อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 5] “ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮ์”
โดย เชคอันศอร เหล็มปาน
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 5] “ศรัทธาต่อคัมภีร์ของอัลลอฮ์”
divider
อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 5] “ศรัทธาต่อคัมภีร์ของอัลลอฮ์”
การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ คือ การเชื่ออย่างแน่วแน่และสัตย์จริงว่าอัลลอฮ์ได้ทรงประทานบรรดาคัมภีร์ลงมาแก่บรรดานบีและรอซูลของพระองค์เพื่อเป็นทางนำแก่ปวงบ่าวของพระองค์ และเชื่อว่าคัมภีร์เหล่านี้(พระคัมภีร์เก่า ก่อนการเปลี่ยนแปลงแก้ไข)เป็นดำรัสของพระองค์จริง อัลลอฮฺได้ทรงชี้แจงในอัลกุรอานว่าพระองค์ทรงได้ประทานบรรดาคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. ศุหุฟ อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม
2. อัต-เตารอฮฺคัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่นบีมูซา อ.
3. อัซ-ซาบูร คัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่นบีดาวูด อ.
4. อัล-อินญีล คัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่นบีอีซา อ.
5. อัลกุรอาน คัมภีร์ที่พระองค์อัลลอฮฺได้ประทานลงมาแก่นบีมุหัมมัด ศ.
อัลลอฮ์ทรงยืนยันถึงความสัตย์จริงในคัมภีร์ของอิสลามไว้ในพระมหาคัมภีร์อัล-อ่านว่า
وَقَفَّيْنَا عَلَىٰ آثَارِهِم بِعِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ مُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ التَّوْرَاةِ وَآتَيْنَاهُ الْإِنجِيلَ فِيهِ هُدًى وَنُورٌ وَمُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ التَّوْرَاةِ وَهُدًى وَمَوْعِظَةً لِّلْمُتَّقِينَ
[5:46]และเราได้ส่ง อีซา บุตร มัรยัม มาเป็นลำดับตามรอยของพวกเขา(บรรดาศาสนทูต)เขาเป็นผู้ยืนยันคัมภีร์อัต-เตารอตที่อยู่ในมือเขา(อีซา) และเราได้นำคัมภีร์อัล-อินญีลมาให้เขา ในคัมภีร์นั้น มีทางนำและรัศมี เป็นสิ่งยืนยันคัมภีร์เตารอตที่อยู่ในมือเขา เป็นทางนำและการตักเตือนสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงทั้งหลาย
نَزَّلَ عَلَیْکَ الْکِتَابَ بِالْحَقِّ مُصَدِّقًا لِمَا بَیْنَ یَدَیْهِ وَأَنْزَلَ التَّوْرَاةَ وَالْإِنْجِیلَ
[3:3]พระองค์ทรงประทานคัมภีร์(อัล-กุรอ่าน)นี้แก่เจ้าโดยสัจธรรม เป็นหลักฐานยืนยันสิ่งที่มีมาก่อน และทรงประทานเตารอต และอินญีล
مراكز تحفيظ القران في عجمان الهيئة العامة للشؤون الإسلامية والأوقاف | ماي بيوت
การศรัทธาและปฏิบัติตามอัลกุรอาน
อัล-กุรอาน คือพระพจนารถของอัลลอฮ์ ซ.บ. ที่ถูกประทานลงมาแด่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. และหมายถึงกุรอานที่ไม่มีข้อผิดพลาดใดๆมากล้ำกลาย ไม่ว่าจากเบื้องหน้าและเบื้องหลัง อันเป็นธรรมนูญสูงสุดของมวลมุสลิม ทั้งในแง่ของบทบัญญัติ ในแง่ของการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า(อิบาดะฮฺ) และในแง่ของหลักศรัทธาทั้งหลาย ผู้ใดที่สงสัยหรือลบหลู่คัมภีร์นี้ถือว่า หมดสภาพจากการนับถือศาสนาอิสลาม ดั้งนั้น บรรดามุสลิมทั้งหลาย มีความเชื่อตรงกันในเรื่องของความบริสุทธิ์และให้ความเคารพต่อคัมภีร์ และถือว่า ไม่มีใครสัมผัสคัมภีร์ได้นอกจากผู้บริสุทธิ์
มุสลิมเชื่อว่าคัมภีร์ต่างที่บรรดาศาสดาก่อนหน้านั้นได้นำมาเผยแผ่ น่าเสียดายว่าหลังจากที่ท่านได้จากไปกลุ่มนักวิชาการได้ทำการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และเกี่ยวกับเรื่องนี้นอกจากอัล-กุรอานจะกล่าวถึงแล้วประวัติศาสตร์ยังได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานสำคัญ ถ้าหากศึกษาเนื้อหาสาระของคัมภีร์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ตัวของคัมภีร์จะฟ้องว่าได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เนื่องจากเนื้อหาสาระบางตอนได้ถูกเพิ่มเติมาลงไป ซึ่งไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นวะฮฺยูสักนิดเดียว คัมภีร์อินญีลที่มีอยู่ในปัจจุบันเนื้อหาส่วนมากจะกล่าวถึงการดำรงชีวิตของท่านศาสดาอีซา อ. จนกระทั่งถูกนำตัวไปตึงไม้กางเขน อย่างไรก็ตามแม้ว่าคัมภีร์เหล่านั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่อัล-กุรอานยังคงสภาพเหมือนเดิมทุกประการมิได้มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง หรือไม่ได้เพิ่มให้มากหรือลดน้อยลงไป ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ได้ถ่ายทอดอัล-กุรอานทั้งหมด 114 ซูเราะฮฺแก่ประชาชาติ โดยมีท่านอะลีเป็นผู้จดบันทึกตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายแห่งการประทานวะฮฺยู แม้ว่าระยะเวลาจะผ่านไปถึง 14 ศตวรรษแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามีสิ่งใดเพิ่มหรือลดไปจากอัล-กุรอานแม้แต่นิดเดียว นั่นแสดงว่าอัล-กุรอานไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้สามารถกล่าวได้ว่า
อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงเป็นผู้ปกป้องความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอานพระองค์เอง เมื่อเป็นเช่นนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร อัล-กุรอานกล่าวว่า
إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
“แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) นี้ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้พิทักษ์อย่างแน่นอน” ซูเราะห์อัล-ฮิจร์/9
(ฟุซซิลัด/42)
๒.อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่าจะไม่มีความเท็จและสิ่งโมฆะใดเข้าก่ำกายอัล-กุรอานได้อย่างเด็ดขาด อัล-กุรอานกล่าวว่า
لَا يَأْتِيهِ الْبَاطِلُ مِن بَيْنِ يَدَيْهِ وَلَا مِنْ خَلْفِهِ تَنزِيلٌ مِّنْ حَكِيمٍ حَمِيدٍ
“จะไม่มีความเท็จจากด้านหน้าและจากด้านหลังก่ำกายเข้าสู่อัล-กุรอาน (เพราะ) เป็นการประทานจากพระผู้ทรงปรีชาญาณผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ”(ฟุซซิลัด/42)
ความเท็จที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงห้ามความก่ำกายเข้าสู่อัล-กุรอานหมายถึงความเท็จทุกประเภทที่เป็นการดูถูกอัล-กุรอาน ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มหรือลดจำนวนคำ โองการ และซูเราะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้อัล-กุรอานอ่อนแอและเป็นการดูหมิ่นอย่างใหญ่หลวง ด้วยเหตุนี้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามอัล-กุรอานจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงหรือถูกเพิ่มกรือลดจำนวนอย่างเด็ดขาด