อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 9] “ตำแหน่งอิมาม[الإمامة]ผู้สืบต่อจากท่านศาสดามุฮัมมัด ศ.”
โดย เชคอันศอร เหล็มปาน
ตำแหน่งอิมามในทัศนะของมุสลิมชาวชีอะฮ์นั้น ถือเป็นรากฐานข้อหนึ่งของศาสนา(อุศูลุดดีน) เนื่องจากตำแหน่งนี้นับว่า มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงเพราะหมายถึงตำแหน่งประมุขของประชาชาติที่ประเสริฐ ซึ่งถูกนำออกมาเป็นตัวอย่างของมนุษยชาติทั้งหลาย สำหรับตำแหน่งประมุขสูงสุดนี้จะต้องประกอบด้วยความดีงามอย่างมากมายและต้องมีคุณสมบัติที่ดีเด่นเป็นพิเศษ กล่าวคือ ความรู้ ความกล้าหาญ ความสุขุม ความบริสุทธิ์ ความเอื้อเฟื้อ ความมักน้อย ความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. และความมีคุณธรรม ฯลฯ
อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 9] “ตำแหน่งอิมาม[الإمامة]สืบต่อจากท่านศาสดามุฮัมมัด ศ.”
อิมามในความหมายของมุสลิมชาว ชีอะฮ์
นิยามของอิมามในทัศนะของชีอะห์ คือ
«الْاِمٰامَةُ رِئٰاسَةٌ عٰامَّةٌ الٰهِيَّةٌ فٖى امُورِ الدّيٖنِ وَ الدُّنْيٰا»
ผู้นำสูงสุดในกิจการทั่วไปของพระผู้เป็นเจ้าในกิจการทางศาสนาและทางโลก
ฉะนั้นความหมาย อิมาม สำหรับเราชาวชีอะห์ คือ ผู้นำสูงสุดในกิจการทั่วไปของพระผู้เป็นเจ้า แทนที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ในกิจการทางศาสนาและทางโลก จึงจำเป็นสำหรับประชาชาติทั่วไป ต้องเชื่อฟังปฏิบัติตาม
الامامه هی الرئاسه العامّه الالهیّه خلافه عن رسول الله فی امور الدین و الدنیا بحیث یجب اتباعه علی کافّه الامّه
ซึ่งจะเห็นได้ว่า อิมาม ในความหมายของชีอะฮ์ จะแตกต่างจากอิมามในความหมายของชาวซุนนี่ห์อย่างสิ้นเชิง เพราะอิมามของชาวซุนนี่ห์ มีความหมายตามหลักภาษา คือ ผู้นำ เช่น อิมามญุมอะฮ์และญะมาอะฮ์ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงเชื่อถือว่า “ตำแหน่งอิมาม เป็นรากฐาน(อุซูล)ของศาสนาประการหนึ่ง”
ตำแหน่งอิมามถือเป็นรากฐาน(อุศูล)ของศาสนา
จากนิยามข้างต้น อิมาม ในความหมายของชีอะฮ์ จะแตกต่างจากอิมามในความหมายของชาวซุนนี่ห์อย่างสิ้นเชิง เพราะอิมามของชาวซุนนี่ห์ มีความหมายตามหลักภาษา คือ ผู้นำ เช่น อิมามญุมอะฮ์และญะมาอะฮ์ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ชีอะห์เราจึงเชื่อถือว่า “ตำแหน่งอิมาม เป็นรากฐาน(อุศูล)ของศาสนาประการหนึ่ง”
ความเชื่อในเรื่องอิมามของมุสลิมชาวชีอะห์ และชาวซุนนี่ห์
มุสลิมชาวชีอะฮ์เชื่อถือว่า :
ตำแหน่งอิมามนั้นถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้า ตามที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงสัญญาไว้กับบ่าวของพระองค์ที่ทรงเลือกสรรแล้วในหมู่ผู้มีคุณธรรม เพื่อจะได้ดำรงไว้ซึ่งบทบาทอันสำคัญยิ่ง เพียงแต่ว่าหมายถึงการเป็นผู้นำโลกภายหลังจากยุคนบี ศ. ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามอะลี บิน อบีฏอลิบ อ. จึงได้เป็นอิมามของบรรรดามุสลิมโดยการคัดเลือกของอัลลอฮ์ ซ.บ. โดยที่พระองค์วะฮ์ยู มายังศาสดาของพระองค์ เพื่อแต่งตั้งท่าน อ. จนเป็นที่รู้ในหมู่ประชาชน และแน่นอนท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้แต่งตั้งท่าน อ. และแนะนำประชาชาติไว้กับท่าน อ. หลังจากทำฮัจญ์ครั้งสุดท้ายที่เฆาะดีรคุม แล้วคนทั้งหลายก็มอบสัตยาบันให้แก่ท่าน อ.
ส่วนมุสลิมชาวซุนนี่ห์เชื่อถือว่า :
ตำแหน่งอิมามผู้นำประชาชาตินั้นเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) แต่พวกเขาถือว่าเป็นสิทธิของประชาชาติที่จะเลือกอิมามและผู้นำของพวกตนขึ้นมา ดังนั้น อะบูบักรฺ บินอะบีกุฮาฟะฮฺ จึงเป็นอิมามของบรรดามุสลิมโดยการคัดเลือกของบรรดามุสลิมเอง หลังจากวะฟาตของท่านนบี ศ. ซึ่งท่านวางเฉยในเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ และไม่อธิบายสิ่งใดๆในเรื่องนี้ไว้สำหรับประชาชาติและปล่อยให้เรื่องนี้เป็นไปด้วยการลงมติของประชาชน
สัจธรรมในเรื่องนี้อยู่กับกลุ่มใด…?
มุสลิมซุนนีเชื่อว่าศาสดาแห่งอิสลามไม่ได้แต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของท่าน ดังนั้นมุสลิมจึงจำเป็นต้องสรรหาผู้นำของพวกเขากันเอง ด้วยเหตุนี้มุสลิมซุนนีจึงไม่มีวิธีที่แน่นอนในการเลือกสรรผู้นำในอนาคตของพวกเขา
ในกรณีหนึ่งบรรดาสาวกสรรหาผู้นำโดยผ่านกระบวนการซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้ง ในอีกกรณีหนึ่งผู้ที่อยู่ในตำแหน่งคนแรก ดำเนินการเสนอชื่อและแต่งตั้งผู้สืบทอดอำนาจคนต่อไปของตนเองได้เลย ในกรณีที่สามผู้อยู่ในตำแหน่งคนที่สองแต่งตั้งคะกรรมการมา6 คน และมอบหมายหน้าที่ให้ไปเลือกบุคคลคนหนึ่งจากพวกเขามาเป็นผู้นำในอนาคตของประชาคมมุสลิม
ผู้นำคนที่สามที่ได้รับการเลือกสรรถูกสังหารในระหว่างการจลาจลและอุมมะฮ์(ประชาชาติ) มุสลิมถูกทิ้งไว้โดยปราศจากผู้นำบรรดาสาวกจึงกลับมาหาครอบครัวนบี และอ้อนวอนให้บุคคลหนึ่งในครอบครัวของท่านรับผิดชอบรัฐบาลของมุสลิม เพื่อป้องกันการแตกแยกหรือการแตกสลายของรัฐ
ผู้นำคนที่สี่กำลังปกครองมุสลิม ขณะเดียวกันผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้นำคนใหม่ ไดแต่งตั้งตนเองขึ้นมาในซีเรีย เขาไม่ใยดีกับการเลือกตั้ง ซ้ำท้าทายอำนาจของผู้นำที่ชอบธรรมของมุสลิม ด้วยการปลุกระดมโดยวิธีการใช้กำลัง และประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจรัฐบาล การกระทำของเขาทำให้ “หลักการ”สำหรับการสรรหาผู้นำของ อุมมะฮ์มุสลิมเพิ่มขึ้นเป็น 4 วิธี คือ
การเลือกตั้ง อบูบักรเป็นคอลีฟะฮ์ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ที่สะกีฟะฮ์
การเสนอชื่อแต่งตั้ง อุมัรได้รับการแต่งตั้งโดยอบูบักรให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง
การตั้งกรรมการสรรหา หรือเลือกสรร อุศมานได้รับการเลือกสรรให้เป็นคอลีฟะฮ์โดยคณะกรรมการหกคนที่แต่งตั้งโดยอุมัร
การยึดอำนาจรัฐโดยใช้กำลัง มุอาวียะฮ์ บิน อบูซุฟยาน ยึดอำนาจรัฐบาลของมุสลิมโดยใช้กำลังทหาร
ซุนนีพิจารณา “หลักการ” ทั้งสี่นี้เป็นหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม ด้วยเหตุเช่นนี้ หลัก “ธรรมนูญ” ที่แตกต่างกันสี่ประการในการหากผู้นำจึงเกิดขึ้น
ในที่นี้เราควรจะระบุลงไปว่า แม้มุสลิมซุนนีจะใช้วิธีการในการสรรหาผู้นำของ อุมมะฮ์มุสลิม แต่ละวิธีการในสี่ประการที่แตกต่างกันนี้มี “สถานะ” เป็น “หลักการ” แต่ทั้งสี่หลักการนี้ก็ไม่มีที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะของท่านศาสดาแต่อย่างใด ทั้งหมดนั้นมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากการเสียชีวิตของศาสดาแห่งอิสลาม
มุสลิมชีอะห์ มองทฤษฏีการปกครองของซุนนีว่า “ขาดความน่าเชื่อถือทางหลักการและทางศีลธรรม” และขาดความไม่อยู่กับร่องกับรอย พวกเขากล่าวว่าหลักการต้องถูกหรือไม่ก็ผิด และสิ่งที่จะทดสอบว่าผิดหรือถูกก็คือ อัลกุรอาน มุสลิมทั้งโลกสามารถมีมติเอกฉันท์ กำหนดกฎหมายขึ้น แต่ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับอัลกุรอาน ย่อมไม่ถือว่าเป็นเรื่องของอิสลาม แหล่งของความสอดคล้องตามหลักการและทางศีลธรรมคือ “อัลกุรอาน” ไม่ใช่ “เสียงส่วนใหญ่”
ดังพระดำรัสของพระองค์ “ไม่มีผู้ใดมีอำนาจปกครองนอกจากอำนาจนั้นต้องมาจากพระองค์เท่านั้น” ดังที่ระบุไว้ในคัมภีร์ดังนี้
وَلَهُ الْحُكْمُ وَإِلَيْهِ تُرْجَعُونَ سوره القصص 70
“และการชี้ขาดนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น และยังพระองค์เท่านั้นพวกเจ้าจะถูกนำกลับ”
ความหมายของตำแหน่ง “อิมาม” ในนิยามอัลกุรอ่าน และซุนนะห์
1. ตำแหน่งอิมามในอัลกุรอาน
อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงมีโองการว่า
وَإِذِ ٱبْتَلَىٰٓ إِبْرَٰهِۦمَ رَبُّهُۥ بِكَلِمَٰتٍۢ فَأَتَمَّهُنَّ ۖ قَالَ إِنِّى جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا ۖ قَالَ وَمِن ذُرِّيَّتِى ۖ قَالَ لَا يَنَالُ عَهْدِى ٱلظَّٰلِمِينَ
[2:124]และจงรำลึก เมื่อพระผู้อภิบาลของเขาได้ทดสอบอิบรอฮีมด้วยถ้อยคำต่างๆแล้วเขาทำทุกอย่างเหล่านั้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงฉันจะแต่งตั้งเจ้าขึ้นเป็นอิมามของมนุษยชาติ เขากล่าว่า และบางคนจากเชื้อสายของฉันด้วย พระองค์ตรัสว่า พันธสัญญาของข้าจะไม่แผ่ไปถึงพวกอธรรม
โองการอันทรงเกียรตินี้ อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงอธิบายให้เราได้เข้าใจว่า ตำแหน่งอิมามนั้นเป็นตำแหน่งจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอัลลอฮ์ ซ.บ. จะประทานแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ในบรรดาบ่าวของพระองค์ โดยตรัสว่า
إِنِّى جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا ۖ
“แต่งตั้งเจ้าขึ้นเป็นอิมามของมนุษยชาติ”
ขณะเดียวกันโองการนี้ได้ให้ความกระจ่างว่า ตำแหน่งอิมามเป็นพันธสัญญาหนึ่งจาก อัลลอฮ์ ซ.บ. ซึ่งจะไม่แผ่ไปถึงใครนอกจากบ่าวของพระองค์ผู้มีคุณธรรมที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงคัดเลือกพวกเขาไว้เพื่อจุดประสงค์อันนี้ โดยปฏิเสธตำแหน่งนี้จากบรรดาผู้อธรรม ซึ่งไม่มีสิทธิ์ได้รับพันธสัญญาของพระองค์ ซึ่งตรัสว่า
وَجَعَلْنَٰهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا وَأَوْحَيْنَآ إِلَيْهِمْ فِعْلَ ٱلْخَيْرَٰتِ وَإِقَامَ ٱلصَّلَوٰةِ وَإِيتَآءَ ٱلزَّكَوٰةِ ۖ وَكَانُواْ لَنَا عَٰبِدِينَ
“และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นอิมาม ที่ชี้นำตามคำบัญชาของเรา และเราได้วะฮฺยูแก่พวกเขาซึ่งการกระทำที่ดีงามและดำรงการนมาซ และจ่ายซะกาต และพวกเขาเป็นผู้ภักดีต่อเรา” (อัล-อันบิยาอ์ / 73)
อีกโองการหนึ่ง ความว่า
وَجَعَلْنَا مِنْهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا لَمَّا صَبَرُواْ ۖ وَكَانُواْ بِـَٔايَٰتِنَا يُوقِنُونَ
“และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นอิมาม ที่ชี้นำตามคำบัญชาของเรา เนื่องจากพวกเขาอดทน และมีความเชื่อมันอย่างแท้จริงกับสัญญาต่างๆของเรา” (อัซ-ซัจญิดะฮฺ /24)
และตรัสอีกว่า
وَنُرِيدُ أَن نَّمُنَّ عَلَى ٱلَّذِينَ ٱسْتُضْعِفُواْ فِى ٱلْأَرْضِ وَنَجْعَلَهُمْ أَئِمَّةً وَنَجْعَلَهُمُ ٱلْوَٰرِثِينَ
“และเราประสงค์จะประทานความสงบมั่นแก่บรรดาผู้อ่อนแอในหน้าแผ่นดิน และเราจะแต่งตั้งพวกเขาขึ้นเป็นอิมามและเราจะแต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้สืบมรดก(การปกครอง)” (อัล-ก่อศอศ / 5)
มีบางคนเข้าใจกันเองว่า โองการเหล่านี้ ตำแหน่งอิมามตามความหมายในโองการเหล่านี้ หมายถึงตำแหน่งนบีและคัมภีร์ทางศาสนา ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาดจากความหมายโดยทั่วไปของตำแหน่งอิมาม เพราะว่าศาสนทูต ศ. ทุกๆท่านเป็นทั้งนบีและอิมาม แต่ทุกๆอิมามมิได้เป็นศาสนทูตและนบีเสมอไป
ตามจุดมุ่งหมายอันนี้ อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้อธิบายไว้ชัดในคัมภีร์ของพระองค์อันทรงเกียรติว่า ปวงบ่าวผู้มีคุณธรรมของพระองค์ คือผู้ที่สมควรจะขอตำแหน่งอันสูงส่งนี้จากพระองค์ เพื่อชี้นำมนุษย์ และพวกเขาจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่นี้
ขณะเดียวกันอัล-กุรอานก็ยังได้ใช้คำว่า ตำแหน่งอิมาม เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานสำหรับประมุขและผู้ปกครองสูงสุดของบรรดาผู้อธรรมอีกด้วย ซึ่งเขาเหล่านั้นทำให้ผู้ปฏิบัติตามหลงผิดและนำทางประชาชนของพวกเขาไปสู่ความเสียหาย และได้รับการลงโทษทั้งในโลกนี้และปรโลก ดังที่มีการนำตัวอย่างมากล่าวถึงในอัล-กุรอานเกี่ยวกับประวัติของฟิรเอาวน์ และทหารของเขา ดังโองการที่ว่า
“ดังนั้น เราจึงลงโทษเขาและทหารของเขา กล่าวคือ เราได้ทำให้เขาจมดิ่งลงในทะเล ดังนั้นจงดูเถิด บั้นปลายของพวกอธรรมนั้นเป็นอย่างไร และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นอิมามที่ชักชวนไปสู่นรก และในวันกิยามะฮฺพวกเขาจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ และเราได้นำเอาการสาปแช่งติดตามพวกเขาในโลกนี้ และในวันกิยามะฮฺพวกเขาจะถูกเกลียดชัง”(อัล-ก่อศอศ / 41-42 )
ตามพื้นฐานเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าคำสอนของมุสลิมชาวชีอะฮ์ จึงเป็นคำสอนที่ถูกต้อง เพราะว่าอัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงอธิบายไว้ชัดเจน ไม่อาจตั้งเป็นข้อสงสัยใด ๆได้เลยว่าตำแหน่งอิมามนั้น มีที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงตั้งให้แก่ผู้ที่ทรงประสงค์และถือว่าเป็นพันธสัญญาที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงปฏิเสธแก่พวกอธรรม โดยเหตุที่ อะบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน เคยเป็นผู้หลงผิดมาก่อน คือพวกเขาเคยใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในสภาพมุชริก กราบไหว้รูปปั้น ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์รับพันธสัญญาของอัลลอฮ์ ซ.บ.
เหลือแต่คำอธิบายของชีอะฮ์ที่อ้างหลักฐานที่ว่า ท่านอิมามอะลี บิน อบีฏอลิบ อ. คนเดียวในบรรดาศ่อฮาบะฮ์รุ่นนั้นที่คู่ควรต่อพันธสัญญาของอัลลอฮ์ ซ.บ. โดยตำแหน่งอิมาม เพราะว่า ไม่เคยเคารพภักดีสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงยกย่องให้เกียรติแก่ใบหน้าของท่านผู้เดียวในบรรดาศ่อฮาบะฮ์[کَرَّمَ اللَّهُ وَجْهَه] เพราะท่านไม่เคยกราบ(คือก่อนรับอิสลาม) เราขอตอบว่า ใช่ แต่ทว่ามีความแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างคนที่เคยเป็นมุชริกมาก่อน แม้จะเตาบะฮ์กลับตัวแล้ว กับคนที่สะอาด บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เคยรู้จักเคารพภักดีสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์
2. ตำแหน่งอิมามในซุนนะฮฺของท่านนบี ศ.
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้กล่าวถึงเรื่องตำแหน่งอิมามไว้ในหลาย ๆวาระ ทั้งมุสลิมชาวชีอะฮ์ และชาวซุนนีห์ได้รายงานไว้ในตำราของตน บางครั้งจะพูดถึงเรื่องนี้ด้วยคำว่า อิมาม แต่บางครั้งก็ใช้คำว่า ค่อลีฟะฮ์ และบางครั้งใช้คำว่า วิลายะฮ์ หรือ อัล-อะมาเราะฮ์ (อำนาจบริหารการปกครอง) เช่น
บางครั้งจะพูดถึงเรื่องตำแหน่งผู้นำ ด้วยคำว่า อิมาม มีฮะดีษจากท่านนบี ศ. ว่า
خِيارُ أئِمَّتِكُمُ الَّذِينَ تُحِبُّونَهُمْ ويُحِبُّونَكُمْ، ويُصَلُّونَ علَيْكُم وتُصَلُّونَ عليهم، وشِرارُ أئِمَّتِكُمُ الَّذِينَ تُبْغِضُونَهُمْ ويُبْغِضُونَكُمْ، وتَلْعَنُونَهُمْ ويَلْعَنُونَكُمْ، قيلَ: يا رَسولَ اللهِ، أفَلا نُنابِذُهُمْ بالسَّيْفِ؟ فقالَ: لا، ما أقامُوا فِيكُمُ الصَّلاةَ
الراوي : عوف بن مالك الأشجعي | المحدث : مسلم | المصدر : صحيح مسلم | الصفحة أو الرقم : 1855 | خلاصة حكم المحدث : [صحيح]
“อิมามที่ประเสริฐที่สุดของพวกท่าน ได้แก่พวกที่ท่านทั้งหลายรักและพวกเขาก็รักพวกท่าน พวกท่านขอพรให้พวกเขา(ศ่อละวาต) และพวกเขาก็ขอพรให้พวกท่าน ส่วนอิมามที่เลวของท่านได้แก่ พวกที่ท่านทั้งหลายโกรธเกลียด และพวกเขาก็โกรธเกลียดพวกท่าน พวกท่านสาปแช่งพวกเขา และพวกเขาก็สาปแช่งพวกท่าน”
บรรดาศ่อฮาบะฮฺถามว่า “ยาร่อซูลุลลอฮฺ พวกเราจะทำลายพวกเขาเสียด้วยคมดาบจะได้ไหม?”
ท่าน ศ. ตอบว่า “ไม่ได้ ตราบใดที่พวกเขายังดำรงนมาซอยู่ในหมู่พวกท่าน”ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้กล่าวว่า
يَكُونُ بَعْدِي أَئِمَّةٌ لَا يَهْتَدُونَ بِهُدَايَ، وَلَا يَسْتَنُّونَ بِسُنَّتِي، وَسَيَقُومُ فِيهِمْ رِجَالٌ قُلُوبُهُمْ قُلُوبُ الشَّيَاطِينِ فِي جُثْمَانِ إِنْسٍ
الراوي : حُذَيْفَةُ بْنُ الْيَمَانِ | المحدث : مسلم | المصدر : صحيح مسلم | الصفحة أو الرقم : 1847 | خلاصة حكم المحدث : [صحيح]
“หลังจากฉันแล้ว จะมีบรรดาอิมามที่มิได้ชี้นำไปในแนวทางของฉันและมิได้เอาแบบอย่างของฉัน และในหมู่พวกเขานั้น จะมีบุรุษหนึ่งที่จิตใจของพวกเขาเป็นจิตใจชัยฏอนในเรือนร่างของคน”
บางครั้งจะพูดถึงเรื่องตำแหน่งผู้นำ ด้วยคำว่า ค่อลีฟะฮ์ มีฮะดีษจากท่านนบี ศ. ว่า
ในเรื่องตำแหน่งผู้นำหลังจากนบี ด้วยคำว่า ค่อลีฟะฮ์ มีฮะดีษจากท่านนบี ศ. ว่า “จะมีค่อลีฟะฮฺสำหรับพวกท่านสิบสองคน ทุกคนล้วนเป็นชาวกุเรช”
جابِرُ بنُ سَمُرَةَ: سَمِعتُ رَسولَ اللّهِ یومَ جُمُعَةٍ عَشِیةَ رُجِمَ الأَسلَمِی یقولُ: لا یزالُ الدّینُ قائِماً حَتّى تَقومَ السّاعَةُ، أو یکونَ عَلَیکمُ اثنا عَشَرَ خَلیفَةً، کلُّهُم مِن
قُرَیشٍ
صحیح مسلم، ج ۳، ص ۱۴۵۳، ح ۱۰؛
จากท่านญาบิร บินซะมุเราะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ศ. กล่าวว่า “อิสลามยังคงอยู่อย่างมีเกียรติ จนกว่าจะมีสิบสองค่อลีฟะฮ์” หลังจากนั้นท่าน ศ. ได้กล่าวคำๆหนึ่ง ซึ่งฉันไม่เข้าใจจึงถามบิดาว่า “ท่านพูดอะไร” ท่านบิดาตอบว่า “ทุกคนเป็นชาวกุเรช”
บางครั้งจะพูดถึงเรื่องตำแหน่งผู้นำ ด้วยคำว่า อัล-อะม่าเราะห์[الأَمارة] มีฮะดีษจากท่านนบี ศ. ว่า
ในเรื่องการบริหารกิจการปกครอง (อัล-อะม่าเราะห์) มีฮะดีษจากท่านนบี ศ. ว่า :
سَتَكُونُ أُمَراءُ فَتَعْرِفُونَ وتُنْكِرُونَ، فمَن عَرَفَ بَرِئَ، ومَن أنْكَرَ سَلِمَ، ولَكِنْ مَن رَضِيَ وتابَعَ قالوا: أفَلا نُقاتِلُهُمْ؟ قالَ: لا، ما صَلَّوْا
الراوي : أم سلمة أم المؤمنين | المحدث : مسلم | المصدر : صحيح مسلم | الصفحة أو الرقم : 1854 | خلاصة حكم المحدث : [صحيح]
จะมีผู้บริหารกิจการปกครองซึ่งพวกท่านจะมีการยอมรับและการปฏิเสธ ดังนั้น ผู้ใดยอมรับ ก็ถือว่าปฏิเสธโดยสิ้นเชิง และผู้ใดปฏิเสธก็จะปลอดภัย นอกจากผู้ที่พอใจและปฏิบัติตามเท่านั้น พวกเขาถามว่า “เราจะฆ่าพวกเขาได้ไหม ?” ท่าน ศ. ตอบว่า “ไม่ได้ ตราบใดที่พวกเขานมาซ”
ท่านนบี ศ. กล่าวว่า :
جابِرُ بنُ سَمُرَةَ: سَمِعتُ النَّبِی یقولُ: یکونُ اثنا عَشَرَ أمیراً. فَقالَ کلِمَةً لَم أسمَعها، فَقالَ أبی: إنَّهُ قالَ: کلُّهم مِن قُرَیشٍ
صحیح البخاری، ج ۶، ص ۲۶۴۰، ح ۶۷۹۶
จากท่านญาบิร บินซะมุเราะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ศ. กล่าวว่า “อิสลามยังคงอยู่อย่างมีเกียรติ จนกว่าจะมี 12 อะมีร” หลังจากนั้นท่าน ศ. ได้กล่าวคำๆหนึ่ง ซึ่งฉันไม่เข้าใจจึงถามบิดาว่า “ท่านพูดอะไร” ท่านบิดาตอบว่า “ทุกคนเป็นชาวกุเรช”
มีฮะดีษที่ท่านนบี ศ. เตือนศ่อฮาบะฮأว่า
إنكم ستَحرصون على الإمارةِ ، و ستكونُ ندامةً و حسرةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ، فنعْمَتِ المُرْضِعَةُ و بِئْسِتِ الفاطمةُ
الراوي : أبو هريرة | المحدث : الألباني | المصدر : صحيح النسائي | الصفحة أو الرقم : 4222 | خلاصة حكم المحدث : صحيح
“พวกท่านจะทะเยอทะยานกันในเรื่องอำนาจบริหาร และจะเสียใจกันในวันกิยามะฮ์”
บางครั้งจะพูดถึงเรื่องตำแหน่งผู้นำ ด้วยคำว่า อัล-อะม่าเราะห์[الأَمارة] มีฮะดีษจากท่านนบี ศ. ว่า
มีฮะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยคำว่า “วิลายะฮ์” คือท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. กล่าวว่า :
ما مِن والٍ يَلِي رَعِيَّةً مِنَ المُسْلِمِينَ، فَيَمُوتُ وهو غاشٌّ لهمْ، إلَّا حَرَّمَ اللَّهُ عليه الجَنَّةَ
الراوي : معقل بن يسار | المحدث : البخاري | المصدر : صحيح البخاري | الصفحة أو الرقم : 7151 | خلاصة حكم المحدث : [صحيح] | التخريج : أخرجه البخاري (7151)، ومسلم (142)
“ผู้มีอำนาจปกครองที่ดูแลคนมุสลิมคนใดที่ตายลงขณะที่ฉ้อฉลต่อพวก เขาจะไม่ได้อะไรทั้งสิ้น นอกจากอัลลอฮأ ซ.บ. จะทรงหวงห้ามมิให้เขาเข้าสวรรค์”
มีฮะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยคำว่า “วิลายะฮ์” อีกว่า :
عَنْ جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ، قَالَ سَمِعْتُ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ ” لاَ يَزَالُ أَمْرُ النَّاسِ مَاضِيًا مَا وَلِيَهُمُ اثْنَا عَشَرَ رَجُلاً ” فَقَالَ ” كُلُّهُمْ مِنْ قُرَيْشٍ
ص407 – كتاب فتح المنعم شرح صحيح مسلم – باب الناس تبع لقريش والخلافة في قريش
การปกครองยังคงผ่านไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้มีบุรุษจากพวกกุเรช สิบสองคนมาปกครองพวกเขา”
