อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 10] ตอน. พวกท่านมีความเชื่อจริงๆหรือว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ไม่ได้แต่งตั้งใครไว้เลยให้เป็นผู้นำภายหลังจากท่าน
  • ชื่อ: อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 10] ตอน. พวกท่านมีความเชื่อจริงๆหรือว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ไม่ได้แต่งตั้งใครไว้เลยให้เป็นผู้นำภายหลังจากท่าน
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 16:9:27 3-9-1403

อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 10] ตอน. พวกท่านมีความเชื่อจริงๆหรือว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ไม่ได้แต่งตั้งใครไว้เลยให้เป็นผู้นำภายหลังจากท่าน


โดย เชคอันศอร เหล็มปาน

ทัศนะของมุสลิมชาวซุนนี่ห์เป็นที่รู้ ๆกันอยู่ คือถือว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. วะฟาตไปโดยมิได้แต่งตั้งคนใดไว้เป็นค่อลีฟะฮ์ แต่คนระดับผู้นำในหมู่ศ่อฮาบะฮ์ได้ประชุมกันที่ซะกีฟะฮ์ บนีซาอิดะฮ์ และได้มอบหมายตำแหน่งผู้นำให้แก่ อบูบักร์ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ เพราะว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้มอบหมายให้อบูบักร์ทำหน้าที่ของท่านในนมาซ เมื่อตอนที่ท่านนบี ศ. ป่วยหนัก พวกเขาจึงกล่าวว่า : เมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. พอใจที่เขาทำหน้าที่ทางศาสนากับพวกเรา แล้วทำไมเราจะพอใจที่เขาทำหน้าที่ทางโลกกับพวกเราไม่ได้ ?

แต่สำหรับมุสลิมชาวชีอะห์ มีความเชื่อว่า “ตำแหน่งผู้นำภายหลังนบี” (อิมาม) ก็เช่นเดียวกับการเป็นศาสดาต้องเป็นการแต่งตั้งมาจากอัลลอฮ์เท่านั้น โดยผ่านทางศาสนทูตของพระองค์ หรือผ่านทางท่านอิมามที่ถูกแต่งตั้งแล้ว และตำแหน่งดังกล่าวก็ถูกแต่งตั้งแล้วโดยอัลลลอฮ์ที่ผ่านทางท่านศาสดามุฮัมมัด ศ.

อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 10] ตอน. พวกท่านมีความเชื่อจริงๆหรือว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ไม่ได้แต่งตั้งใครไว้เลยให้เป็นผู้นำภายหลังจากท่าน

الاِمامة مسألة إلهية

มุสลิมซุนนีเชื่อว่าศาสดาแห่งอิสลามไม่ได้แต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของท่าน ดังนั้นมุสลิมจึงจำเป็นต้องสรรหาผู้นำของพวกเขากันเอง ด้วยเหตุนี้มุสลิมซุนนีจึงไม่มีวิธีที่แน่นอนในการเลือกสรรผู้นำในอนาคตของพวกเขา กล่าวคือ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเชื่อว่า ตำแหน่งอิมามผู้นำประชาชาตินั้นเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) แต่พวกเขาถือว่าเป็นสิทธิของประชาชาติที่จะเลือกอิมามและผู้นำของพวกตนขึ้นมาเอง อันเนื่องจากท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ไม่ได้แต่งตั้งใครให้เป็นผู้นำสืบต่อจากท่าน ศ. ไว้ ดังนั้น อะบูบักรฺ บิน อบีกุฮาฟะฮ์ จึงเป็นอิมามของบรรดามุสลิมโดยการคัดเลือกของบรรดามุสลิมเอง หลังจากวะฟาตของท่านนบี ศ. ซึ่งท่านวางเฉยในเรื่องตำแหน่ง ค่อลีฟะฮ์ และไม่อธิบายสิ่งใดๆในเรื่องนี้ไว้สำหรับประชาชาติและปล่อยให้เรื่องนี้เป็นไปด้วยการลงมติของประชาชน

