ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 32
  • ชื่อ: ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 32
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 15:47:43 3-9-1403

 ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 32

 

ความสันโดษของอมีรุลมุอฺมีนีน(อ)ในทัศนะของกุฏบ์ ราวันดี
กุฏบ์ ราวันดี เป็นหนึ่งในนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ของเราในศตวรรษที่ 6 ได้กล่าวถึงความรักสันโดษของท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ) ว่า หากมีใครพินิจพิเคราะห์*คำพูดของอิมามอาลี(อ) ในเรื่องความสันโดษต่อโลกดุนยา โดยไม่พิจารณาหรือไม่รู้ว่าคำพูดเหล่านี้มาจากอาลี บิน อบีฏอลิบ(อ) หมายถึง ไม่รู้ว่านี่เป็นคำพูดของผู้ที่ทำให้โลกนี้เจริญรุ่งเรือง ไม่พิจารณาว่านี่เป็นคำพูดของผู้ที่สภาพการณ์ทางสังคมและการเมืองรายล้อมตัวเขาอยู่ ไม่รู้ว่านี่เป็นคำพูดของบุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้
«لا یشکّ انّه کلام من لاشغل له بغیر العبادة»
“เขาจะไม่สงสัยว่า แท้จริงถ้อยคำนั้นคือถ้อยคำของผู้ที่ไม่สาระวนเพื่อมัน(ดุนยา)เว้นแต่เพื่อการเคารพภัดดี”[1]
เขา(ผู้พินิจพิจารณาคำพูดของท่าน)จะไม่สงสัยเลยว่าคำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่มาจากผู้ที่ทั้งชีวิตของเขา ไม่มีสิ่งอื่นนอกจากการอิบาดัตและเคารพภักดีต่อพระองค์
«و لاحظّ له فی غیر الزّهادة»
“นอกจากเพื่อความสันโดษแล้ว เขาจะไม่พิจารณาหรือสนใจสิ่งใดเลย”
และ(บุคคลเช่นนี้ เขาจะไม่ทำสิ่งใดนอกจากแสวงหาความสันโดษ(ปลีกวิเวกต่อดุนยา) นี่คือความสันโดษของท่านอมีรุลมุอฺมีนีน(อ) (และเป็นข้อพิสูจน์อีกประการหนึ่งว่า)ทุกมิติของบุคลิกภาพของท่านอิมามล้วนอยู่ในจุดสูงสุดอีกด้วย
«و هذه من مناقبه العجیبة الّتی جمع بها بین الاضداد»
“นี่คือสถานการณ์ที่น่าแปลกใจซึ่งมันได้นำสองสิ่งที่ขัดกันให้มารวมกัน”
นี่เป็นสถานการณ์ที่น่าประหลาดใจเพราะมันคือการนำสิ่งที่ตรงกันข้ามมารวมกัน
เชิงอรรถในหนังสือ
[1] الخرایج و الجرائح ( سعید بن هبة الله قطب الدین راوندی ، متوفی 573 ق) / الباب الرابع عشر/فضل فی اعلام امیرالمؤمنین / حدیث 2
อ้างอิง มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 92
สรุป
อิมามคาเมเนอีย์ ได้ยกความเห็นของ อาลิมกุฏบ์ ราวันดี ผู้รู้ผู้ยิ่งใหญ่ในศตวรรตที่ 6 (ลูกศิษย์มัรฮูมฏอบัรซีย์ เจ้าของตำรามัญมะอุลบายาน และอาจารย์ของอิบนุชะฮฺรีออชูบ) จากทัศนะของท่านกุฏบ์ราวันดี แสดงให้เห็นว่า
ก)      มีการค้นคว้าบุคลิกภาพของท่านอิมามอาลี(อ) ตั้งแต่เมื่อ 900 ปีก่อน
ข)      ท่านกุฎบ์ราวันดี ได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่สันโดษและอิบาดัตมากที่สุดในโลกคือ อิมามอาลี(อ)
ค)      จากแนวคิดของท่าน โดยปกติแล้ว เป็นเรื่องยากที่จะเห็น ในคนๆหนึ่ง เป็นทั้งนักปกครอง และเป็นผู้ที่สันโดษต่อโลกดุนยารวมอยู่ในคนๆเดียวกัน เพราะเป็นเรื่องยากที่นักการเมืองจะสันโดษต่อดุนยา และเป็นเรื่องยากที่ผู้สันโดษจากโลกดุนยา จะปรากฎตัวในเวทีการเมือง ทั้งสองจึงดูเหมือนเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน ทว่าอิมามอาลี(อ)กลับรวมทั้งสองเข้าด้วยกันและแสดงมันอยู่ในบุคลิกภาพของท่าน นี่จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอิมามอาลี(อ)