บันทึกของ มร.แฮมเฟอร์ สายลับอังกฤษในดินแดนอิสลาม (ออตโตมาน)   ตอนที่10
  • ชื่อ: บันทึกของ มร.แฮมเฟอร์ สายลับอังกฤษในดินแดนอิสลาม (ออตโตมาน) ตอนที่10
  • นักเขียน:
  • แหล่งที่มา:
  • วันที่วางจำหน่าย: 20:26:9 1-9-1403

บันทึกของ มร.แฮมเฟอร์ สายลับอังกฤษในดินแดนอิสลาม (ออตโตมาน)   ตอนที่10

 

ภาคที่ 2 ภารกิจข้าพเจ้าในประเทศตุรกี
ในปี 1710 ค.ศ.ทางกระทรวงล่าอาณานิคมได้ส่งข้าพเจ้าไปยังประเทศอียิปต์ อิรัก เตหะราน ฮิญาซและตุรกีเพื่อรวบรวมและหาข้อมูลเพื่อทำให้มุสลิมอ่อนแอและมีบทบาทอำนาจเหนือพวกเขามากขึ้น อีกทั้งเสริมสร้างแนวทางสร้างความแตกแยกระหว่างพี่น้องมุสลิมด้วยกัน
 ในช่วงเวลานั้นเองทางกระทรวงได้จัดส่งบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดของกระทรวงอีก 9 คนที่มีความกระตือรือร้นที่เพียงพอไปยังประเทศต่างๆ ของอิสลามเพื่อให้สหราชอาณาจักรมีความมั่นคงและแข็งแกร่งเหนือจักรวรรดิออตโตมันและประเทศอิสลามอื่น ๆ   อีกทั้งมีอิทธิพลและบทบาทมากขึ้นในประเทศเหล่านี้
 ทางกระทรวงได้จัดงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมายให้กับเราและยังได้ให้ข้อมูลแผนที่รายชื่อของผู้ปกครองและบรรดาอุลามาและหัวหน้าเผ่าพันธุ์ต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในการปฏิบัติภารกิจของเรา
 คำพูดสุดท้ายของเลขาธิการที่ได้กล่าวอำลาด้วยชื่อของ พระเยซูยังคงอยู่ในความทรงจำของข้าพเจ้าตลอดที่กล่าวว่า -: “อนาคตอันสดใสของประเทศนั้นขึ้นอยู่กับความสำเร็จของพวกคุณทุกๆ ท่าน ดังนั้นตราบใดที่พวกคุณทั้งหลายมีพลังความสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจได้ก็จงรีบปฏิบัติเสีย”
 หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ได้เดินทางไปยังศูนย์กลางแห่งการปกครองของอิสลามในยุคสมัยนั้น (คือ ตุรกี)โดยมีสองเป้าหมายด้วยกัน  ในการเดินทางครั้งนี้ลำดับแรกข้าพเจ้าต้องเรียนเสริมภาษาตุรกีให้สมบูรณ์ก่อน “ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่บรรดามุสลิมในพื้นที่นั้นใช้” เพราะก่อนหน้านั้นสมัยที่ข้าพเจ้าอยู่ที่กรุงลอนดอนนั้น ข้าพเจ้าก็เคยเรียนภาษาตุรกี อาหรับ และเปอร์เซียมาบ้างแล้ว การเรียนรู้ภาษาถือว่า เป็นประเด็นหนึ่งและการสันทัดภาษา “เหมือนกับเจ้าของภาษาพูดกัน” ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง จะอย่างไรก็ตามแต่ การเรียนรู้ภาษาหนึ่งภาษาใดมันใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี แต่ทว่าการสัดทัดภาษานั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มเป็นอีกสองเท่า ดังนั้นจำเป็นสำหรับข้าพเจ้าที่จะต้องเรียนรู้ภาษาตุรกีให้ได้อย่างสมบูรณ์เพื่อมิให้เกิดความคลางแคลงสงสัยใดๆ ในตัวข้าพเจ้า
 แต่ทว่าด้วยกับเหตุผลบางประการเหล่านี้ จึงทำให้ข้าพเจ้าไม่ค่อยหวาดวิตกกังวลสักเท่าใด เพราะบรรดามุสลิม“เหมือนกับที่ท่านศาสดาของพวกเขาได้กำชับและสั่งสอน” มีจิตใจเอื้อเฟื้อ  ประนีประนอม เมตตา โอบอ้อมอารี และมองคนในแง่ดีเสมอ ดังนั้นบรรดามุสลิมจึงไม่มีความระหวาดระแวงเหมือนกับพวกเรา และอีกแง่มุมหนึ่งทางฝ่ายรัฐบาลของตุรกีก็ ไม่มีความสามารถพอที่จะสืบเสาะ ค้นพบสายลับของเราได้ ดังนั้นจึงสร้างความมั่นใจให้ข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้น