วิเคราะห์ทัศนะอิบนุตัยมียะฮ์ ว่าด้วยเรื่องพระเจ้า ตอนที่ 3
  • ชื่อ: วิเคราะห์ทัศนะอิบนุตัยมียะฮ์ ว่าด้วยเรื่องพระเจ้า ตอนที่ 3
  • นักเขียน: เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 15:21:4 3-9-1403

วิเคราะห์ทัศนะอิบนุตัยมียะฮ์ ว่าด้วยเรื่องพระเจ้า ตอนที่ 3


บทความโดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

 

อะกีดะฮ์ของพวกมุญัซซิมะฮ์เป็นอย่างไร


พวกมุญัซซิมะฮ์ได้กล่าวว่า อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงมีอวัยวะจริงๆ เช่น มือ เท้า ลูกตา ใบหน้า...เป็นต้นฯ


ต่อจากนั้นพวกมุญัซซิมะฮ์ได้อธิบายลักษณะของอัลลอฮ์ว่า พระองค์ทรงมีลักษณะแบบนี้จริงๆเช่น การนั่งประทับ, การเคลื่อนไหวไป/มา, การเคลื่อนย้ายสถานที่, การเสด็จขึ้นและเสด็จลง ตามความเข้าใจจากเปลือกนอกของคำในภาษาอาหรับ

(อัลลอฮ์ทรงบริสุทธิ์สูงส่งจากสิ่งที่พวกมุญัซซิมะฮ์กล่าว)


อะกีดะฮ์แบบนี้ที่อิบนุตัยมียะฮ์เชื่อถือและเผยแผ่ จนเวลาต่อมามีผู้ที่เชื่อถือแนวคิดของเขา ซึ่งเดิมที่มันเป็นอะกีดะฮ์ของพวกหัชวียะฮ์(กลุ่มหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดีษ ที่ขาดความเข้าใจด้านภาษาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง จึงปักใจยึดถือความหมายตามเปลือกนอกของคำในภาษาอาหรับ แต่ความจริงก็คือพวกเขาไปรับเอาความเชื่อนี้มาจากพวกมุญัซซิมะฮ์ที่เป็นชาวยิวนั่นเอง


พวกมุญัซซิมะฮ์ได้แอบอ้างว่า การตะอ์วีล-ตีความคำต่างๆที่กล่าวถึงซีฟัตของอัลลอฮ์นั้นไม่เคยมีซอฮาบะฮ์และตาบิอีนรุ่นแรกคนใดอธิบายมาก่อน


พวกเขายังอ้างอีกว่า การยึดถือ ซอฮิรุล-ลัฟซี(ความหมายเปลือกนอกของคำ)คือ มติของสะลัฟ(อิจญ์มาอุสสะลัฟ)


ข้ออ้างนี้ถือว่าเป็นเรื่องเท็จ และพวกเขาได้ใช้คำอธิบายแบบวนเวียนไปมาโดยมีหลักฐานประกอบที่ไม่แข็งแรงพอจะเชื่อถือได้ จะมีคนเชื่อก็แต่สามัญชนที่ขาดความเข้าใจภาษาอาหรับ, ความเข้าใจในวิชาเตาฮีดถ่องแท้และคนตะอัซซุบเท่านั้น

 

เรามาพิสูจน์คำโกหกของอิบนุตัยมียะฮ์ในเรื่องนี้กัน

 

อิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวในตำราโด่งดังของเขาว่า


أَنَّ جَمِيعَ مَا فِي الْقُرْآنِ مِنْ آيَاتِ الصِّفَات فَلَيْسَ عَنِ الصَّحَابَةِ اخْتِلَافٌ فِي تَأْوِيلِهَا. وَقَدْ طَالَعْتُ التَّفَاسِيرَ الْمَنْقُولَةَ عَنْ الصَّحَابَةِ وَمَا رَوَوْهُ مِنْ الْحَدِيثِ وَوَقَفْتُ مِنْ ذَلِكَ عَلَى مَا شَاءَ اللَّهُ تَعَالَى مِنْ الْكُتُبِ الْكِبَارِ وَالصِّغَارِ أَكْثَرَ مِنْ مِائَةِ تَفْسِيرٍ فَلَمْ أَجِدْ - إلَى سَاعَتِي هَذِهِ - عَنْ أَحَدٍ مِنْ الصَّحَابَةِ أَنَّهُ تَأَوَّلَ شَيْئًا مِنْ آيَاتِ الصِّفَاتِ أَوْ أَحَادِيثِ الصِّفَاتِ بِخِلَافِ مُقْتَضَاهَا الْمَفْهُومِ الْمَعْرُوفِ

 

แท้จริง ทั้งหมดที่อยู่ในคัมภีร์กุรอานจากโองการ(ที่กล่าวถึง)ซีฟัต(ของอัลลอฮ์) ไม่มีความขัดแย้งกันจากซอฮาบะฮ์ในการตะอ์วีลตีความหมายของมัน
และฉัน(อิบนุตัยมียะฮ์)ได้อ่านค้นคว้าตัฟซีรต่างๆที่ถูกถ่ายทอดคำพูดมาจากซอฮาบะฮ์ และสิ่งที่พวกเขาได้รายงานมันไว้จากฮะดีษ
และฉันได้หยุดอ่านสิ่งนั้นจากตำราต่างๆของนักวิชาการทั้งระดับใหญ่และเล็กมากกว่าหนึ่งร้อยตัฟซีร ฉันไม่เคยเจอสักคนหนึ่งจากซอฮาบะฮ์ที่เขาได้ตะอ์วีล-ตีความหมายสิ่งใดจากโองการซีฟาตหรือฮะดีษซีฟาต ที่ขัดแย้งกับความหมายที่เข้าใจและถูกรู้จักกัน(ตามความเชื่อของกลุ่มมุญัซซิมะฮ์)


