ทำไมชีอะฮ์จึงชอบพูดว่า ยา อะลี มะดัด ?
  • ชื่อ: ทำไมชีอะฮ์จึงชอบพูดว่า ยา อะลี มะดัด ?
  • นักเขียน: Risalah Qomi
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 14:10:49 3-9-1403

ทำไมชีอะฮ์จึงชอบพูดว่า ยา อะลี มะดัด ?

 

ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์

 يا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّـهَ وَابْتَغُوا إِلَيْهِ الْوَسِيلَةَ

وَجَاهِدُوا فِي سَبِيلِهِ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ﴿٣٥﴾

ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์ และจงต่อสู้และเสียสละในทางของอัลลอฮฺ เพื่อสูเจ้าจะประสบความสำเร็จ

Al Maidah 5 : 35

وَلَا تَدْعُ مِن دُونِ اللَّهِ مَا لَا يَنفَعُكَ وَلَا يَضُرُّكَ ۖ

فَإِن فَعَلْتَ فَإِنَّكَ إِذًا مِّنَ الظَّالِمِينَ ﴿١٠٦﴾

และจงอย่าวิงวอนขอสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ที่ไม่อำนวยประโยชน์แก่เจ้า และไม่ให้โทษแก่เจ้า หากเจ้ากระทำเช่นนั้น แท้จริง เจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้อธรรม (ยูนุส 10 : 106)

แนวคิดของลัทธิวะฮาบีย์และพี่น้องสุนนีย์บางส่วนเชื่อว่าสองโองการนี้คือหลักฐานที่แสดงให้ประจักษ์ว่า

การวิงวอนขอผ่านสื่อกลางใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอาลิยาอ์หรือกัลป์ยาณชนหลังจากที่ท่านเหล่านั้นได้วายชนม์ไปแล้ว ถือเป็นชิริกการตั้งภาคีและเคารพภักดีสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ

ถ้าเช่นนั้นเรามีคำถามสำคัญคือ


ถ้าการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ (โดยไม่ต้องอาศัยสื่อกลาง) ตามความเชื่อของพวกท่านเป็นสิ่งที่ถูกต้องจริง

แล้วเหตุใดในการใช้ชีวิตทั่ว ๆ ไปเราท่านทั้งหลายจึงยังคงต้องอาศัยการขอความช่วยเหลือจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ถามว่าสิ่งนี้ไม่ถือว่าเป็นการตั้งภาคีไม่ถือว่าเป็นการทำชิริกด้วยดอกหรือ ?

อย่างกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยทำไมจะต้องไปหาหมอ ? ทำไมจะต้องกินยาตามหมอสั่ง ? อย่างนี้เป็นต้น


ถ้าการขอชะฟาอะฮฺหรือขอไถ่โทษและการขอความช่วยเหลือจะต้องขอจากอัลลอฮฺเท่านั้น แล้วทำไมพระองค์จึงทรงบัญชาให้มุสลิมผู้ศรัทธาขอตะวัสสุลผ่านสื่อกลางจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ)

ومَا أَرْسَلْنَا مِن رَّسُولٍ إِلَّا لِيُطَاعَ بِإِذْنِ اللَّهِ ۚ

وَلَوْ أَنَّهُمْ إِذ ظَّلَمُوا أَنفُسَهُمْ جَاءُوكَ فَاسْتَغْفَرُوا اللَّهَ

وَاسْتَغْفَرَ لَهُمُ الرَّسُولُ

لَوَجَدُوا اللَّهَ تَوَّابًا رَّحِيمًا ﴿٦٤﴾

 

และเรามิได้ส่งศาสนทูตคนใดนอกจากเพื่อให้เขาได้รับการอิฏออะฮฺเชื่อฟังปฏิบัติตาม ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ

และมาตรว่าพวกที่สร้างความอธรรมแก่ตัวเอง ได้มาหาเจ้า แล้วขอให้เจ้าขออภัยโทษต่ออัลออฮฺ

และศาสนทูตก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขา แน่นอน

พวกเขาก็จะพบว่าอัลลอฮฺคือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ

(อันนิสาอ์ 4 : 64)


เหตุใดท่านอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ จึงขอตะวัสสุลผ่านท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ) และมิหนำซ้ำยังขอผ่านท่านอับบาส อิบนุลมุฏฏอลิบ คุณลุงของท่านนบี ในการดุอาอ์หรือละหมาดขอให้พระองค์ทรงประทานฝนลงมา ?

