ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 22
  • ชื่อ: ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 22
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 14:16:43 2-9-1403

 
ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 22


หมวดที่1 ยุคต้นแห่งอิมามัต
บทที่9 ชีวิตและบุคลิกภาพของอมีรุลมุอฺมีนีน อลัยฮิสลาม
หมายเลข 86 ทหารประเภทที่สอง ผู้อ่อนน้อม และไม่โอ้อวดตนเอง และกรณีการประกาศศักดาของ ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน  (อ)
ความเดิมตอนที่แล้ว : อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ว่า สนามศึก เป็นหนึ่งบททดสอบ แต่ไม่ได้หมายความว่า การทดสอบนี้จะจบลงแค่ในสนามรบ หลังศึกก็มีบททดสอบเช่น ท่านชี้ว่า ผู้ที่ผ่านสงครามมีสองรูปแบบ  
แบบแรกคือ ผู้ที่พูดจาพร่ำเพรื่อ อยากได้ยิน อยากได้ฟัง ผู้คนมายกย่องสรรเสริญ ในวีรกรรมที่ตนเองไม่ได้ทำ หรือ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ

หัวข้อ ทหารประเภทที่สอง ผู้อ่อนน้อม และไม่โอ้อวดตนเอง
คนอีกประเภท เหมือนท่านอมีรุลมุอฺมีนีน  (อ)  พวกเขามีความอ่อนน้อมถ่อมต้น ไม่โอ้อวดตนเอง ดาบถูกชักออกจากฝัก แต่ไม่ใช่เพื่อเรียกร้อง(ถ้อยคำสรรเสริญเยินยอ)
ข้าพเจ้าได้สังเกตชีวิตของ ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน  (อ)  ไปจนถึงจุดที่พบว่า มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่ ท่านอมีรุลมุอฺนีน  (อ)  ได้อวดศักดาตนเองในช่วงวัยหนุ่มของท่าน แน่นอนบางคนอาจอวดศักดาตัวเองในหลากหลายวาระ แต่กับ ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน  (อ)  แล้ว ข้าพเจ้าเห็นเพียงแค่ครั้งเดียวที่ผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอมีรุลมุอฺมีนีน  (อ)  ท่านนี้ได้ประกาศศักดาตนประหนึ่งมนุษย์จอมพลัง นั่นคือเมื่อครั้งที่ท่านต้องรบกับ อัมรู บิน อับดุด
ในครั้งนั้น ท่านได้เชิดหน้ากำดาบไว้ในมือและพุ่งเข้าใส่ศัตรูของตน ท่านศาสดา  (ศ็อล)  ผู้ซึ่งเห็นเหตุการณ์ในครานั้นได้กล่าวว่า (هذه مِشیَة)นี่คือ วิถี นี่คือหนทาง [1] ที่(ปกติการอวดตนจะเป็นเรื่องที่)พระผู้เป็นเจ้าจะพิโรธในทุกกรณี ยกเว้นกรณีนี้ของ ท่านอิมามอาลี  (อ)   (ซึ่งถูกยกย่องสรรเสริญ) คำถามคือ การอวดศักดาตนในแบบที่ผู้คนพูดกันนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยไหม ? ไม่เลย นี่คือ แบบฉบับ นี่คือ ตัวอย่าง เพราะนี่คือการประกาศศักดาของตนต่อหน้าศัตรู ,นี่คือการแสดงให้เห็นเกียรติยศศักดิ์ศรีของตนต่อหน้าศัตรูซึ่งตัวตนของอีกฝ่ายมีความหยิ่งยโส มีความหยิ่งผยองเป็นรากฐาน อัมรู บิน อับดุด เป็นคนแบบนี้ เขาเป็นผู้อาวุโส ที่ตลอดชีวิตไม่ว่าจะหันดาบไปทางไหน อีกฝ่ายก็จะต้องลงไปกองกับพื้นเสมอ มันหยิ่งผยองเช่นนี้ ในสงครามอะฮ์ซาบที่กินเวลาประมาณหนึ่งเดือน ไม่มีใครสามารถฝ่าทะลวงผ่านสนามเพลาะได้ เพราะท่านศาสดา  (ศ็อล)  ได้จัดทหารยามลาดตระเวนตลอดแนวสนามเพลาะซึ่งมีความยาวหลายกิโลเมตรเพื่อไม่ให้ใครทะลวงผ่านเข้ามาได้ เพราะถ้าหากไม่ทำเช่นนั้นแล้วสนามเพลาะก็จะไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจากการขุดหลุม อย่างไรก็ตามสุดท้ายก็มีคนกลุ่มหนึ่งฝ่าทะลวงผ่านเข้ามาจากทางฝั่งบน ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้แต่ประการใดเลย คำถามคือ(ก่อนหน้านี้)ทำไมอีกฝ่ายถึงฝ่าเข้ามาไม่ได้ ? นั่นก็เป็นเพราะการยิงธนูสกัดของ ท่านศาสดา  (ศ็อล)  ในค่ำคืนที่มืดสนิทในช่วงที่อากาศหนาวเย็น ในปีนั้นอากาศในมะดีนะฮ์หนาวจนยากที่จะนอนหลับและยังมีปัจจัยเรื่องความหิวโหย