ข้าพเจ้ามีทัศนะที่ขัดเเย้งกับทัศนะข้างต้น อันเนื่องด้วยข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า ด้วยความเมตตา การุณที่อัลลอฮ์ทรงมีต่อปวงบ่าวของพระองค์ และด้วยความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพระองค์ ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่พระองค์จะทอดทิ้งปวงบ่าวของพระองค์ ไว้โดยปราศจากผู้นำ

และด้วยความเมตตาของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ก็เป็นไปไม่ได้อีกที่จะทอดทิ้งประชาชาติของท่านไว้โดยปราศจากผู้ดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราตระหนักว่า ท่านกังวลเหลือเกินต่อการที่

ประชาชาติจะแตกแยกกัน[ดูได้จาก อัต-ติรมิซี, อะบูดาวูด, อิบนิมาญะฮฺ, มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล เล่ม 2 หน้า 332]
จะหันหลังกลับไปหาความเป็นอยู่แบบเดิม[จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หมวดว่าด้วย อัล-เฮาฏ์ เล่ม 5 หน้า 192]
ขัดแย้งกันในผลประโยชน์ทางโลก[จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 63]
แม้กระทั่งการที่กลุ่มหนึ่งจะทำลายอีกกลุ่มหนึ่ง[จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 112]
และการจะปฏิบัติตามแบบอย่างของพวกยิวและนัศรอนี[จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 144]
แม้แต่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ มารดาของผู้ศรัทธาเองก็ยังเคยบอกกล่าวไปยังท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ เมื่อตอนที่ท่านถูกแทง และอาการโคม่า ท่านอาอิชะฮ์ฝากถามเรื่องผู้นำผ่านบุตรชายของอุมัร อับดุลลอฮ์ ว่า :
“ท่านจงดำเนินการแต่งตั้งค่อลีฟะฮฺแก่ประชาชาติของมุฮัมมัด และอย่าปล่อยพวกเขาให้อยู่อย่างเลื่อนลอย ภายหลังจากท่าน เพราะว่า ฉันกลัวความเสียหายจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา”

عندما جُرح الخليفةُ الثاني، بَعَثَتْ عائشةُ زوجةُ رسول الله صلى الله عليه واله وسلم رسالةً شفويّة إلى الخليفة الثاني بواسطة ابنه “عبدِ الله” إذ قالت له: يا بُنيّ أبلغ عمرَ سلامي وقل له: لا تَدَعْ أُمّة محمد بلا راعٍ، إستَخْلِفْ عَلَيْهم، ولا تَدَعْهُمْ بَعدَك هَمَلاً، فإنّي أخشى عَلَيْهمُ الِفتْنَةَ
الاِمامة والسياسة:1/28

และแม้แต่ อับดุลลอฮฺ บินอุมัร ยังได้เข้าพบบิดาของเขา เมื่อครั้งที่ถูกแทง โดยกล่าวกับท่านอุมัร ว่า
“แท้จริงประชาชนพากันเข้าใจว่าท่านไม่มีค่อลีฟะฮฺทำหน้าที่แทน และแท้จริงถ้าท่านมีคนเลี้ยงแกะให้หรือดูแลอูฐให้สักคน แต่แล้ว เขาได้มาหาท่านโดยละทิ้งฝูงสัตว์เหล่านั้นมาเฉยๆ ท่านก็เห็นแล้วว่า มันจะเสียหายแค่ไหน ดังนั้นการดูแลประชาชน ย่อมหนักหนายิ่งกว่านั้น”

فأتى عبد الله أَباه وكان طريحَ الفراش فحثّه على تعيين الخليفة من بَعده قائلاً: إنّي سَمِعْت النّاسَ يقولون مقالةً فآليتُ أن أقولها لك وَزَعَمُوا أنّك غير مُسْتَخْلِفٍ وأنّه لو كان لك راعي إبِل أو راعي غَنَم ثم جاءَك وتَرَكَها لرأيَتَ أن قدْ ضَيَّعَ فَرِعايةُ النّاسِ أشد

