การชี้นำ (ฮิดายะฮ์)ในอิสลาม ตอนที่ 4
การชี้นำทางถูกนำเสนอก่อนการหลงทาง
การนำทางถูกนำเสนอก่อนการหลงทาง
การนำเสนอ ฮิดายะฮ์ก่อนฎอลาละฮ์ บ่งบอกถึง ความเมตตาของพระองค์ที่มาก่อนความกริ้วของพระองค์
مَنِ اهْتَدَى فَإِنَّمَا يَهْتَدِي لِنَفْسِهِ وَمَنْ ضَلَّ فَإِنَّمَا يَضِلُّ عَلَيْهَا
ผู้ใดได้พบแนวทางที่ถูกต้อง แท้จริงเขาจะอยู่ในทางนั้นเพื่อตัวเขาเอง และผู้ใดหลงทาง ความจริง เขาก็หลงบนทางที่ผิด”
(ซูเราะฮ์ อิสรออ์ โองการที่ 15)
فَمَنِ اهْتَدَى فَلِنَفْسِهِ وَمَنْ ضَلَّ فَإِنَّمَا يَضِلُّ عَلَيْهَا
“ดังนั้น ผู้ใดที่พบแนวทางที่ถูกต้องก็จะได้แก่ตัวของเขาเองและผู้ใดหลงทาง เขาก็จะหลงอยู่บนทางที่ผิด”
(ซูเราะฮ์ ซุมัร โองการที่ 41)
مَنْ يَهْدِ اللَّهُ فَهُوَ الْمُهْتَدِي وَمَنْ يُضْلِلْ فَأُولَئِكَ هُمُ الْخَاسِرُونَ
“ผู้ที่อัลลอฮ์ทรงนำทางนั้น เขาก็เป็นผู้รับทางนำ และผู้ที่พระองค์ทรงปล่อยให้หลงผิดนั้น ชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่ขาดทุน”
(ซูเราะฮ์ อัลอะอ์รอฟ โองการที่ 178)
แต่ทว่าการนำคำขึ้นก่อนนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ฉะนั้น บางครั้งจึงพบว่า คำว่า “ฎอลาละฮ์” ถูกนำมาใช้ก่อนหน้า คำว่า “ฮิดายะฮ์” เนื่องจากเพื่อความความเหมาะสมของเนื้อหานั้นๆ เช่น
يُضِلُّ بِهِ كَثِيرًا وَيَهْدِي بِهِ كَثِيرًا وَمَا يُضِلُّ بِهِ إِلا الْفَاسِقِينَ
“และพระองค์ทรงนำทางที่ถูกต้องแก่คนมากมายด้วยอุทาหรณ์นั้น และพระองค์จะไม่ทรงให้ผู้ใดหลงทางด้วยอุทาหรณ์นั้นนอกจากผู้ที่ฝ่าฝืนเท่านั้น”
(ซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 26)
เนื่องจากผู้หลงทางเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนจนเป็นเหตุให้หลงทางด้วยการปฏิเสธอัลลอฮ์ (ซบ.) จึงได้กล่าวเรื่องการหลงทางก่อนเรื่องการได้รับทางนำ เป็นต้น
การรู้จักแก่นแท้ของการชี้นำ(ฮิดายะฮ์)
หนทางที่ดีที่สุดในการรู้จักทุกสรรพสิ่ง นั้นก็คือการคิดใคร่ครวญในแก่นแท้ของสิ่งนั้น ๆ เพราะหากว่าเราวิเคราะห์พร้อมกับเข้าถึงปัจจัยในการดำรงอยู่ภายในและภายนอกของสิ่งนั้น จะทำให้รู้ถึงคุณลักษณะของความเป็นแก่นแท้ของมันได้อย่างชัดแจ้ง แต่หากเรารู้จักสิ่งนั้นจากร่องรอย ด้วยกับสิ่งรอบข้างหรือสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสิ่งนั้น ๆ ก็จะเกิดช่องว่างสำหรับการรู้จักต่อสิ่งนั้นและย่อมไม่สามารถเข้าถึงความสมบูรณ์อย่างแจ่มแจ้งได้ ซึ่งย่อมจะไม่เหมือนกับการรู้จักสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกับเหตุของความเป็นแก่นแท้ของสิ่งนั้นๆ
เรารู้จักวิถีทางนี้ด้วยกับคำกล่าวของท่านอิมามอาลี (อ.) ที่ท่านกล่าวว่า
“จงรู้จักอัลลอฮ์ ด้วยอัลลอฮ์ และจงรู้จักท่านศาสนทูตด้วยสาส์นของท่าน และจงรู้จักผู้ปกครองที่ชอบธรรมด้วยกับการเชิญชวนในการทำความดี ความยุติธรรมและคุณธรรมเถิด”
เพราะคุณสมบัติของพวกเขา เผยปรากฏจากประโยคหนึ่งในอัลกุรอานที่ว่า
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ
“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบัญชาให้มีความเที่ยงธรรมและคุณธรรม”
(ซูเราะฮ์ อัลนะฮ์ล์ โองการที่ 90)
หนทางที่ดีที่สุดในการทำความรู้จักทุกสรรพสิ่งนั้นคือ การเข้าถึงยังแก่นแท้ของสิ่งนั้น ๆ เหมือนดังที่บรรดาพี่น้องของท่านศาสดายูซุฟ (อ.) เมื่อเห็นท่านศาสดายูซุฟ (อ.) จึงรู้ได้ว่าเขา คือ ท่านศาสดายูซุฟ (อ.)
