ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 10
  • ชื่อ: ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 10
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 16:7:28 3-9-1403

ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 10

 

สรุปเนื้อหาจากบทที่ 7
1) ในบทที่ 7 จะเป็นบทที่อิมามคาเมเนอีย์ได้นำเสนอภาพรวมของเนื้อหาและประเด็นต่างๆที่ถูกนำเสนอในหนังสือชุด มนุษย์ 250 ปี ซึ่งมีประเด็นที่ควรแก่การศึกษาดังต่อไปนี้
2) พูดถึงหนังสือ : ท่านแบ่งการศึกษาของอิมามัตและจัดเรียงเนื้อหาตามหัวข้อที่ระบุไว้ โดยส่วนหนึ่งจะเป็นภาพรวมของอิมามัต และอีกส่วนหนึ่งเป็นแผนที่ความคิดการเคลื่อนไหวต่อสู้ของบรรดาอิมาม นอกจากนี้ยังมีประเด็นแยกย่อยอีกหลายประเด็นซึ่งในตัวบท ท่านได้นำเสนอไว้สองเรื่อง เรื่องแรก คือ การที่บรรดาอิมาม พูดถึง ความเป็นอิมามด้วยตัวของพวกเขาเอง และเรื่องที่สองคือ การที่แม้แต้ฝ่ายปกครอง หรือ คอลีฟะฮ์ ก็พยายามสังเกตการณ์ พยายามอ่านและทำความเข้าใจ เป้าหมายและทุกการเคลื่อนไหวของอิมาม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ขั้วตรงข้ามของบรรดาอิมาม ก็ศึกษาชีวิตของอิมามอย่างละเอียดเช่นเดียวกัน
3) ในประวัติศาสตร์มนุษย์ 250 ปี ด้านหนึ่งที่เราจะเห็นจากทางฝั่งของผู้ปกครองเช่นอับบาซียะฮ์และอามาวีย์เสมอ คือ ความปรารถนาอย่างรุนแรงที่จะให้ผู้คนยอมรับว่า พวกเขาเป็นอิมาม มีสิทธิอันชอบธรรมในการเป็น “อิมาม” ทั้งสองตระกูลถึงกับจ้างนักกวี(เช่น มัรวาน บิน อบีฮัฟเซาะฮ์)มาเพื่อให้มาเยินยอตนเอง และโฆษณาชวนเชื่อว่า พวกเขาเป็นและคู่ควรกับตำแหน่งอิมามัต
4) ท่านนำเสนอสองหัวข้อต่อจากหัวข้อที่แล้ว เพื่อจับประเด็นสำหรับการศึกษาชีวิตของบรรดาอิมาม ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่ต้องมีการหลั่งเลือด ซึ่งสะท้อนอยู่ในการแสดงทัศนะของมะศูมต่อบุคคลที่มีบทบาทในเรื่องนี้ เช่น มุอัลลีย์ บิน คุนัยซ์ และอีกหัวข้อคือ การศึกษาชีวิตของบรรดาอะอิมมะในช่วงที่ถูกติดตาม เฝ้าระวัง และถูกจองจำ
5) การมองหายุทธศาสตร์ของบรรดาอิมาม จากวาทกรรม บทสนทนา บทดุอา และปาฐกถา ต่างๆตามวาระ ตัวอย่างเช่น บทสนทนาระหว่าง อิมามมูซา อัลกาซิม (อ) กับ อุบายยกที่ฟะดักของฮารูน ซึ่งจากบทสนทนาแสดงให้เห็นถึง อุบายของฝ่ายตรงข้ามกับอะฮลุลบัยต์ และยุทธวิธีของอิมามในการรับมือต่อการออกอุบายเช่นนี้โดยฮารูน
