การทำบุญให้คนตาย คือ ซุนนะฮ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
สิ่งที่ชีอะห์และซุนนี่ห์[ยกเว้นวะฮ์ฮาบี]บันทึกตรงกันในตำราฮะดิษของพวกเขา คือ การทำบุญบ้านคนตาย คือซุนนะห์ของท่านนบี มุฮัมมัด ศ.
ปวงปราชญ์เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า มุต ตะฟีกุล อะลัย[متفق علیه]หรือ สิ่งที่สองสองมัซฮับมีมติตรงกัน
ฮะดิษที่บันทึกไว้เหมือนกันในสองมัซฮับ
[1]- จัดเลี้ยงอาหาร หรือบริจาคอาหารเพื่อเจตนาฮะดียะฮ์ให้กับผู้ตาย
������ ตำราชุนนี่ห์
จากท่านญะอ์ฟัร บุตรของคอลิด รายงานจากบิดาของเขา รายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ บุตรของญะอ์ฟัร(เกิดที่ดินแดนฮะบะชะฮ์ (เอธิโอเปีย) สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. ที่ 80) เล่าว่า เมื่อข่าวการสิ้นชีวิตของท่านญะอ์ฟัรรู้ถึงท่านรอซูลุลลอฮ์ ท่าน กล่าวว่า :
“พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะอ์ฟัรเถิด เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก (หมายถึงความเศร้าโศกเสียใจ) มาประสบกับพวกเขา”(1)
(บันทึกโดยอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 3130 /ติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 998 / อิบนุ มาญะฮ์ ฮะดีษเลขที่ 1610 / ฮากิม ฮะดีษเลขที่ 1377 บทว่าด้วยญะนาวะฮ์ , /อะฮ์หมัด ฮะดีษเลขที่ 1754 อบูยะอ์ลา ฮะดีษเลขที่ 6801 อับดุรเราะซาก ฮะดีษเลขที่ 6670 / บัยฮะกีย์ ฮะดีษเลขที่ 7197 )
������ตำราชีอะห์
ท่านอิมามศอดิก อ . ว่า “ในวันที่ท่านญะฟัร บิน อบูฏอลิบ ได้รับตำแหน่งชะฮีดในสงครามมุตะฮ์ ท่านนบีมุฮัมมัด ศ. ได้สั่งให้ท่านหญิงฟาติมะฮ์ บุตรีของท่าน และผู้หญิงชาวมะดีนะฮ์ได้ทำอาหารไปยังบ้านของอัสมา บิน อุมัยส์ ภรรยาของท่านญะอ์ฟัร เป็นเวลาถึง 3 วัน และสิ่งนี้จึงกลายเป็นซุนนะฮ์ปฏิบัติเรื่อยมา(2)
[บันทึกโดยอัลลามะฮ์มัจลีซี่ฮ์ /บิฮารุลอันวาร|เล่ม 82 หน้า 83 /หนังสือ วะสาอิลุล ชีอะห์ เล่ม 3 หน้า 236]
[2]- การอ่านอัลกุรอาน และดุอาเหนียต ฮะดียะฮ์ให้ผู้ตาย
������ ตำราชุนนี่ห์
อับดุรเราะฮ์มาน บิน อะลา บิน ลัจญ์ลาจญ์ รายงานมาจากบิดาของเขา ว่า จากอับดุรเราะฮ์มาน อิบนุล อะลาอ์ อิบนุ ลัจญ์ลาจญ์ จากพ่อของเขา (อัลอะลาอ์) กล่าวว่า พ่อของฉัน (ลัจญ์ลาจญ์) ได้กล่าวกับฉันว่า โอ้ลูกเอ๋ย เมื่อฉันตายก็จงทำลูกหลุมฝังศพของฉัน และเมื่อเจ้าวางฉันลงในลูกหลุมของฉันก็จงกล่าวว่า “บิสมิลลาฮิ วะอะลา มิลละติรอซูลิลลาฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม” หลังจากนั้นก็กลบร่างของฉันจนดินเสมอพื้น เสร็จแล้วจงอ่านทางด้านศรีษะของฉันด้วยกับตอนต้นของซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ และตอนท้ายของซูเราะฮ์นี้ เพราะแท้จริงฉันเคยได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้เช่นนั้น”(3)
(อัตฏอบรอนีย์ บันทึกฮะดีษบทนี้ไว้ในอัลกะบีร โดยบรรดาผู้รายงานได้รับความน่าเชื่อถือ จาก อัยซามี)
รายงานจากอิบนุอุมัรได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ. กล่าวว่า : "เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านเสียชีวิตลง พวกท่านก็จงอย่ารอช้า และจงรีบนร่างของำเขาไปยังหลุมศพของเขา และจงอ่าน ซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ ที่ศีรษะของเขา(มัยยิต) และอ่านช่วงสุดท้ายของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ที่สองเท้าของเขา (มัยยิต)ที่ หลุมศพของเขา[หนังสือ อัลมั้วยะมุล กะบีรอ์ เล่ม 12 หน้า 444]
