ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 8
  • ชื่อ: ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 8
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 10:50:58 14-10-1403

ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 8

 

มนุษย์ 250 ปี 
หมายเลข72
บทที่ 7 ภาพรวมของประเด็นต่างๆในหนังสือเล่มที่สาม

มีสามประเด็น
1) คือ การร้องขอให้อิมามทำการปฏิวัติโดยบรรดาชีอะฮ์เป็นสิ่งที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์
2)การส่งสายลับของอับบาซียะฮ์เข้าไปสืบความเคลื่อนไหวเรื่องการปฏิวัติของอิมามมะศูม
3) อิมามคาเมเนอีย์ สอนเราให้อ่านความคิดของศอฮาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดและชีอะฮ์ในยุคนั้นผ่านตัวบทและคำพูดของพวกเขา เพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายของอิมามผ่านมุมมองของสาวกชั้นในกับชีอะฮ์ในยุคนั้น
     เมื่อนำสามประเด็นรวมกัน ได้แก่ ท่าทีของสาวก การส่งสายลับเข้ามาสืบข่าวโดยศัตรู และตัวบทคำพูดของสาวกผู้ใกล้ชิด ทั้งสามองค์ประกอบได้แสดงให้เห็นว่า อิมามแห่งอะฮลุลบัยต์คือบุคคลที่พร้อมปฏิวัติและต่อสู้กับผู้ปกครองผู้อธรรมเสมอในเวลาและสถานการณ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม ดั่งที่จะเห็นว่าบทสนทนาของซูรอเราะฮ์จะไม่เกิดขึ้น หากเขาไม่เห็นว่า การกิยามของอิมามนั้นพร้อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
______________________________________________
 หัวข้อใหม่ การสืบหาว่าทำไมพวกผู้ปกครองถึงเกลียดชังต่อบรรดาอิมาม
อีกประเด็นหนึ่งคือการศึกษาหาคำตอบว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้บรรดาพวกผู้ปกครองถึงมีความเกลียดชัง มีความอาฆาตมาดร้ายต่อบรรดาอิมามมะอฺศูม  ท่านคิดว่าสาเหตุมีแค่ความอิจฉาต่อตำแหน่งทางจิตวิญญาณและความผูกพันธ์ของมวลชนที่มีต่ออิมามเพียงเท่านั้นหรือ ? หรือ ยังมีปัจจัยอื่นอีก ? เรื่องหนึ่งที่ไม่ต้องสงสัยเลย คือ บรรดาอิมาม ล้วนตกเป็นเป้าแห่งความอิจฉาริษยาของผู้ปกครองและผู้อื่นเสมอ ในโองการหนึ่งที่ระบุว่า
«أَمْ یَحْسُدُونَ النَّاسَ عَلی ما آتاهُمُ اللهُ مِنْ فَضْلِهِ»
“หรือว่าพวกเขา อิจฉามนุษย์ผู้อื่นในสิ่งที่อัลลอฮ์ ทรงประทานให้แก่พวกเขาจาก(ฟัฎลฺ)ความกรุณาของพระองค์” [1]
ในเรื่องนี้มีรีวายัตที่อิมามพูดถึงตัวของพวกท่านเองว่า
«نحن المحسدون»  
นะฮนุล (เรา) อัลมะฮซีดูน (กลุ่มคนผู้ถูกอิจฉาริษยา) [2] กล่าวคือ อิมามยกโองการนี้เพื่อชี้ว่า พวกเขาคือ บุคคลที่ถูกผู้อื่นอิจฉาริษยาซึ่งถูกกล่าวถึงในโองการนี้ โองการนี้หมายถึงพวกเรา เราคือผู้ที่ถูกผู้อื่นอิจฉาริษยา.
สิ่งที่ต้องพินิจพิจารณาคือ หากอิมามถูกอิจฉา พวกเขาถูกอิจฉาริษยาในเรื่องอะไร ? อิจฉาที่พวกเขามีความรู้ มีตักวา มีความยำเกรงกระนั้นหรือ ? เราต่างก็รู้ว่าในยุคนั้นมีบัณฑิตผู้รู้ที่เลืองชื่อด้านความรู้และความสันโดษอยู่อย่างมากมาย ซึ่งผู้รู้เหล่านี้ต่างก็มีชื่อเสียงในคุณลักษณะเดียวกันกับที่อิมามมี(ความรู้,จิตวิญญาณ)และพวกเขา(ผู้รู้ในยุคนั้น)ก็ยังมีมวลชน และผู้สนับสนุนที่นิยมชมชอบในตัวพวกเขามากมายอีกด้วย เช่น อบูฮะนีฟะฮ์,อบูยูซุฟ,ฮะซัน บัศรีย์,ซุฟยาน เซารีย์,มูฮัมมัด บินชะฮาบ และบุคคลมากมายนับสิบๆคน ผู้รู้กลุ่มนี้ไม่เพียงแต่ผู้ปกครองจะไม่มีท่าทีรังเกียจชิงชัง แต่ยังแสดงท่าทีชื่นชมและแสดงความรักต่อพวกเขาเสียด้วยซ้ำ
ในทัศนะของเรา เหตุผลที่ผู้ปกครองเหล่านี้ชิงชังบรรดาอิมามอย่างรุนแรงจนถึงขั้นต้องสั่งฆ่า ต้องทำให้เป็นชะฮีด ต้องจับกุมคุมขัง หรือ เนรเทศ มันเป็นสิ่งที่ต้องสืบหาจากสาเหตุอื่นด้วย(ไม่ใช่ความริษยาเพียงด้านเดียว)และสาเหตุนั้นคือ #การแสดงฐานะความเป็นผู้นำอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม (ผู้รู้กลุ่มอื่นไม่แสดงตนว่าเป็นอิมามที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง แต่อิมามแสดงตนด้วยหลักฐานอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง) เพราะมันคือสิ่งที่บันฑิตผู้รู้คนอื่นๆไม่มี นี่คือประเด็นที่ควรสืบค้นและศึกษาเป็นอย่างยิ่ง 

อ้างอิง
[1] ซูเราะฮ์ นิซา โองการที่ ๕๔
[2] บิฮารุลอันวาร/กิตาบุลอิมามะฮ์/อับวาบุลอายาตินนาซิละฮ์ฟีฮีม/บาบ ๑๐/ฮาดิษ ๓๐
มนุษย์ ๒๕๐ ปี เล่ม ๓ หน้า  ๗๑