๑. รากความศรัทธา ๓ ประการ
บางครั้งรากความศรัทธาสามประการได้อธิบายไว้ในซูเราะฮฺ (บท) เดียวกัน เช่นซูเราะฮฺยาซีน เริ่มต้นซูเราะฮฺได้อธิบายถึงสถานภาพของนบูวัตร (การเป็นศาสดา) แท้จริง เจ้าเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ถูกส่งมาอย่างแน่นอน (إِنَّكَ لَمِنَ الْمُرْسَلِينَ ) หลังจากนั้นได้อธิบายถึงวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดว่า
(فَسُبْحَانَ الَّذِي بِيَدِهِ مَلَكُوتُ كُلِّ شَيْءٍ وَإِلَيْهِ تُرْجَعُونَ
ดังนั้น มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ซึ่งพระหัตถ์ของพระองค์มีอำนาจเหนือทุกสิ่งและยังพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจะถูกนำกลับไป[๑]
บางครั้งรากความศรัทธาได้ถูกอธิบายไว้ในโองการเดียวกัน อย่างเช่นโองการในซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺกล่าวว่า
آمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنزِلَ إِلَيْهِ مِن رَّبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّآمَنَ بِاللّهِ وَمَلآئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لاَ نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍمِّن رُّسُلِهِ وَقَالُواْ سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَالْمَصِيرُ
เราะซูล ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขา จากพระผู้อภิบาลของเขา และบรรดาผู้ศรัทธาทุกคนศรัทธาในอัลลอฮฺ และมะลาอิกะฮฺของพระองค์ และคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์ และเราะซูลทั้งหลายของพระองค์ เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาร่อซูลของพระองค์ และเขาทั้งหลายกล่าวว่า เราได้ยิน และเชื่อฟังปฏิบัติตาม การอภัยโทษจากพระองค์ (เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา) โอ้พระผู้อภิบาลของพวกเรา และยังพระองค์นั้น คือ การกลับไป[๒]
อัล-กุรอานประโยคที่ว่า ผู้ศรัทธาทุกคนศรัทธาต่ออัลลอฮฺ แสดงให้เห็นถึงหลักความศรัทธาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ประโยคที่ว่า เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาร่อซูลของพระองค์ เป็นการอธิบายถึงความเชื่อที่มีต่อนบูวัต (ฐานะภาพการเป็นศาสดา) ส่วนประโยคที่กล่าว่า และยังพระองค์นั้น คือ การกลับไป เป็นหลักความเชื่อที่มีต่อมะอาด (วันแห่งการฟื้นคืนชีพเพื่อรอรับการสอบสวน)
๒. ความไม่สงสัยต่อพระผู้สร้างและวันฟื้นคืนชีพ
อัล-กุรอานได้ห้ามไม่ให้มีความสงสัยต่อคำสั่ง ๓ ประการดังต่อไปนี้ อัลลอฮฺ วันกิยามะฮฺ (อวสานของโลก) และอัล-กุรอาน พระองค์ได้อธิบายเหตุผลสำหรับผู้ที่มีความสงสัยและลังเลใจว่า
๒.๑. ต้องไม่สงสัยต่อการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ตรัสถามด้วยความสงสัยว่าพวกเจ้ายังมีความสงสัยต่อพระผู้เป็นเจ้าอีกหรือ ขณะที่พระองค์คือผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและฃแผ่นดิน อัลกุรอานกล่าวว่า
أَفِي اللّهِ شَكٌّ فَاطِرِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ
มีการสงสัยในอัลลอฮฺ พระผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินกระนั้นหรือ
๒.๒. ต้องไม่สงสัยเกี่ยวกับวันแห่งการอวสานของโลกและวันฟื้นคืนชีพ
อัล-กุรอานกล่าวว่า
ربّنا إِنَّكَ جَامِعُ النَّاسِ لِيَوْمٍ لاَّ رَيْبَ فِيهِ إِنَّ اللّهَ لاَيُخْلِفُ الْمِيعَادَ
โอ้พระผู้อภิบาลของพวกเรา แท้จริงพระองค์นั้น เป็นผู้ชุมนุมมนุษย์ทั้งหลายในวันหนึ่ง ซึ่งไม่มีการคลางแคลงในวันนั้นแท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงผิดสัญญา[๓]
พระองค์ตรัสอีกว่า พระองค์ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากดินโดยกล่าวว่า
يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِن كُنتُمْ فِي رَيْبٍ مِّنَ الْبَعْثِ فَإِنَّاخَلَقْنَاكُم مِّن تُرَابٍ
โอ้ มนุษย์เอ๋ย หากสูเจ้ายังอยู่ในการคลางแคลงใจ เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีพ แท้จริงเราได้บังเกิดพวกเจ้าจากดิน[๔]
๒.๓. ต้องไม่มีความสงสัยเกี่ยวกับ อัล-กุรอานเด็ดขาด เนื่องจากได้ถูกประทานมาจากพระผู้เป็นเจ้า อัล-กุรอานกล่าวว่า “ไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงใด ๆ ในนั้นเป็นทางนำสำหรับผู้ยำเกรงทั้งหลาย”(อัล-บะเกาะเราะ/๓) เนื่องจากอัล-กุรอานได้กล่าวถ้าทายมนุษย์ทุกคนว่า ถ้าหากสูเจ้ามีความสงสัยในอัล-กุรอาน ก็จงประดิษฐ์สิ่งที่คล้ายคลึงกันขึ้นมาสักบท หรือสักโองการหนึ่งก็ได้ อัล-กุรอานกล่าวว่า
และหากสูเจ้ายังอยู่ในการคลางแคลงจากสิ่งที่เราได้ลงมา แก่บ่าวของเรา ดังนั้นจงนำมาสักบทหนึ่งเยี่ยงนั้น และจงชักชวนผู้ช่วยเหลือของเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮฺหากสูเจ้าเป็นผู้สัตย์จริง[๕]
๓. ธรรมชาติการรู้จักพระผู้เป็นเจ้า
อัล-กุรอานกล่าวถึงธรรมชาติการรู้จัก และการถวิลหาพระผู้เป็นเจ้าของมนุษย์ว่า เป็นความเป็นความเคยชินดั้งเดิมของมนุษย์ว่า
فَأَقِمْ وَجْهَكَ لِلدِّينِ حَنِيفًا فِطْرَةَ اللَّهِ الَّتِي فَطَرَ النَّاسَعَلَيْهَا لَا تَبْدِيلَ لِخَلْقِ اللَّهِ
ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาที่เที่ยงแท้ ธรรมชาติของอัลลอฮฺคือการสร้างมนุษย์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของอัลลอฮฺ [๖]
ตราบที่ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ตื่นตัว เขาจะเรียกร้องหาพระผู้เป็นเจ้าและสำนึกเสมอว่าทุกสิ่งล้วนมาจากรพระองค์ เพียงแต่ในบางครั้งอาจจะหลงลืมความจริงเหล่านี้ไปบ้าง เนื่องจิตใจได้ผูกพันกับวัตถุปัจจัยทางโลก ในที่สุดหัวใจได้ลืมอัลลอฮฺ (ซบ.) และเมื่อใดที่ปัญหาหรือความยากลำบากต่าง ๆ ได้ถาถมเข้ามาจะทำให้เขาหมดความหวังและสิ้นกำลังใจ
وَإِذَآ أَنْعَمْنَا عَلَى الإِنسَانِ أَعْرَضَ وَنَأَى بِجَانِبِهِ وَإِذَامَسَّهُ الشَّرُّ كَانَ يَؤُوسًا
และเมื่อเราให้ความโปรดปรานแก่มนุษย์เขาเหินห่างและปลีกตัวออกไป และเมื่อความชั่วประสบแก่เขาเขาก็เบื่อหน่ายหมดอาลัย[๗]
ด้วยแหตุนี้ ถ้าสังเกตจะเห็นว่าสภาพของมนุษย์นั้นมี ๒ ลักษณะกล่าวคือ ฟิฎริ (ธรรมชาติ) และอาดียฺ (ทั่วไป) บนพื้นฐานของสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดนั้นคือ ธรรมชาติดั้งเดิมาของมนุษย์ ฉะนั้นไม่ว่าเขาจะตกอยู่ในสภาพเช่นใดก็ตามทุกข์ สุข มีการดำเนินชีวิตที่สะดวกสบาย หรือต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ และการทดสอบ จิตใจของเขาจะผูกพันอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา แม้ว่าในบางครั้งอาจจะหลงลืมธรรมชาติดั้งเดิมของตน หมกมุ่นอยู่กับการสั่งสมปัจจัยทางโลก เช่น ทรัพย์สิน ตำแหน่งลาภยศบารมี หรือลูกหลาน แต่เมื่อได้ประสบกับเหตุการณ์ที่ขมขื่น หรือปัญหาหนักมันจะช่วยปลุกให้เขาตื่นจากความหลงลืมเหล่านั้น และกลับมาสู่ธรรมชาติดั้งเดิมของตน
وَإِذَا مَسَّكُمُ الْضُّرُّ فِي الْبَحْرِ ضَلَّ مَن تَدْعُونَ إِلاَّ إِيَّاهُ
และเมื่อทุกขภัยประสบแก่พวกเจ้าในท้องทะเล ผู้ที่พวกเจ้าเรียกร้องเขาก็จะสูญหายไปยกเว้นพระองค์เท่านั้น[๘]
وَإِذَا مَسَّ الإِنسَانَ الضُّرُّ دَعَانَا لِجَنبِهِ