ความอดยากและอุปสรรคอื่นๆอีกด้วย (ในช่วงเวลาดังกล่าว) พวกเขาได้ยิงธนูสกัดอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถทะลวงเข้ามาเผด็จศึกให้จบได้ภายในเดือนเดียวได้ แต่มีกรณีเดียวที่ทำได้ คือ การทะลวงเข้ามาของนายคนนี้กับทหารอีกสองสามคน นายคนนี้มาด้วยความผยอง กล่าวในอีกบริบทได้ว่า ความหยิ่งผยองแทบจะเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในบุคลิกภาพของเขา อีกฝั่งหนึ่ง(เมื่อนายคนนี้ฝ่าทะลวงเข้ามาได้)พวกเขา(ฝ่ายข้าศึก)ถึงกับพูดกันว่า จบแล้วปัญหาเรื่องมะดีนะฮ์ (เพราะเชื่อว่า อัมรู บิน อับดุดจะตีเมืองแตกอย่างแน่นอน) อย่างไรก็ดี สงครามอะฮ์ซาบนับเป็นสงครามที่สำคัญ ซึ่งในทัศนะของข้าพเจ้า สงครามนี้เป็นสงครามที่สำคัญที่สุดหากนับตั้งแต่ศึกแรกจนถึงศึกสุดท้ายของ ท่านศาสดา  (ศ็อล)   มันเป็นสงครามที่แปลกมาก เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีคนรวมพลกันเพื่อสู้กับ ท่านศาสดา  (ศ็อล)  มากถึงขนาดนี้มาก่อน และเมื่อคนกลุ่มนี้ฝ่าเข้ามาได้(กลุ่มที่มียักษ์ทะเลทราย) ศึกนี้ก็จะจบลง แล้วก็จะถึงเวลาถอยทัพกลับ พวกเขาจึงระดมพลกันเพื่อการนั้น(กล่าวคือ ฝั่งข้าศึก ถึงกลับเตรียมตัวกลับบ้าน เพราะคิดว่า ถ้าอัมรู บิน อับดุด ทะลวงเข้ามาได้จะชนะศึกนี้)
ท่ามกลางสถานการณ์ศึกเช่นนี้เอง เหล่ากุเรช และฆัฏฟาน[2] ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถฝ่าเข้ามาและก้มหน้าสิ้นหวังทำอะไรไม่ได้แล้ว ต่างกรูกันเข้ามาและรอคอยเหมือนฝูงหมาป่า ต่างก็แสดงความหยิ่งผยองลำพองตน ตรงนี้เอง การจะเผชิญหน้ากับคนแบบนี้ ต้องอาศัยความเคลื่อนไหวของพระเจ้า นี่คือสถานการณ์ที่ความหยิ่งผยองกำลังเผชิญหน้ากับการประกาศศักดา(ของท่านอิมาม) ท่านอิมามอาลี  (อ)  ได้แสดงให้เห็นถึงการอวดศักดาตนซึ่งมิใช่เป็นเรื่องโมฆะด้วย ท่านได้ทุ่มมันลงพื้น นั่งทับหน้าอกของมัน และตัดศรีษะของมัน เรื่องทั้งหมดจึงสิ้นสุดลง ส่วนฝ่ายข้าศึก
)فَأَرْسَلْنَا عَلَيْهِمْ رِيحًا وَجُنُودًا لَّمْ تَرَوْهَا(
แล้วเราได้ส่งลมพายุพัดใส่พวกเขา และกำลังทหารที่พวกเจ้ามองไม่เห็น[3] ข้าศึกต่างก็ถ่อยหนีจากไป
สรุป ทหารประเภทที่สองคือ บุคคลประเภทที่อ่อนน้อมถ่อมต้น ไม่โฆษณาตนเอง เหมือนท่านอมีรุลมุอฺมีนีน  (อ)  พวกเขามีความอ่อนน้อมถ่อมต้น ไม่โอ้อวดตนเอง ดาบถูกชักออกจากฝัก แต่ไม่ใช่เพื่อเรียกร้อง(ถ้อยคำสรรเสริญเยินยอ) แต่เพื่อพระผู้เป็นเจ้า อิมามคาเมเนอีย์ชี้ว่า มีเพียงครั้งเดียวที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า ท่านอิมามอาลี  (อ)  ได้ประกาศศักดาตนเอง คือ เมื่อครั้งที่ท่านต้องต่อสู้กับยักษ์ทะเลทราย อัมรู บิน อับดูด ซึ่งเป็นการอวดศักดาของตนในแบบที่พระองค์อัลลอฮ์  (ซ.บ)  ทรงยอมรับ เพราะการประกาศศักดาของท่านอิมามอาลี  (อ)  ในวันนั้น คือ การประกาศศักดาของอิสลามในการเผชิญหน้าความหยิ่งผยองและความลำพองตนของศัตรูของท่านศาสดามูฮัมมัด  (ศ็อล)
เชิงอรรถในหนังสือ
[1] ชะวาฮิดุตตันซีลลิกอวาอิดอัตตัฟฎีล(ฮากิมฮะซะกานี มรณะ ฮศ 490) / ซิกรุมานะซะลาฟีฮีมมินัลกุรอ่านอะลัตตัฟซีล/วะมินซูเราะติลอะฮ์ซาบ อายะ 25 )
[2] ชนเผ่าทะเลทรายที่อาศัยอยู่บริเวณเมือง นัจด์ 100 กม ทางตะวันออกของเมืองมะดีนะฮ์ นักธนูของพวกฆัตฟานได้ปรากฎตัวในวาดีอัลกุรอ,เขตแดนของยิว,บริเวณใกล้คัยบัร พวกเขาทำสัญญาธนูเป็นพันธมิตรกับยิวแห่งคัยบัร,บนีกุรัยเซาะฮ์และบนีนะฎีรในยัซริบ พวกเขามีบทบาทในการรวบร่วมกับกุเรชเพื่อทำศึกกับมุสลิมในหลายวาระ เช่น ในสงครามอะฮ์ซาบ
[3] ซูเราะฮ์อะฮ์ซาบ โองการที่ 9
อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 75-76