ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 17
มนุษย์ 250 ปี
หมายเลข 81
หมวดที่ 1 ยุคต้นแห่งอิมามัต
บทที่ 9 ชีวิตและบุคลิกภาพของอมีรุลมุอฺมีนีน อลัยฮิสลาม
ความเดิม
ในช่วง 13 ปีแรกที่ศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)อาศัยอยู่ในเมืองมักกะฮ์ ท่านถูกกลั่นแกล้งจากผู้อธรรมหลากหลายรูปแบบวิธีการ ในช่วงเวลาเดียวกัน ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน (อ)คือ บุคคลที่แสดงบทบาทในการปกป้องท่านศาสดา (ศ็อล)อยู่เสมอ และท่านได้เลือกพลีทุกสิ่งเพื่อภารกิจนี้ แม้แต่ชีวิตของท่านเอง ดั่งในเหตุการณ์ลัยลาตุลมะบีต จึงกล่าวได้ว่า อิมามอาลี(อ) คือ ผู้มาก่อนใครในการตอบรับปกป้อง พิทักษ์ เผยแพร่แนวทางแห่งอิสลาม
หัวข้อใหม่ ความอดทนของท่านศาสดา(ศ็อล) และท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)เพื่อทำให้รากแห่งอิสลามเจริญเติบโต
การถูกตี การอดทนต่อปัญหาอุปสรรค การเข้าสู่สนามรบแห่งการต่อสู้ ส่วนที่สำคัญยิ่งกว่าไม่ใช่การต่อสู้ในทุกรอบด้าน แต่ส่วนสำคัญยิ่งกว่า คือ การห้ามและการปิดกั้นจากความรัก การปิดกั้นจากเกียรติยศในสายตาของผู้คน การดูถูกเหยียดหยาม จะเห็นว่าคนมากมายพร้อมเข้าสู่สนามรบ พร้อมที่จะฟาดฟันและถูกฟาดฟัน พร้อมที่จะพลีชีวิตของตน แต่ไม่มีความสามารถพอจะรับการดูถูกเหยียดหยามได้ ไม่อาจทนกับการถูกก่นด่าประนามได้ นี่คือจุดอ่อนของพวกเขา แต่กับตัวของท่านศาสดา (ศ็อล)และตัวตนฉบับที่สอง(()ตัวตนของท่านศาสดา( ศ็อล) ())อย่างท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)นั้นเป็นบุคคลที่แสดงตนอยู่ในวาระสุดท้ายของสนามรบที่ยังโดนดูถูกเหยียดหยาม ถึงกระนั้นการเหยียดหยามเหล่านี้ ก็ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อพวกเขา ไม่อาจทำให้พวกเขาต้องถอยร่นได้ แม้พวกเขาจะถูกปฏิเสธ แต่การปฏิเสธก็ไม่อาจทำให้เจตนำนงค์อันเข้มแข็งแกร่งกล้าของพวกเขาต้องด่างพร้อย การที่พวกเขายืนหยัดจนทำให้รากฐานนี้(อิสลาม)งอกเงยและเติบโตนั้นมาพร้อมด้วยอุปสรรคมากมาย มันต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อให้รากนี้งอกเงยและเจริญเติบโต
สรุปประเด็น
อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ให้เห็นว่าในช่วงยุคต้นของอิสลาม ภารกิจของศาสดา (ศ็อล) และท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)ไม่ได้เพียงแค่การต่อสู้ด้านเดียว แต่ยังมีด้านความอดทนอดกลั้นที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน มีหลายคนยอมตาย ยอมเข้าสู้ในสนามรบ แต่ทนฟังการดูถูกเหยียดหยามไม่ได้ แต่กับทั้งสองท่านพวกท่านไม่เพียงแต่จะยืนเป็นคนสุดท้ายของสนามรบ แต่ยังอดทนอดกลั้นต่อการดูถูกเหยียดหยามและการก่นด่าประนามด้วยเช่นกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้รากฐานของอิสลามเจริญเติบโตงอกงาม
อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 80