قَالُوا أَئِنَّكَ لأنْتَ يُوسُفُ قَالَ أَنَا يُوسُف
“พวกเขาได้กล่าวว่า ท่านนี่หรือคือ ยูซุฟ เขาตอบว่า ฉัน คือ ยูซุฟ”
(ซูเราะฮ์ ยูซุฟ โองการที่ 90)
พวกเขารู้จักท่านศาสดายูซุฟ (อ.) เมื่อครั้งที่ได้เห็นท่าน และได้รู้จักท่านศาสดายูซุฟ (อ.) ด้วยตัวของท่านศาสดายูซุฟ (อ.)
มันศูร บิน ฮาซิม กล่าวแก่ท่านอิมามศอดิก (อ.) :
ฉันได้ถกถียงกับผู้คนกลุ่มหนึ่ง โดยได้กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซบ.) นั้นสูงส่งเกินกว่าที่จะรู้จักพระองค์ได้ด้วยกับสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ แต่ปวงบ่าวของพระองค์สามารถรู้จักอัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ด้วยกับการรู้จักพระองค์เอง
ท่านอิมามกล่าวว่า:
“ขออัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงเมตตาท่าน” ซึ่งเคล็ดลับของการรู้จักในลักษณะเช่นนี้ก็คือ หากรู้จักถึงแก่นแท้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ในการรู้จักสิ่งนั้นก็จะไม่มีสิ่งคลุมเครือใด ๆ หลงเหลืออีกเลย
ใช่แล้ว หากสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุ วิถีทางที่ดีที่สุดในการรู้จักสิ่งนั้นก็คือ การรู้จักสาเหตุที่มาของมัน เพราะการรู้ถึงสาเหตุก็จะทำให้รู้ถึงผลที่เกิดขึ้น และแน่นอนยิ่งที่ว่าจะไม่มีวิถีทางใดที่จะรู้ถึงผลได้อย่างแท้จริงนอกจากรู้จักถึงเหตุของสิ่งนั้น
อีกประการหนึ่ง การรู้จักสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยสิ่งที่ตรงกันข้ามนั้น ไม่ถือว่าเป็นการรู้จักที่แท้จริง และถือว่าการยกเหตุผลอ้างถึงนั้นไม่ค่อยมีผลแต่อย่างใด ซึ่งการรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยกับสิ่งตรงข้ามนั้นเป็นเพียงการตอบโต้อธิบายเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งนิ่งเงียบเท่านั้น แต่ไม่ถือว่าเป็นการตอบโต้ด้วยเหตุและผลอย่างแท้จริง กล่าวคือการรู้จักสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยวิถีทางของการตอบโต้อธิบายเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งนิ่งเงียบนั้น เป็นเพียงการรู้จักด้านตรงข้ามเท่านั้นซึ่งขอบเขตของการรู้จักในลักษณะนี้ไม่สามารถจะเข้าถึงการรู้จักที่แท้จริงได้
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากประเด็นดังกล่าว ทำให้รู้ได้ว่า การรู้จักด้วยวิถีทางของการตอบโต้อธิบายเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งนิ่งเงียบนั้น ด้านตรงข้ามต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เพราะสามารถที่จะรู้จักสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ได้ด้วยกับอีกสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ หรือสามารถทำให้รู้ถึงการไม่มีอยู่ของมันก็ได้ ซึ่งถ้าหากสิ่งตรงข้ามนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักสิ่งนั้นด้วยสิ่งที่มีอยู่ เพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่ไม่สามารถจะถูกรู้จักได้โดยปราศจากการรู้จักสิ่งที่มีอยู่ ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะนำสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงมาเป็นบรรทัดฐานในการรู้จักสิ่งที่มีอยู่ได้ เพราะความหมายของสิ่งที่ไม่มีอยู่นั้นคือความเป็นสูญ (ฉะนั้นจะนำสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงมารับรู้ถึงสิ่งที่มีอยู่จริงได้อย่างไรกัน)
ด้วยเหตุนี้ การรู้ถึงการได้รับทางนำ (ฮิดายะฮ์) ด้วยกับการหลงทาง(ฎอลาละฮ์) จึงไม่จำเป็น เพราะการหลงทางนั้นเพราะไม่ได้รับทางนำ แต่ในทางกลับกันเราสามารถรู้จักการหลงทางได้ด้วยกับการรู้จักการชี้นำ (ฮิดายะฮ์)
ฉะนั้น วิถีทางที่ดีที่สุดในการรู้จักสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นก็คือรู้ถึงเหตุและปัจจัยในการดำรงอยู่ของสิ่งนั้น แต่หากการมีอยู่ของสิ่งนั้นไม่แยกออกจากเหตุหรือปัจจัยในการดำรงอยู่ ก็ต้องมุ่งพิจารณาไปที่แก่นแท้ (ซาต) ของสิ่งนั้น
การชี้นำ (ฮิดายะฮ์) ก็เหมือนกับเรื่องของความรู้และการดำรงอยู่ ซึ่งมีความหมายที่ชัดเจนและมีนัยซ่อนเร้นอยู่ กล่าวคือ การรู้จักการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) ก็เหมือนกับการการรู้จักเรื่องความรู้และการดำรงอยู่ ซึ่งในขณะที่มันมีความชัดเจนอยู่ในตัว แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความสลับซับซ้อนเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ เรื่องของการรู้จักความรู้และการดำรงอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนที่สุดของอภิมหาปรัชญา (ฮิกมะตุลมุตะอะลียะฮ์)
สำหรับการรู้จักการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) มีสองหนทางดังนี้ :
1. รู้จักด้วยหนทางของเหตุที่จะนำไปสู่การชี้นำ (ฮิดายะฮ์)
2. รู้จักด้วยหนทางของการคิดใคร่ครวญในแก่นแท้ของการชี้นำ (ฮิดายะฮ์)
ขอขอบคุณ เว็บไซต์อัชชีอะฮ์