ตะเซาวุร
ทบทวนเนื้อหาก่อนหน้านี้
(๑) เรื่องที่ควรรู้เป็นพื้นฐานก่อนเข้าสู่บท ความรู้โดยอ้อม คือ คำศัพท์พื้นฐาน เพื่ออ่านบทให้เข้าใจ
(๒) คำศัพทพื้นฐานชุดแรก คือ คำว่า มะฟอฮีมกุลลีย์ กับ มะอฺกูลอตมันติกีย์ ซึ่งทั้งสองมีจุดร่วมเดียกัน คือ เป็นมโนทัศน์หรือความเข้าใจที่ไม่ได้เกิดจากช่องทางประสาทสัมผัส แต่เกิดจากช่องทางของสติปัญญา ซึ่งจะเป็นการแสดงนัยให้เห็นว่า ปรัชญาอิสลาม คือ ปรัชญาที่ศึกษาความรู้ในช่องที่เกิดจากปัญญาในอนาคต
ตะเซาวุร
ตะเซาวุร และ ตัศดี้ก คือ คำศัพท์ภาษาอาหรับสองคำที่สื่อถึง ประเภทของความรู้
1. ในพจนานุกรมปรัชญาไทย จากการค้นคว้าพบว่า ตะเซาวุร(تصّور)ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า Apprehension / Conceiving ในพจนานุกรมอังกฤษไทยปรัชญา Apprehension หมายถึง ความรู้ขั้นต้น : ความตระหนักหรือความเข้าใจเกี่ยวกับการปรากฎของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยจิต ขณะไม่มีความสัมพันธ์กับการตระหนักคือเข้าใจสิ่งอื่น ; การรับรู้โดยตรง ตรงกันข้ามกับ Comprehension (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.52) นอกจากนี้ยังมีคำที่ใกล้เคียงกันระบุไว้คือคำว่า Appearance หมายถึง สภาพปรากฎ แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม
ก) สภาพปรากฎ โดยทั่วไปโดยไม่พิจารณาว่าสภาพปรากฎนั้นศึกษากันในวิชาใดวิชาหนึ่งเฉพาะ หมายถึงการแสดงหรือการปรากฎต่อผู้สังเกต มีความหมายตรงตัวกับคำๆนั้น
ข) สภาพปรากฎใน ญาณวิทยา หมายถึง สภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัส หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันทางจิตหรืออัตวิสัยของสิ่งในตัวเอง (thing-in-itself) หรือ วัตถุที่รู้สึกได้โดยประสาทสัมผัสที่เป็นอยู่ มีอยู่ หรือเป็นไปได้ในอวกาศกับกาลที่สัมพันธ์กันโดยปทารถะ/ประเภท (คานท์) ซึ่งในนิยามนี้สภาพปรากฎจะต่างจากภาพลวงตา/มายาโดยภววิสัย/ปรวิสัยของตัวเอง หรือความมีเหตุมีผลทางตรรก
ค) สภาพปรากฎใน อภิปรัชญา ระดับของความจริงและความเป็นจริง ; การตัดสินความเป็นจริงที่ไม่ครบถ้วนและขัดแย้งในตัวเอง(เจษฎา ทองรุ่งโรจน์,2014,น.52)
2. ในพจนานุกรมปรัชญาทางสายของมุลลาศอดรอ ระบุว่า ตะเซาวุร เป็นคำที่ใช้ร่วมกันในสองตำแหน่ง ได้แก่
ก) สิ่งปรากฎโดยรวมในจิต/ความคิดซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ความรู้/การรับรู้ ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทอันได้แก่ ตะเซาวุร และตัสดี๊ก และมีการกล่าวเรียกอีกชื่อว่า อัตตะเซาซุรมุตลัก และ ตะเซาวุรลาบิชัรฏ เช่นกัน
ข) ใช้ในความหมายของ การปรากฎของสิ่งหนึ่งในจิต/ความคิด โดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ คือ การไม่เทียบกับไปในทางใดทางหนึ่ง และมีการกล่าวเรียกอีกชื่อว่า ตะเซาวุรบริสุทธิ์ หรือ ตะเซาวุรบิชัรฏิลา
ศอดรุลมุตะอัลลีฮีน เชื่อว่า เนื่องจากตะเซาวุร มีรากศัพท์มาจากคำว่า ซูเราะฮ์(ภาพ)ซึ่งสำหรับคนทั่วไป มันคือตำแหน่งโครงสร้างทางกายภาพสำหรับร่างกาย และเนื่องด้วยปวงปราชญ์มีความเห็นว่า ความหมายที่หลากหลายของมันสามารถรวมกันเป็นเอกภาพในความหมายเดียวกันได้ ซึ่งมันคือการชี้ถึงสิ่งหนึ่งหลังจากที่มันกลายเป็นสิ่งนั้นในเชิงสัมฤทธิ์แล้ว ด้วยเหตุนั้นเอง มันจึงถูกเรียกว่า ภาพเชิงความรู้ของสรรพสิ่ง(ญะอฺฟัร ซัญญาดีย์ ,2005,น.138)
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจปรัชญาการเมืองและศาสนา