ทำไมมนุษย์ จำเป็นที่จะต้องมีศาสนา ?
ก่อนที่เรา จะมาตอบคำถาม จำเป็นที่จะต้องมีศาสนา มาเริ่มต้น ประเด็นเกี่ยวกับความต้องกา ต่างๆของมนุษย์ ก่อนเป็นอันดับแรก
โดยแน่นอน มนุษย์ ทุกคนนั้น มีความต้องการ ที่สามารถแบ่งออกได้ เป็นสามประเภท ดังนี้
1. ความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือ ปัจจัยยังชีพ
2.ความต้องการทางสังคม
3.ความต้องการขั้นสูงส่ง
-ความต้องการ พื้นฐาน หรือ ความต้องการปัจจัยยังชีพ ยกตัวอย่างเช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักที่อาศัย คู่ครอง
-ความต้องการทางสังคม กฎหมาย และผู้นำ มนุษย์ ถือเป็นสิ่งมีชีวิต ที่ดำรงอยู่ด้วยระบบสังคม ด้วยเหตุที่มนุษย์ เป็นสัตว์สังคม และมีการใช้ชีวิต
ด้วยระบบสังคม พวกเขาจึงต้องการ กฎหมาย และผู้นำ เพื่อบริหาร ให้สังคม ดำเนินไปในหนทางที่เหมาะสม และนำพาสังคมไปสู่การพัฒนา
ในอีกด้านหนึ่ง เพื่อป้องกัน สังคมไม่ให้เกิดหายนะ และการสูญเสีย ผลประโยชน์ต่างๆที่จะนำมาสู่ประชาชน
-ความต้องการขั้นสูงส่ง ความต้องการชนิดนี้ คือ ความต้องการรู้จักในแก่นแท้ และการมีมะรีฟัต(ความเข้าใจอย่างถ่องแท้) ทุกครั้ง ที่เราเห็นคำถามที่หลากลาย
ซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวของมนุษย์ และการมีอยู่ต่างๆ ความดีงาม ความชั่วร้าย สัจธรรม ความเท็จ มนุษยธรรม อารยธรรม จริยธรรม
ต้นกำเนิดของมนุษย์(เช่นเรามาจากไหน ) เป้าหมายในการมีอยู่ของมนุษย์ (เรามาอยู่บนโลกนี้เพื่ออะไร) และหน้าที่ของเราคืออะไร
และในท้ายที่สุด เราจะไปไหน คำถามต่างๆเหล่านี้ คือ คำถามที่เกิดมาจาก ความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการนำตัวของเขาไปสู่ความสูงส่ง
เราจะย้อนกลับไปยังคำถาม เริ่มต้น นั่นคือ ทำไมมนุษย์จำเป็นที่่จะต้องมีศาสนา ?
คำตอบ เพราะ ในบรรดาประเภทความต้องการด้านต่างๆของมนุษย์ ศาสนา คือ ผู้ตอบคำถาม ความต้องการประเภทที่สาม
หรือความต้องการที่จะนำพามนุษย์สูงส่งนั่นเอง มนุษย์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาศาสนา เพื่อที่เขาจะได้รับคำตอบต่างๆ
ที่เกี่ยวกับความต้องการขั้นสูงส่ง และมีเพียงศาสนาเท่านั้น จะสามารถตอบคำถาม และทำให้จิตใจของมนุษย์สงบลงได้
คำถาม อาจมีคำถามขึ้นว่า คนบางคนไม่มีศาสนา แต่ก็สามารถใช้ชีวิต อยู่ร่วมกับสังคมได้ เขามีจริยธรรม คุณธรรม จำเป็นด้วยหรือที่เขาจะต้องแสวงหาศาสนาอีก?
คำตอบ
1. ความรู้ที่จำกัดของมนุษย์
หนทางที่มนุษย์ เลือ แบ่งออกเป็นหลายหนทางด้วยกัน ซึ่งหนทางที่บุคคลกลุ่มนี้ เลือก ก็คือ หนทางที่ปฏิบัติตามความต้องการของตนเอง ในหนทางนี้ เป็นหนทางที่ไม่มั่นคง และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องด้วยความรู้ต่างๆ ที่มนุษย์ มีอยู่ ยังคงจำกัด และความจำกัดอันนี้ เป็นตัวแสดงให้เห็นว่า ตัวของมนุษย์เองหากปราศจากการชี้นำ จากศาสนาแล่วไซร้ เขาไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่า ทุกๆสิ่งที่เขาทำนั้น ดำรงอยู่บนความถูกต้อง เพราะเขาไม่มีไม่บรรทัดที่จะใช้วัดการกระทำของตัวเองว่าถูกหรือผิด
2. การตัดสินด้วยความเห็นของคนส่วนมาก
หากเขาใช้ความเห็นส่วนมากของประชาชนเป็นตัววัด คำตอบที่ได้ ก็ไม่อาจมั่นคงเสมอไปว่า สิ่งที่เขาทำนั่นถูกต้อง เราจะขอยกตัวอย่างเช่น ในยุคสมัยญาฮีลียะฮ์(ยุคอนารยชน) การมีบุตรี ถือเป็นสิ่งที่น่าอัปยศที่สุด
ในสังคม สังคมตัดสินว่า การมีบุตรี คือ สิ่งที่จะนำความอัปยศ และความชั่วร้าย หากเขาใช้มาตรวัดของสังคม เขาก็กลายเป็นผู้มีเกียรติ
ในสังคมนั้น หรือ ตัวอย่างเช่น ในสังคมอเมริกันในอดีต คนผิวขาว ถือว่า ตนเอง ประเสริฐกว่าคนผิวดำ หากเขาเป็นคนผิวขาว ที่รังเกียจ
และไม่ยอมรับคนผิวดำ คนในสังคม ก็จะยอมรับเขาว่า เขาเป็นหนึ่งในบุคคล ที่มีเกียรติ และควรเคารพนับถือ หรือ ในสังคมที่ผู้หญิงส่วนมากไม่คลุมฮิญาบ การคลุมฮิญาบ ในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกยอมรับ จะให้สังคมยอมรับ และ ให้เกียรติเธอ ก็จะต้องไม่คลุมฮิญาบไปโรงเรียน หรือมหาลัยฯ
ตัวอย่างต่างๆเหล่านี้ เพียงพอ และชี้ให้เห็นว่า มนุษย์จำเป็นที่จะต้องมีแนวทางที่มั่นคงและไม่เปลี่ยนแปลง ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องขั้นสูงส่งของเขาได้เสมอ
3. ประวัติศาสตร์ ผู้เป็นพยานถึงความผิดพลาดของมนุษย์
หากเราย้อนกลับไปมองในประวัติศาสตร์ เราจะเห็นเสมอว่า ตัวมนุษย์เอง เป็นพยานถึงความผิดพลาดต่างๆ ในการเลือกแนวทางที่เขา
ดำเนินชีวิต ยุคสมัยหนึ่ง มนุษย์ยอมรับว่า แนวทางนี้ถูกต้อง อีกยุคสมัยหนึ่ง พวกเขาเป็นพยานถึงการค้นพบความผิดพลาดในแนวทางที่ได้เลือกได้
4.มนุษย์ไม่อาจจะยืนยันได้ว่า ทุกการตัดสินของเขานั้นถูกต้อง
จริงอยู่ด้วยฟิฏเราะฮ์ (สัญชาตญาณดั้งเดิม) มนุษย์รักความดีงาม และรักคุณธรรม เราไม่ได้ปฏิเสธว่า หากขาดศาสนา มนุษย์จะคิดเองไม่ได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
แต่เราจะทำการตั้งคำถามว่า เขาสามารถตัดสินปัญหาทั้งหมดได้อย่างถูกต้องเสมอ ด้วยสติปัญญาของเขาซึ่งมีความรู้อย่างจำกัด ได้เพียงลำพังหรือ ? เขาจะมั่นใจได้อย่างไรว่า สิ่งที่เขากระทำ พูด คิด คือ คุณธรรม และความดีงาม เขาจะมั่นใจได้อย่างไรว่า การตัดสินใจของเขานั้น ไม่มีความผิดพลาด สติปัญญาเพียงอย่างเดียวเพียงพอหรือที่จะทำให้เขาสามารถเลือกแนวทางที่ถูกต้อง เราได้เห็นมากมายแล้วไม่ใช่หรือ ที่คุณธรรมของคนหนึ่ง อาจเป็นการกดขี่ของอีกคนหนึ่ง ความดีงามของอีกคนหนึ่ง อาจเป็นการกดขี่ของอีกคนหนึ่ง
หากเรามองในมุมกว้างกว่านี้ ความขัดแย้งของคนสองกลุ่ม ไม่ได้เกิดจากการอ้างคุณธรรมหรือ และหากเรามองให้กว้างเข้าไปอีก สงคราม คือ คำตอบที่ดีที่สุด ที่ชี้ให้เห็นถึงประเด็นนี้ มนุษย์ทำสงคราม โดยอ้างความเป็นธรรมเสมอ ดังนั้น แนวทางนี้ จึงไม่สามารถที่จะให้คำตอบอย่างหนักแน่น และมั่นคงได้ว่า หากไร้ศาสนาแล้ว คนจะเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง
ขอขอบคุณ เว็บไซต์อัซซะฮ์รอไทยแลนด์
เรียบเรียงโดย เชคญะมาลุดดีน ปาทาน