 صحیح بخاری، ج2، ص16

 เหตุใดท่านหญิงอาอิชะฮฺจึงแนะนำให้มุสลิมไปขอตะวัสสุลที่สุสานของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ) เพื่อขอให้อัลลอฮฺทรงประทานฝนลงมาจากฟากฟ้า ?

(ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นท่านนบีก็ได้อำลาจากโลกดุนยานี้ไปแล้ว ถ้าจะบอกว่าการขอตะวัสสุลผ่านท่านนบีจะต้องขอเฉพาะตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น และยังรวมถึงการให้สลามกับท่านนบีในขณะละหมาดหลังจากการอ่านตะชะฮุด จะให้สลามทำไมถ้าเชื่อว่าคนตายไม่สามารถจะได้ยินหรือตอบรับสลามของคนเป็นได้ ?)

 سنن دارمی، ج1، ص43

 ในกรณีที่มีคนตาบอดมาหาท่านศาสดา (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ) เพื่อขอชะฟาอะฮฺขอตะวัสสุลผ่านท่าน (ศ) แล้วท่านได้สอนจนทำให้ชายตาบอดนั้นมีสภาพดวงตากลับมาเป็นปกติได้ อันนี้จะหมายความว่าอย่างไร ?

 مسند احمدبن حنبل،ج4، ص138

 “ยา มุฮัมมัด” "یا محمد"  คือคำขวัญหรือสโลแกนหนึ่งในระหว่างสงคราม ซึ่งอุละมาอ์อะฮฺลิสสุนนะฮฺเฉกเช่น  “อิบนุกะษีรฺ” ได้บันทึกใน “อัลบิดายะฮฺ วัลนิฮายะฮฺ” และ “อิบนุอะษีรฺ” ใน “อัลกามิลฟิตตารีค” ว่า
“ในสงครามกับพวกมุรฺตัด (ตกศาสนา) มุสลิมจะชูสโลแกนคำขวัญว่า "یا محمد"  “ยา มุฮัมมัด” یا محمداه

 ثم نادى بشعار المسلمین - وکان شعارهم یومئذ یا محمداه - وجعل لا یبرز لهم أحد إلا قتله، ولا یدنو.

البدایه و النهایه ج9ص 469
الکامل فی التاریخ  ج2ص221

ในตำรา “تذکرة الحمدونیه  บันทึกไว้ว่า “สงครามซีย์กอรฺ” ที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามบะดัรฺ บรรดาเศาะหาบะฮฺก็ได้ชูคำขวัญนี้เช่นกัน นั่นคือ "یا محمد"  “ยา มุฮัมมัด” یا محمداه

ที่น่าสังเกตก็คือในสงครามครั้งนั้นท่านนบี (ศ) พำนักอยู่ที่นครมะดีนะฮฺ (กล่าวคือท่านไม่ได้เป็นแม่ทัพแต่อย่างใด)

و کانت وقعة ذی قار بعد وقعة بدر بأشهر و رسول اللّه صلّى اللّه علیه و سلم بالمدینة، و کان شعارهم: یا محمد .

มาถึง ณ ตรงนี้ คงจะต้องร้องออกมาดัง ๆ ว่า
 โอ้ ชีอะฮ์ที่รัก โอ้ สุนนีย์ที่เคารพ

เห็นหรือยังว่าทั้งในยุคสมัยที่ท่านนบี (ศ) มีชีวิต และหลังจากที่ท่านนบี (ศ) วายชนม์อำลาจากโลกดุนยา

บรรดาอัครสาวกต่างเรียกท่านนบี (ศ) เมื่อพวกเขาต้องการจะตะวัสสุลผ่านสื่อกลางไปยังพระผู้อภิบาลด้วยประโยคเรียกนามอันเป็นสิริมงคลและความจำเริญของท่าน (ศ) ว่า "یا محمد"  “ยา มุฮัมมัด” یا محمداه  

ส่วนพวกนิยมในลัทธิวะฮาบีย์ที่อ้างนักอ้างหนาว่าตนปฏิบัติตาม “สลัฟศอลิห์” บรรดากัลยาณชนผู้ล่วงลับ ทั้งเศาะหาบะฮฺ ทั้งตาบิอิด ตาบิอีน เหตุใดคนพวกนี้จึงถือว่าการเรียก “ยา มุฮัมมัด” และหรือ “ยา อะลี” เป็นชิริก การตั้งภาคีกับอัลลอฮ์ ?

