، رئاسة إدارة البحوث العلمیة والإفتاء، بی‌تا.
o سید ابن طاووس، علی بن موسی، الإقبال بالأعمال الحسنة، تهران، دارالکتب الإسلامیة، چاپ دوم، ۱۴۰۹ق.
o شیخ طوسی، محمد بن حسن، مصباح المتهجد و سلاح المتعبّد، تهران، المکتبة الإسلامیة، بی‌تا.

 


เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง