คนกับศาสนา
  • ชื่อ: คนกับศาสนา
  • นักเขียน: อิมรอน พิชัยรัตน์
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 7:46:12 4-9-1403

คนกับศาสนา


อิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง


คนไม่มีศาสนาจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วจะมีศาสนาไปทำไม?

คนเรามีศาสนาไปทำไม เมื่อเห็นคนผู้คนมากมายที่ไม่มีศาสนาประสบความสำเร็จในชีวิต?
ถ้าพูดถึงคนไม่มีศาสนาและประสบความสำเร็จจะเห็นว่าภายนอกชีวิตพวกเขาดูมีความสุข แต่ในใจของพวกเขาว้าวุ่นและสับสนอย่างหนักว่แต่ในใจของพวกเขาว้าวุ่นและสับสนอย่างหนัก เช่นพวกเขาครุ่นคิดว่า มีชื่อเสียง มีทรัพย์สมบัติ แต่สุดท้ายต้องตายและมันก็จบลง แล้วคนอื่นก็ยกย่องเรา หรือเช่นถ้าเรามีเงินมากมายสุดท้ายคนอื่นก็ได้ใช้มัน แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรสำหรับเรา แล้วยังไงต่อ ?

 ประเด็นคัญคือเมื่อเราดูสถิติสวัสดิการ เราจะเห็น ตัวอย่างเช่น สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมาก มีดัชนีสวัสดิการสูงสุดในเจนีวาและสวิตเซอร์แลนด์ แต่ในขณะเดียวกัน คุณจะเห็นว่าดัชนีการฆ่าตัวตายในสวิตเซอร์แลนด์สูงกว่าที่อื่น ทำไม? ผู้คนฆ่าตัวตาย ทั้งที่อยู่ในประเทศที่มีสวัสดิการดีที่สุด เจริญรุ่งเรืองที่สุด ผู้คนที่ดูเหมือนไม่มีปัญหาทางวัตถุ มีชีวิตและความสงบสุขที่ดีที่สุด มีทุกสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นชีวิตที่ดี คุณคิดไหมว่าทำไมพวกเขาจึงฆ่าตัวตาย? เพราะเมื่อถึงจุดสูงสุดของความเจริญ ก็จะถึงจุดความว่างเปล่า

คนหิวก็จะแสวงหาเพื่อให้อิ่ม ไม่มีที่อยู่อาศัยก็แสวงหาที่อยู่อาศัย เมื่ออิ่มแล้วมีที่อยู่อาศัยแล้วก็คิดที่จะพักผ่อน เมื่อได้พักผ่อนแล้ว อิ่มแล้ว มีที่อยู่อาศัยที่ดีแล้ว แล้วยังไงต่อ?? ตื่นมาทุกเช้า ทำงาน หาเงิน กิน นอน ชีวิตที่วนอยู่อย่างนี้ แล้วยังไงต่อ?
 ดังนั้น มนุษย์จึงมีอีกมิติและความต้องการหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีมิตินี้มนุษย์จะไม่เพียงพอ นั่นคือมิติหลักของความเป็นมนุษย์ หากด้านวัตถุทั้งหมดตอบสนองความต้องการของเขาแล้ว แต่ยังไม่มีมิติทางวิญญาณ เขาจะยังคงรู้สึกไม่เพียงพอ และแน่นอนว่าศาสนาให้คำตอบนี้แก่ชีวิตเขาได้

 หากย้อนไปในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจะพบว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มนุษย์เริ่มหลงใหลในความรู้ของเขาและเคยคิดว่าเขาได้ค้นพบทุกสิ่งในโลกแล้ว เมื่อการเคลื่อนไหวนี้เริ่มต้นขึ้นว่าเราไม่ต้องการศาสนาและเรามีทุกสิ่งแล้ว เราค้นพบทุกอย่างแล้ว การเคลื่อนไหวนี้ดำเนินต่อไปในศตวรรษที่ 20 กระทั่งต้นกลางศตวรรษที่ 20 ก็พบกับวิกฤต ดูเหมือนว่าไม่สามารถละทิ้งศาสนาได้และมาถึงสองทศวรรษของศตวรรษที่ 20 นั่นคือ เวลาของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเกิดขึ้น เราเห็นว่าเส้นทางของมนุษยชาติเปลี่ยนไป ดังที่ฮันติงตันกล่าวในเมืองซูริกในปี ค.ศ.2000 ว่า ในสองทศวรรษของศตวรรษที่ 20 วิถีของมนุษย์ที่หันหลังให้ศาสนาได้หันกลับมาสู่ศาสนาอีกครั้ง และเขาประกาศในปี ค.ศ.  2000 ว่า “ข้าพเจ้าขอประกาศให้มนุษย์สหัสวรรษที่สามเป็นสหัสวรรษแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของศาสนา และสิ่งนี้จะเกิดขึ้น ทำไมหรือ? เพราะมนุษย์ได้ข้อสรุปแล้วว่าความรู้ที่เขาคิดว่าเขาได้พบและแก้ไขทุกอย่างด้วยความรู้นั้น ทำให้เขามีเพียงมิติเดียวเท่านั้น!!!!และรู้แล้วว่ามันไม่เพียงพอสำหรับชีวิต