������ ตำราชีอะห์
รายงานจากท่านอิมามริฎอ อ. เมื่อบ่าวของอัลลอฮ์คนหนึ่งได้ไปเยี่ยมสุสานของผู้ศรัทธา และเขาได้อ่านซูเราะห์ อัลก็อดร์ 7 ครั้ง ณ หลุมศพ ไม่มีมีสิ่งนอกจากอัลลอฮ์จะให้อภัยเขา[คนอ่าน]และจะให้อภัยเจ้าของหลุมนั้น(5)
✍️������������✍️������
(1)- عن جدّتها أسماء بنت عميس قالت:.......فَدَخَلَ عَلَيَّ رَسُولُ اللَّهِ فَقَالَ: يَا أَسْمَاءُ أَيْنَ بَنُو جَعْفَرٍ؟ فَجِئْتُ بِهِمْ إِلَيْهِ فَضَمَّهُمْ وَشَمَّهُمْ ثُمَّ ذَرِفَتْ عَيْنَاهُ فَبَكَى فَقُلْتُ: أَيْ رَسُولَ اللَّهِ لَعَلَّهُ بَلَغَكَ عَنْ جَعْفَرٍ شَيْءٌ. قَالَ: نَعَمْ قُتِلَ الْيَوْمَ. قَالَتْ:
فَقُمْتُ أَصِيحُ فَاجْتَمَعَ إِلَيَّ النِّسَاءُ. قَالَتْ: فَجَعَلَ رَسُولُ اللَّهِ يَقُولُ: [يَا أَسْمَاءُ لا تَقُولِي هَجْرًا وَلا تَضْرِبِي صَدْرًا. قَالَتْ: فَخَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ حَتَّى دَخَلَ على ابنته فاطمة وهي تقول: وا عماه! فقال رسول الله. ص: عَلَى مِثْلِ جَعْفَرٍ فَلْتَبْكِ الْبَاكِيَةُ. ثُمَّ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ: اصْنَعُوا لآلِ جَعْفَرٍ طَعَامًا فَقَدْ شُغِلُوا عَنْ أَنْفُسِهِمُ
الْيَوْمَ]
(2)- عَنْهُ عَنْ أَبِيهِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي عُمَيْرٍ عَنْ هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ (ع) قَالَ لَمَّا قُتِلَ جَعْفَرُ بْنُ أَبِي طَالِبٍ أَمَرَ رَسُولُ اللَّهِ (ص) فَاطِمَةَ (ع) أَنْ تَتَّخِذَ طَعَاماً لِأَسْمَاءَ بِنْتِ عُمَيْسٍ ثَلَاثَةَ أَيَّامٍ وَ تَأْتِيَهَا وَ تُسَلِّيَهَا ثَلَاثَةَ أَيَّامٍ فَجَرَتْ بِذَلِكَ السُّنَّةُ أَنْ يُصْنَعَ لِأَهْلِ الْمُصِيبَةِ ثَلَاثَةَ أَيَّامٍ طَعَامٌ
وفي رواية أخرى عن الإمام الصادق عليه السلام قال: "لما قتل جعفر بن أبي طالب أمر رسول الله صلى الله عليه و آله فاطمة عليها السلام أن تَأْتِيَ أسماء بنت عميس، هي ونساؤها وتقيم عندها وتصنع لها طعاماً ثلاثة أيام
(3)- روى عبد الرحمن بن العلاء بن اللَّجْلاجِ، عن أبيه قال: "قال لي أبي -اللَّجْلاجُ أبو خالد-: يا بُنَيَّ إذا أنا متُّ فأَلْحِدْني، فإذا وضَعْتَني في لحدي فقل: بسم الله، وعلى ملة رسول الله –صلى الله عليه وسلم-، ثم سُنَّ عليَّ التراب سنًّا -أي ضَعْه وضعًا سهلا- ثم اقرأ عند رأسي بفاتحة البقرة وخاتمتها، فإني سَمِعْتُ رسول الله -صلى الله عليه وسلم- يقولُ ذلك"، أخرجه الطبراني في المعجم الكبير، قال الهيثمي: ورجاله موثوقون.
(4)- عن ابن عمر -رضي الله عنهما- قال: سمعت رسول الله -صلى الله عليه وسلم- يقول: «إِذَا مَاتَ أَحَدُكُمْ فَلَا تَحْبِسُوهُ، وأَسْرِعُوا بِهِ إِلَى قَبْرِهِ، وَليُقْرَأْ عِنْدَ رَأْسِهِ بِفَاتِحَةِ الْكِتَابِ، وَعِنْدَ رِجْلَيْهِ بِخَاتِمَةِ سُورَةِ الْبَقَرَةِ فِي قَبْرِهِ»، أخرجه الطبراني، والبيهقي في شعب الإيمان، وإسناده حسن كما قال الحافظ في الفتح، وفي رواية: «بِفَاتِحَةِ الْبَقَرَةِ»، بدلا من «فَاتِحَةِ الْكِتَابِ»
(5)- عن الامام الرضا (ع) انه قال: مَا مِنْ عَبْدٍ مُؤْمِنٍ زَارَ قَبْرَ مُؤْمِنٍ فَقَرَأَ عِنْدَهُ إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِی لَیْلَةِ الْقَدْرِ سَبْعَ مَرَّاتٍ إِلَّا غَفَرَ اللَّهُ لَهُ وَ لِصَاحِبِ الْقَبْرِ
บทความโดย เอกภาพ ชัยศิริ