หรือว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺ ท่านอุมัรฺ อิบนุลค็อฏฏอบ และบรรดาเศาะหาบะฮฺในยุคสมัยนั้น ไม่มีใครรู้แม้แต่คนเดียวว่าการตะวัสสุลผ่านท่านนบี (ศ) เป็นการทำชิริก ?

หรือว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺเหล่านั้นเป็น  “มุชริก” ? นะอูซุบิลลาฮ์

เศาะหาบะฮ์คนสำคัญเฉกเช่นท่านบิลาล อัลหะบะชีย์ ผู้เป็นมุอัซซินประจำมัสญิดนะบะวีย์ (ศ) ชอบที่จะไปซิยาเราะฮฺกุโบรฺท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ) และท่านบิลาลจะเรียกท่านนบี (ศ) ว่า یا رسول الله  ยา เราะสูลัลลอฮฺ พร้อมกับตะวัสสุลผ่านท่านนบี (ศ) เมื่อท่านต้องการจะวิงวอนขอจากพระองค์ให้ทรงประทานฝนลงมา และพระองค์ก็จะทรงตอบรับการตะวัสสุลของท่านบิลาลด้วย นอกจากนี้ ท่านอุมัรฺก็อาศัยการตะวัสสุลทำนองนี้เช่นกัน

ในบางช่วงปีที่แห้งแล้งขาดฝนเป็นเวลาช้านาน ประชาชนจะมาหาท่านหญิงอาอิชะฮฺ แล้วนางได้แนะนำให้พวกเขาไปยังสุสานของท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ) เพื่อขอตะวัสสุลผ่านท่านนบี (ศ) และพระองค์ก็ได้โปรยปรายสายฝนลงมาหลังจากที่พวกเขาได้ตะวัสสุล

หรือว่าท่านเหล่านี้ไม่มีใครรู้ว่าการตะวัสสุลผ่านท่านนบี (ศ) เป็นชิริก เป็นการตั้งภาคีกับอัลลอฮ์ ?

หรือว่าวันเวลาผันผ่านมา 1400 ปี เฉพาะพวกวะฮาบีย์เท่านั้นที่รู้เรื่องเข้าใจในศาสนาของอัลลอฮฺ นอกนั้น ญาฮิล ไม่สาไหร (ในภาษาบ้านผม) ?

 สวนในกรณีที่มีพี่น้องสุนนีย์บางพวกบางคนบอกว่าการตะวัสสุลที่ถูกต้อง จะต้องขอผ่านคนที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

เราชาวชีอะฮฺขอตอบอย่างนี้ว่าช่วยกรุณากลับไปอ่านโองการนี้ให้ดี ๆ อีกที เผื่อท่านจะได้หูตาหัวใจสว่างไสว

وَلَا تَقُولُوا لِمَن يُقْتَلُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ أَمْوَاتٌ ۚ

بَلْ أَحْيَاءٌ وَلَٰكِن لَّا تَشْعُرُونَ ﴿١٥٤﴾

และสูเจ้าจงอย่ากล่าวว่าผู้ที่ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮฺว่าพวกเขาตาย

หามิได้ พวกเขายังมีชีวิต ทว่า พวกเจ้าไม่รู้ไม่ตระหนัก (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 155)

“ฏ็อบรอนีย์” และ “อบูยะอฺลา” บันทึกในมุสนัดของตน และ “อิบนุสสินนีย์” ใน “อะมะลุลเยาม์วัลลัยละฮฺ” จากสะนัดรายงานที่เศาะฮีห์ จาก “อับดุลลอฮฺ อิบนุมัสอูด” ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะอาลิฮฺ) ได้วจนะว่า

“เมื่อใดที่สัตว์เลี้ยงของพวกท่านหายไปในทุ่งกว้างหรือในป่า ก็จงร้องออกมาว่า
----------
[۱] مجمع الزوائد ، ج ۱، ص ۱۳۲

บทความโดย Risalah Qomi