หนังสือ มัจญ์มูอะตุลฟะตาวา เล่ม 3 หน้า 237


อิบนุตัยมียะฮ์ได้บอกว่า เขาพูดแบบนี้บ่อยมากในมัจลิสที่บรรยายของเขา

 

คำพูดของอิบนุตัยมียะฮ์ข้างต้น อยู่ที่มุมมองของมุสลิมดังนี้


1.เชื่อถือเขา เพราะอิบนุตัยมียะฮ์อ้างว่าซอฮาบะฮ์ ตาบิอีนและสะลัฟไม่ตะอ์วีลโองการซีฟัต
2.ไม่ปักใจเชื่อเขา แต่ได้ติดตามเสาะหาค้นคว้าดูตำราอิสลามว่า จริงตามที่เขาอ้างไหม

 

เรามาพิสูจน์กัน


หากท่านเปิดตัฟซีรต็อบรีย์หรือตัฟซีรอิบนุอะตียะฮ์ และตัฟซีรอัลบะฆอวีย์ (ซึ่งอิบนุตัยมียะฮ์ยกย่องว่าดีที่สุดในสายตาเขาเพราะบันทึกคำพูดซอฮาบะฮ์ ตาบีอีนและสะลัฟด้วยสายรายงานเชื่อถือได้ไว้)


ท่านจะพบว่า ตัฟซีรดังกล่าวได้ถ่ายถอดคำพูดซอฮาบะฮ์ที่ได้ตะอ์วีลโองการซีฟาตเอาไว้เช่น


“อายะตุลกุรซีย์ – โองการกุรซีย์” ตามทัศนะของท่านต็อบรีย์, อิบนุอะตียะฮ์และอัลบะฆอวีย์ เขาทั้งสามได้เริ่มต้นอธิบายความหมายกุรซีย์นี้ด้วยคำพูดของท่านอิบนุอับบาสว่า
“กุรซีย์ของอัลลอฮ์ หมายถึง อูลมู-ความรู้ของพระองค์”


عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ: {وَسِعَ كُرْسِيُّهُ} [البقرة: 255] قَالَ: كُرْسِيُّهُ: عِلْمُهُ
 

จากอิบนุอับบาส( กุรซีย์ของพระองค์นั้นแผ่ไพศาล) บทที่ 2 : 255 เขาอธิบายคำ กุรซีย์ของพระองค์ว่า คือ “อิลมูของพระองค์”


ดู ตัฟซีร อัตต็อบรีย์ ผู้แต่ง อิบนุญะรีร เล่ม 4 หน้า 537


ผลลัพท์จากการค้นคว้าคือ “อิบนุตัยมียะฮ์ได้โกหกต่อผู้อ่านตำราของเขา”

 

ทางออกของผู้ยึดถือคำพูดอิบนุตัยมียะฮ์และกลุ่มมุญัซซิมะฮ์คือ พยายามบอกผู้ค้นคว้าว่า ตะอ์วีลของอิบนุอับบาสเป็นรายงานที่เชื่อถือไม่ได้ ทั้งๆที่บรรดามุฟัสสิรกุรอ่านได้อธิบายว่า


هذا وقد روى المفسرون عن ابن عباس أنه قال : " كرسيه علمه " ولعل تفسير الكرسي بالعلم كما قال حبر الأمة هو أقرب الأقوال إلى الصواب ، لأنه هو المناسب لسياق الآية الكريمة
 

แน่นอนบรรดามุฟัสสิรได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส เขาได้กล่าวว่า “กุรซีย์ของพระองค์ คือ อิลมูของพระองค์” และคาดว่าการอธิบายคำ กุรซีย์ ด้วย อิลมู ตามที่อิบนุอับบาสกล่าวไว้นั้นเป้นคำพูดที่ใกล้เคียงกับความถูกต้องมากที่สุด เพราะมันมีความเหมาะสมต่อเนื้อหาของโองการอันทรงเกียรตินี้


.
ดูตัฟซีร อัลวะซีฏ ผู้แต่ง สัยยิด ต็อนตอวีย์ เล่ม 1 หน้า 41

 

บทสรุป


การตะอ์วีลของท่านอิบนุอับบาสที่ว่า “กุรซีย์ของพระองค์ คือ อิลมูของอัลลอฮ์” นอกเหนือจากการตะอ์วีลนี้ล้วนเป็นนิทานยิว-อิสรออิลีย๊าต และเป็นรายงานที่มาจากพวกหัชวียะฮ์ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำมันมาเล่า เพราะมันเป็นคำพูดที่ไม่คู่ควรต่อความสูงส่งของอัลลอฮ์ตะอาลา นั่นเอง วัลลอฮุ อะอ์ลัม บิศ-ศอวาบ.

 


ขอขอบคุณ เฟซบุ๊ก Javad Savangvan