6) การมองหา สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของบรรดาอิมาม และความเข้าใจของบรรดาสาวกต่อเป้าหมายและภารกิจของอิมาม ท่านได้ยกตัวอย่าง รีวายัตของชายชาวคุรอซานที่มาพร้อมทหารแสนคน เพื่อทำการกิยาม โดยเขาเข้าใจว่า เงื่อนไขของการกิยามคือจำนวนทหารติดอาวุธ ทว่าอิมามได้แสดงให้เห็นว่า เงื่อนไขที่แท้จริงของการกิยามหรือต่อสู้กับผู้อธรรมอยู่ที่ “คุณภาพของบุคคล”
7) การร้องขอให้อิมามทำการปฏิวัติโดยบรรดาชีอะฮ์เป็นสิ่งที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ การส่งสายลับของอับบาซียะฮ์เข้าไปสืบความเคลื่อนไหวเรื่องการปฏิวัติของอิมามมะศูม การอ่านความคิดของศอฮาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดและชีอะฮ์ในยุคนั้นผ่านตัวบทและคำพูดของพวกเขา เพื่อทำความเข้าใจเป้าหมายของอิมามผ่านมุมมองของสาวกชั้นในกับชีอะฮ์ในยุคนั้น เมื่อนำสามประเด็นรวมกัน ได้แก่ ท่าทีของสาวก การส่งสายลับเข้ามาสืบข่าวโดยศัตรู และตัวบทคำพูดของสาวกผู้ใกล้ชิด ทั้งสามองค์ประกอบได้แสดงให้เห็นว่า อิมามแห่งอะฮลุลบัยต์คือบุคคลที่พร้อมปฏิวัติและต่อสู้กับผู้ปกครองผู้อธรรมเสมอในเวลาและสถานการณ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม ดั่งที่จะเห็นว่าบทสนทนาของซูรอเราะฮ์จะไม่เกิดขึ้น หากเขาไม่เห็นว่า การกิยามของอิมามนั้นพร้อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
������ การหาคำตอบว่า อะไรคือ สาเหตุที่ทำให้ผู้ปกครองฝ่ายตรงข้ามกับอิมามมะศูม ถึงแสดงท่าทีอาฆาตพยาบาทต่ออิมาม จนถึงกับต้องสั่งใบประหารพวกเขา อิมามคาเมเนอีย์ชี้ว่า สาเหตุหนึ่งคือ ความอิจฉาริษยา เช่น อิจฉา ในเรื่องความรู้ และตักวา แต่ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ผู้อธรรมมีความเกลียดชังต่ออิมามอย่างรุนแรงเช่นนี้ สาเหตุที่แท้จริงคือ การแสดงตำแห่งอิมามัตของอิมาม ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงมอบเป็นความโปรดปรานให้แก่พวกเขา และนั่นคือ เหตุผลที่ทำให้ผู้อธรรม ต้องการทำลายอิมามมะศูม
9) การสังเกตการณ์เคลื่อนไหวที่แข็งขันดุดันจากทางฝั่งของศอฮาบะฮ์ และเรื่องที่สองคือ การตักกียะฮ์ โดยคำนึงถึงสภาพการทางสังคมและการเมืองอิสลาม และวิธีการรับรู้ของฝ่ายที่เป็นศัตรูของอิมามมะศูม
10) แต่ละประเด็นที่ระบุมา ล้วนมีคุณค่าแก่การศึกษา และค้นคว้า และสามารถแตกแยกย่อยออกเป็นประเด็นเฉพาะ ได้อย่างหลากหลาย เพื่อทำความเข้าใจชีวิตของบรรดามะศูม ศัตรูและมิตรสหายของพวกท่าน และสภาวะทางการเมืองของพวกท่านให้มากยิ่งขึ้น
หมวดที่ 1 ปฐมยุคแห่งอิมามัต : ยุคแห่งความเงียบและการให้ความร่วมมือ
บทที่ 8 ยุคแรกของอิมามัต(จบบท)

ความเดิมตอนที่แล้ว
อิมามคาเมเนอีย์ เสนออีกสองหัวข้อ เพื่อให้เราศึกษาชีวิตของบรรดาอิมามอย่างมีทิศทาง เรื่องแรก คือ สังเกตการณ์เคลื่อนไหวที่แข็งขันดุดันจากทางฝั่งของศอฮาบะฮ์ และเรื่องที่สองคือ การตักกียะฮ์ โดยคำนึงถึงสภาพการทางสังคมและการเมืองอิสลาม และวิธีการรับรู้ของฝ่ายที่เป็นศัตรูของอิมามมะศูม
__________
หัวข้อใหม่ :
เวลาสิบปีผ่านไปหลังการจัดตั้งรัฐบาลของศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ็อล) เนื่องจากการหวนคืนของบ่าวผู้ถูกเลือกของพระผู้เป็นเจ้าสู่ความเมตตาของพระองค์(การจากไปของศาสดา) ฤดูกาลแห่งอิมามัต ฤดูกาลใหม่ในชีวิตของสังคมอิสลามจึงเริ่มต้นขึ้น มาถึงคราที่สังคมอิสลามจะเดินทางไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ภายใต้การนำของผู้ที่ถูกเลือกโดยพระเจ้าและศาสดา ทว่ากลับมีสถานการณ์หลายด้านเกิดขึ้น จนทำให้การขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเหล่านั้นต้องหยุดชะงัก นี่คือ เรื่องที่ท่านทั้งหลายต่างก็เคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วไม่มากก็น้อย
เหตุการณ์ซะกีฟะฮ์เกิดขึ้น มันคือประเด็นการเล่นการเมืองของกลุ่มคนต่อมวลชน,อิสลาม และสังคมอิสลาม มีการวางแผน มีการประชุม มีการทำข้อตกลงเกิดขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือวาทกรรมที่ตัวของท่านอมีรุลมุอฺมีนได้พูดไว้ขณะอยู่ท่ามกลางสงครามในช่วง 26-28 ปีให้หลังกับบนีอะซัด(ช่วงสงครามซิฟฟีน)ว่า
فَإِنَّهَا کَانَتْ أَثَرَةً شَحَّتْ عَلَیْهَا نُفُوسُ قَوْم، وَ سَخَتْ عَنْهَا نُفُوسُ آخَرِینَ
(ความขัดแย้งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก็เพราะ)เนื่องด้วยกลุ่มหนึ่งหวงแหนยึดติดกับมัน(คิลาฟัตอำนาจการปกครอง) และอีกกลุ่มใจกว้างต่อมัน(อำนาจการปกครอง) [นะฮญุลบาลาเฆาะ คุตบะฮ์ 162]
ประเด็นเรื่องซะกีฟะฮ์ หรือ การรวบอำนาจการปกครอง และช่วงเวลาที่อาลี(อ)ไม่ยื่นมือออกไปแตะเรื่องการบริหารสังคมอิสลาม ถูกสรุปอยู่ในสองประโยคข้างต้นนี้ นั่นคือ คนกลุ่มหนึ่งพยายามแสวงหาอำนาจ  ทำให้ผู้คนปรารถนาที่จะยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และอีกกลุ่มหนึ่งเลือกที่จะปิดตาด้วยหัวใจที่แผ่กว้างไพศาล
ณ จุดนี้เอง อาลี(อ)จึงมีเพียงสองทางเลือก หนึ่งคือ เลือกที่จะอดทนต่อความอธรรมที่ตนต้องเผชิญชั่วคราว และสองคือ เตรียมใจเผชิญกับการล่มสลายของอิสลาม,การมองอัลกุรอ่านถูกทำลายและการทนดูสังคมอิสลามที่เพิ่งจะเริ่มต้นถูกถอนรากถอนโคน แน่นอนว่าอาลีไม่เคยเลือกทางที่สองเลย อาลี(อ)เงียบมาตลอด 25 ปี ก็เพราะเหตุผลนี้ เขายอมสละตัวเพื่อการนี้
อีกด้านหนึ่ง  บทบาทที่ถูกแสดงเคียงข้างท่าน(อ)ก็ปรากฎขึ้น นั่นคือบทบาทของ #ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อัซซะฮ์รอ(อ) #หากท่านหญิงมัซลูมผู้ยิ่งใหญ่ไม่แสดงตนในประวัติศาสตร์ #สัจธรรมในอิสลามที่ถูกเปิดเผยในวันนี้จะไม่มีวันถูกเปิดเผยออกมาเลย
ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา อิมามอาลี(อ) ไม่ออกมาต่อสู้กับแต่ละรัฐบาล ซึ่งนี่ถือเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ 250 ปี ของเราเท่านั้น แต่ในอีกส่วนหนึ่งเราต่างก็เห็นว่าท่านได้ต่อสู้ในรูปแบบที่ไม่ใช่การปะทะ/ทำศึกสงคราม ดั่งการประกาศถึงความประเสริฐของท่านเอง,ความเหมาะสมคู่ควรของท่านโดยท่านอิมามอาลี(อ)เอง โดยไม่มีการปะทะหลั่งเลือดใดๆ นี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงต้นของยุคจะใกล้กันกับช่วงสิ้นสุดของยุคนี้ หรือเข้าใกล้ยุคการปกครองของคอลีฟะฮ์อุษมานมากเพียงใด สิ่งที่จะสังเกตได้ ก็คือการเปลี่ยนแปลงทางสถานะของอิมามอาลี(อ)อย่างค่อยเป็นค่อยไป แน่นอนยิ่ง เราจะไม่เห็นรูปแบบการต่อสู้ของอิมามญะอฺฟัรหรืออิมามูซากาซิมในการต่อสู้ของอิมามอาลี(อลัยฮิมุสลาม) แม้แต่ช่วงท้ายในระยะ 25 ปี ก็จะไม่เห็นมัน นี่คือยุคแรก อันเป็นยุคที่ชีวิตของบรรดาอิมาม หรือ 25 ปีแรกอันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอิมามัต ซึ่งก็คือตัวของท่านอมีรุลมุอฺมีนีน #เลือกจะไม่ต่อสู้ในความหมายของการปะทะ เลือกที่จะไม่สู้กับผู้มีอำนาจกลุ่มใดในความหมายนี้(หลั่งเลือด,ทำสงครามเชิงกายภาพ)

สรุปประเด็นในตัวบท
ช่วงยุคแรกของอิมามัต คือ ช่วงเวลา 25 ปี ที่อมีรุลมุอฺมีนีนเลือกจะเงียบ เพื่อปกป้องรักษาอิสลาม ข้อยืนยันถูกสรุปในวาทกรรมของท่านในสงครามซิฟฟิน แต่ไม่ได้หมายความว่าการต่อสู้และการยืนหยัดของอิมามอาลี(อ)ถูกเว้นวรรคในช่วงนี้ ตัวของท่านเลือกต่อสู้ในวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การทำศึกสงคราม

อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 75-76