และเมื่ออันตรายประสบกับมนุษย์เขาก็จะวิงวอนขอเราในสภาพนอนตะแคง[๙]
สรุปว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนมักเรียกร้องหาพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา เพียงแต่ในบางครั้งเมื่อมีความสุขสบายก็จะลืมพระองค์ แต่เมื่อประสบกับปัญหาหรือการทดสอบก็จะกลับมานึกถึงพระองค์ เพื่อให้พระองค์ช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นแก่เขา และเพื่อให้เขาบรรลุสู่เป้าหมายอย่างเร็วไวเขาจะสัญญาต่าง ๆ นานากับพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
لَّئِنْ أَنجَانَا مِنْ هَذِهِ لَنَكُونَنَّ مِنَ الشَّاكِرِينَ
ถ้าหากพระองค์ทรงช่วยเราให้รอดพ้นจากสิ่งนี้ แน่นอนพวกเราก็จะเป็นหนึ่งจากบรรดาผู้กตัญญูรู้คุณ[๑๐]
เป็นที่แน่นอนสิ่งเหล่านี้ มันขึ้นอยู่กับบทบาทของมนุษย์ทางสังคมว่าจะมีพฤติกรรมอย่างไร และเพื่อส่งเสริมความต้องการของตนเอง มนุษย์จะทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุตามความปรารถนา บางครั้งต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทองมหาศาล เสียมิตร เสียคนใกล้ชิด หรือเสียอุดมการณ์มนุษย์ก็ยอม ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่า แม้แต่การสร้างความสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้ามนุษย์ก็จะทำเช่นนี้ ขณะที่พระองค์ทรงปราศจากความต้องการใด ๆ การผินหน้าไปยังพระผู้เป็นเจ้าทั้งในยามที่มีความจำเป็น หรื่อมีความยากลำบาก นั้นเป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นถึง การมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า และความต้องการของมนุษย์ไปยังพระองค์ ดังที่กลุ่มชนของศาสดามูซา (อ.) ได้ปฏิบัติ เพราะเมื่อพวกเขาประสบภยันตรายกลางท้องทะเล พวกเขาได้เรียกหาพระองค์ แต่ทันใดที่พวกเขาถึงฝั้งพวกเขาได้ลืมและบูชาสิ่งอื่นแทนพระองค์
๔. ธรรมชาติที่เปล่งบานเมื่อตกอยู่ในอันตราย
هُوَ الَّذِي يُسَيِّرُكُمْ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ حَتَّى إِذَا كُنتُمْ فِي الْفُلْكِ وَجَرَيْنَ بِهِم بِرِيحٍ طَيِّبَةٍ وَفَرِحُواْ بِهَا جَاءتْهَا رِيحٌعَاصِفٌ وَجَاءهُمُ الْمَوْجُ مِن كُلِّ مَكَانٍ وَظَنُّواْ أَنَّهُمْ أُحِيطَبِهِمْ دَعَوُاْ اللّهَ مُخْلِصِينَ لَهُ
พระองค์ผู้ทรงให้พวกท่านเดินทางโดยทางบกและทางทะเล และเมื่อพวกท่านอยู่ในเรือ มันได้นำพวกเขาแล่นไปด้วยลมที่ดี และพวกเขาดีใจ ทันใดนั้นลมพายุได้พัดกระหน่ำ และคลื่นซัดเข้ามายังพวกเขา จากทุกด้าน และพวกเขาคิดว่า แท้จริงพวกเขาถูกล้อมด้วยสิ่งเหล่านี้พวกเขาจึงวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ว่า[๑๑]
มีชายคนหนึ่งได้ไปหาท่านอิมามซอดิก (อ.) เพื่อให้ท่านพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า
ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ท่านเคยอยู่ในเรือท่ามกลางพายุคลื่นที่พัดโหมกระหน่ำกลางทะเลบ้างไหม
เขาตอบว่าใช่ ฉันเคยตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น
ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ตอนนั้นจิตใจของท่านได้มุ่งอยู่ไปยังสิ่งหนึ่งใช่ไหม ท่านได้ร้องเรียก และวิงวอนต่อเขา
เขาตอบว่า ใช่ ฉันได้ทำเช่นนั้น
ท่านอิมาม (อ.) พระผู้เป็นเจ้าก็คือ พระผู้ซึ่งท่านได้ร้องเรียกพระองค์ในยามที่ท่านไม่มีใครอื่นอีกแล้ว
[๑] ยาซีน / ๘๓
[๒] อัล-บะเกาะเราะฮฺ /๒๘๕
[๓] อาลิอิมรอน / ๙
[๔] ฮัจญฺ / ๕
[๕] อัล-บะเกาะเราะฮฺ/๒๓
[๖] อัร-โรม / ๓๐
[๗] อัล อิซรอ / ๘๓
[๘] อัล อิซรอ / ๖๗
[๙] ยูนุซ / ๑๒
[๑๐] อัล-อันอาม / ๖๓
[๑๑] ยูนุซ / ๒๒