นี่คือการแสดงความหมายโดยสรุปของคำว่า ตำแหน่งอิมามหรือค่อลีฟะฮ์ ที่อัล-กุรอานเสนอไว้ และตามที่มีอยู่ในซุนนะฮ์ของนบี ศ. โดยปราศจากการอธิบาย และไม่มีการตะอ์วีล(ตีความ) ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ายังได้อ้างถึงเฉพาะจากตำราศ่อฮีฮ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ฝ่ายเดียว โดยไม่เกี่ยวกับหลักฐานจากชาวชีอะฮ์เลย เพราะเรื่องนี้(ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺเป็นของสิบสองคนในตระกูลกุเรช) เป็นเรื่องที่ถูกยอมรับโดยดุษดีจากพวกเขาอยู่แล้ว และไม่มีใครขัดแย้งว่ามีเพียงสองคนจากพวกกุเรช เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ว่า นักปราชญ์ฝ่ายซุนนะฮ์บางท่านยืนยันอย่างชัดเจนว่า
یَکُونُ بَعْدِی إثنا عَشَرَ خَلیفَةً کُلُّهُمْ مِنْ وَ کُلُّهُم مِن بَنی هاشِمٍ
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ศ. กล่าวว่า “จะมีสิบสองค่อลีฟะฮฺ ภายหลังจากฉัน ทุกคนล้วนมาจากตระกูลบะนีฮาชิม”
ต่อจากนี้ เราควรจะได้เปิดเผยคำสอนของทั้งสองฝ่าย อันเป็นขออ้างที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย ประกอบด้วยหลักฐานอันแจ้งชัด ตามข้อบัญญัติทางศาสนา ขณะเดียวกันเราก็มาถกกันถึงการตีความของแต่ละฝ่ายในปัญหานี้ ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความแตกแยกให้แก่บรรดามุสลิมมาตั้งแต่วันที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลลอฮ์ ศ. วะฟาตจนถึงวันนี้ และด้วยเรื่องนี้แหละ ที่ได้เกิดความขัดแย้งในหมู่มุสลิมเป็นมัซฮับต่าง ๆ พวกต่าง ๆ สำนักต่าง ๆ ทั้งในแง่คำพูดและความคิด ขณะที่พวกเขาเคยเป็นประชาชาติเดียวกันมาก่อน จึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดเป็นความขัดแย้งกันขึ้นในระหว่างบรรดามุสลิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนบัญญัติ(ฟิกฮ์)ในเรื่องการตัฟซีรอัล-กุรอาน หรือในความเข้าใจซุนนะฮฺของนบีอันทรงเกียรติ
สาเหตุและที่มาของมันก็คือเรื่องตำแหน่งค่อลีฟะฮ์ แต่ท่านจะรู้หรือไม่ว่า อะไรคือความหมาย ค่อลีฟะฮ์ที่ได้เกิดขึ้นหลังจากยุคซะกีฟะฮ์ อันเป็นปรากฏการณ์ที่ถูกปฏิเสธในที่มาของมัน โดยบรรดาฮะดีษศ่อฮีฮฺและโองการต่าง ๆอันชัดแจ้งและเป็นเหตุให้มีการอุปโลกน์ฮะดีษอื่นๆขึ้นมาเพื่อรองรับความถูกต้อง ทั้งที่พื้นฐานในเรื่องนี้ ไม่มีในซุนนะฮฺนบี ศ. แท้จริง