แม้แต่อะบูบักร์ เอง ผู้ซึ่งบรรดามุสลิมทั้งหลายแต่งตั้งท่านให้เป็นค่อลีฟะฮ์ด้วยการประชุมหารือ ก็ยังตัดสินปัญหานี้ ด้วยการรีบแต่งตั้งอุมัรให้เป็นค่อลีฟะฮ์แทน เพื่อตัดหนทางที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและแตกแยกอันหายนะ

เมื่อ อบูบักร์ เองยังไม่ยอมรับเรื่องการประชุมหารือ แล้วเราจะยอมรับอย่างไรว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ปล่อยให้เรื่องการบริหารอันสำคัญไว้เฉย ๆโดยปราศจากการแต่งตั้งคนรับช่วง หรือว่าท่านไม่รู้ ในเรื่องที่คนอย่างอะบูบักร์ รู้ ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ก็รู้ อับดุลลอฮ์ บินอุมัร ก็รู้ และเรื่องที่คนทั้งหลายก็รู้โดยสัญชาติญาณ แต่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์กลับไม่รู้ !!!!!!

ข้าพเจ้าขอกล่าวเพิ่มเติมว่า เราไม่เคยพบเลยว่าตลอดระยะเวลาการทำงานของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. นั้น ท่านจะเคยปรึกษาศ่อฮาบะฮ์ ของท่านสักครั้งเดียวในการคัดเลือกตัวผู้นำของพวกเขา ไม่ว่าผู้นำในกองทัพหรือผู้นำในสงคราม ท่านไม่เคยขอคำปรึกษากับพวกเขา เมื่อตอนที่ท่านออกจากเมืองมะดีนะฮ์แล้วตั้งคนที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมในการดูแลพวกเขาในเมืองและไม่เคยปรึกษาใครในยามมีแขกเข้ามาเพื่อยอมรับศาสนา กล่าวคือ ท่านจะแต่งตั้งคนใดคนหนึ่งให้ดูแลคนเหล่านั้นโดยมิได้ปรึกษาใคร

และประจักษ์พยานที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ ก็คือในตอนสุดท้ายของการใช้ชีวิต ท่านนบี ศ. ได้ทำอย่างนี้ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น เมื่อท่านได้บัญชาให้ อุซามะฮฺ บินซัยด์ เป็นแม่ทัพ ทั้งๆที่ท่านอายุยังน้อย แต่พวกเขาไม่ยอมรับและดูหมิ่นการแต่งตั้งของท่าน แต่ท่านนบี ศ. ก็ได้สาปแช่งคนที่ขัดขืนในเรื่องนี้ อันเป็นการยืนยันว่าอำนาจการบริหาร อำนาจการปกครอง และตำแหน่งค่อลีฟะฮ์มิใช่เรื่องที่ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกของประชาชนหากแต่จะต้องมาจากบัญชาของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. เท่านั้น และถือว่าคำสั่งของท่าน ศ. เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮ์ ซ.บ.

เมื่อเรื่องมันเป็นแบบนี้ ทำไมเราจึงไม่พิจารณาหาหลักฐานดูจากกลุ่มที่สอง นั่นคือ หลักฐานที่ชาวมุสลิมชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ซึ่งพวกเขายืนยันในทางตรงกันข้ามกับคำพูดของชาวซุนนี่ห์ และยืนยันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ แต่งตั้งท่านอิมามอะลี อ. ให้เป็นค่อลีฟะฮ์ และระบุเป็นข้อบัญญัติให้แก่เขาในวาระต่างๆหลายต่อหลายครั้งและเลื่องลือที่สุด ก็คือที่ ฆอดีรคุม